ธนาคารได้ปฏิบัติตามแนวทางโครงสร้างคณะกรรมการ เพื่อส่งเสริมบรรษัทภิบาลของธนาคารพาณิชย์ โดยจัดโครงสร้างการจัดการ ซึ่งประกอบไปด้วยคณะกรรมการรวม 5 ชุด ดังนี้
คณะกรรมการธนาคาร
คณะกรรมการบริหาร
คณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม
และสิ่งแวดล้อม
คณะกรรมการธนาคารขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคาร
คณะกรรมการธนาคารมีอำนาจเต็มในการบริหารงาน เพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับของธนาคาร และมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ อยู่ภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยมีอำนาจและหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการ ดังนี้
หน้าที่ของคณะกรรมการธนาคาร
จัดการธนาคารให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้อบังคับของธนาคาร และมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นกำกับดูแล การดำเนินกิจการ ทั้งหลายของธนาคาร
คณะกรรมการของธนาคารจะต้องประชุมอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง และต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการทั้งหมด และให้ถือเสียงข้างมากเป็นมติของที่ประชุม
คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้น เป็นการประชุมสามัญประจำปีภายในสี่เดือน นับแต่วันสิ้นสุดของรอบปีบัญชีของธนาคาร ส่วนการประชุมผู้ถือหุ้นคราวอื่นๆ นอกจากที่กล่าว เรียกว่า การประชุมวิสามัญ ซึ่งกรรมการจะเรียกประชุมวิสามัญเมื่อไรก็ได้สุดแต่จะเห็นสมควร หรือคณะกรรมการจัดให้มีการประชุมวิสามัญภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือร้องขอจากผู้ถือหุ้น
ในจำนวนกรรมการ แม้ตำแหน่งจะว่างไปบ้าง กรรมการที่เหลืออยู่ย่อมทำกิจการได้ แต่ถ้าจำนวนกรรมการลดน้อยลงจนเหลือไม่พอที่จะเป็นองค์ประชุม กรรมการที่เหลืออยู่ย่อมทำกิจการได้เฉพาะ การจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อเลือกตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างทั้งหมดเท่านั้น
ปฏิบัติตามข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับกรรมการบริษัทจดทะเบียน
อำนาจของคณะกรรมการธนาคาร
กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน และให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นมติของที่ประชุม โดยถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
กรรมการคนใดมีส่วนได้ส่วนเสียในการประชุมเรื่องใด ห้ามมิให้ออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น ในกรณีนี้ประธานอาจเชิญให้ออกนอกที่ประชุมเป็นการชั่วคราวได้
กิจการทั้งหลายของธนาคารย่อมอยู่ในอำนาจ ของคณะกรรมการที่จะกระทำได้ ประธานกรรมการ หรือกรรมการผู้จัดการคนใดคนหนึ่ง หรือกรรมการอื่นร่วมกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป ที่คณะกรรมการได้มอบหมายไว้ มีอำนาจลงลายมือชื่อและ ประทับตราสำคัญของธนาคารกระทำการใดๆแทนธนาคารได้
คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการใหญ่และพนักงานต่างๆ ของธนาคาร ตลอดจนแต่งตั้งตัวแทนของธนาคาร โดยให้ผู้ใดมีอำนาจ และหน้าที่เพียงใดสุดแต่คณะกรรมการจะเห็นสมควร กับทั้งกำหนดอัตราและค่าใช้จ่าย และบำเหน็จรางวัลแก่บุคคลเหล่านี้และถอดถอนจากตำแหน่งได้
คณะกรรมการจะมอบอำนาจ ให้ผู้จัดการใหญ่เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนพนักงานต่างๆ ของธนาคารก็ได้ ถ้าผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการใหญ่ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการของธนาคารด้วย ก็ให้เรียกว่ากรรมการผู้จัดการ
คณะกรรมการมีอำนาจที่จะเชิญบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นที่ปรึกษา เพื่อช่วยเหลือให้ความคิดเห็นในกิจการของธนาคาร แก่คณะกรรมการตามที่คณะกรรมการจะเห็นสมควร กับทั้งกำหนดค่าจ้างและบำเหน็จรางวัลได้
ขอบเขตอำนาจของคณะกรรมการธนาคาร
ตามข้อบังคับของธนาคารและพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 การดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้ คณะกรรมการธนาคารจะดำเนินการได้ ต่อเมื่อได้รับการอนุมัติจากมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นของธนาคาร
การอนุมัติงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน
การอนุมัติจัดสรรกำไร
การเลือกตั้งกรรมการใหม่แทนผู้ต้องออกตามวาระ หรือเลือกตั้งกรรมการเพิ่มในกรณีที่มีการเพิ่มจำนวน
เลือกตั้งผู้สอบบัญชี และกำหนดจำนวนเงินค่าสอบบัญชี
การเพิ่มทุน ลดทุน การโอนสำรองเพื่อชดเชยผลขาดทุนสะสม การจ่ายเงินปันผล การเสนอขายหรือจัดสรรหุ้น เพิ่มทุนใหม่ และการออกหุ้นกู้
การขายหรือโอนกิจการของธนาคารทั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญ การซื้อหรือรับโอนกิจการอื่น การทำ แก้ไข หรือเลิกสัญญาเกี่ยวกับการให้เช่ากิจการของธนาคารทั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญ
คณะกรรมการบริหารขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร
คณะกรรมการธนาคารได้มอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหาร เป็นผู้พิจารณาในเรื่องดังต่อไปนี้
การพิจารณากลั่นกรองหรืออนุมัติสินเชื่อ ปรับปรุงหนี้ และตัดหนี้สูญ ตามอำนาจที่กำหนด
การพิจารณากลั่นกรองหรืออนุมัติการลงทุน หรือขายหลักทรัพย์ที่ธนาคารลงทุน การซื้อขายหรือให้เช่าทรัพย์ของธนาคาร ตามอำนาจที่กำหนด
การพิจารณากลั่นกรองหรืออนุมัติแต่งตั้งผู้บริหาร ตามที่ได้รับมอบหมาย
การพิจารณากลั่นกรองหรืออนุมัติการว่าจ้างที่ปรึกษา การจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบการพัสดุ
การพิจารณากลั่นกรองแผนธุรกิจ งานนโยบายและงบประมาณประจำปี การติดตามงานที่มีความสำคัญที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย
การพิจารณาอนุมัติหรือรับทราบกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารงานที่คณะกรรมการบริหารเห็นว่าจำเป็นหรือสมควรเป็นการเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหา ซึ่งหากไม่ดำเนินการแล้วจะเกิดความเสียหายแก่ธนาคาร และรายงานให้คณะกรรมการธนาคารทราบโดยเร็ว
ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย
คณะกรรมการตรวจสอบขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ
รายงานทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล
สอบถามให้ธนาคารมีการรายงานทางการเงิน อย่างเพียงพอถูกต้อง และเชื่อถือได้ เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
สอบถามกับผู้สอบบัญชีถึงประเด็นสำคัญ ๆ อันอาจกระทบต่อความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน เช่น
2.1 ความยุ่งยากหรือข้อขัดแย้งที่มีนัยสำคัญ ที่ผู้สอบบัญชีประสบ ในระหว่างปฏิบัติงาน
2.2 ประเด็นข้อเท็จจริง และความเห็นที่แตกต่างกันระหว่างผู้สอบบัญชี กับฝ่ายจัดการ
2.3 ระดับประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน
2.4 ข้อบกพร่องหรือความสูญเสียที่ปรากฏขึ้นในงวดบัญชีนี้ และที่อาจจะเกิดขึ้นในงวดบัญชีต่อไป
2.5 ร่างงบการเงินประจำปีและหมายเหตุประกอบงบการเงิน
2.6 รายงานของผู้สอบบัญชี
สอบถามกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เพื่อพิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของธนาคารและการบันทึกบัญชีให้มี ความถูกต้องและครบถ้วนโปร่งใส
สอบถามหลักฐานหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินการ ที่อาจมีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของธนาคารอย่างมีนัยสำคัญ หรือขัดแย้งทางผลประโยชน์ ที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานของธนาคาร
สอบถามถึงข้อมูลที่นำส่งหน่วยงานกำกับดูแล ให้มีความสอดคล้องกับข้อมูลในรายงานทางการเงิน
การควบคุมภายใน
สอบถามให้มีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล ตามมาตรฐานของ The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission ผู้ตรวจสอบภายในต้องทำการประเมินระบบการควบคุมภายใน ทั้งระบบอย่างน้อยปีละครั้ง นอกเหนือจากการประเมินการควบคุมภายในด้านการเงิน ร่วมกับผู้สอบบัญชี
ผู้สอบบัญชี
ประกันความเป็นอิสระแก่ผู้สอบบัญชี
สอบถามขอบเขตการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี และผู้ตรวจสอบภายใน เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนของการปฏิบัติงาน ที่อาจจะมีความคาบเกี่ยวกันในงานตรวจสอบทางการเงิน โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรในกระบวนการตรวจสอบ
พิจารณาการแต่งตั้ง และอัตราผลตอบแทนการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี เพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น
สอบถามรายงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เกี่ยวกับผลการตรวจสอบประจำปี และอาจเสนอแนะให้สอบถามหรือตรวจสอบรายการใดที่เห็นว่า จำเป็นและเป็นเรื่องสำคัญ พร้อมทั้งนำข้อเสนอแนะที่สำคัญเสนอคณะกรรมการธนาคาร
ผู้ตรวจสอบภายใน
ประกันความเป็นอิสระแก่ผู้ตรวจสอบภายใน
บังคับบัญชาสายตรงกับสายงานตรวจสอบภายใน แต่งานด้านการจัดการของสายงานตรวจสอบภายใน ให้ขึ้นตรงต่อกรรมการผู้จัดการ
กำกับดูแลสายงานตรวจสอบภายใน ให้มีจริยธรรม และบรรษัทภิบาล พร้อมทั้งให้มีมาตรฐานการตรวจสอบอันเป็นที่ยอมรับ รวมถึงสอบถามและทบทวนจรรยาบรรณพนักงานตรวจสอบ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการธนาคารพิจารณาอนุมัติ
สอบถาม และทบทวนกฎบัตรของสายงานตรวจสอบภายในอย่างสม่ำเสมอ
พิจารณาและอนุมัติแผนยุทธศาสตร์ของการตรวจสอบภายใน แผนการตรวจสอบภายในประจำปี ตลอดจนงบประมาณที่ใช้ในกระบวนการตรวจสอบภายใน เพื่อมุ่งไปสู่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกิจกรรมต่าง ๆ และจัดลำดับความสำคัญโดยคำนึงถึงระดับความเสี่ยง
สอบถามรายงานการตรวจสอบภายใน และประชุมลับกับผู้บริหารสายงาน สายงานตรวจสอบภายใน เพื่อสอบถามถึงการแทรกแซงจากฝ่ายบริหารและฝ่ายจัดการ อันอาจจะกระทบถึงความเป็นอิสระ และใจที่เป็นอิสระของผู้ตรวจสอบภายใน
สอบถามกับผู้บริหารสายงาน สายงานตรวจสอบภายใน ถึงสมรรถนะในการใช้ทรัพย์สินของธนาคาร ให้เป็นไปตามนโยบายหรือคู่มือปฏิบัติงาน
สอบถามและพิจารณาร่วมกับฝ่ายจัดการ ในเรื่องข้อบกพร่องสำคัญที่ตรวจพบ และการสนองตอบจากฝ่ายจัดการ
พิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้ง ลงโทษ และถอดถอนผู้บริหารสายงาน สายงานตรวจสอบภายใน ตามที่กรรมการผู้จัดการนำเสนอ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาอนุมัติ
ประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารสายงาน สายงานตรวจสอบภายใน
จัดให้มีการสอบถามประสิทธิผลของระบบการตรวจสอบภายใน โดยผู้ประเมินอิสระจากภายนอกองค์กร (Independent Quality Assessment Review) อย่างน้อยในทุก 5 ปี
การปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และระเบียบปฏิบัติงาน
สอบถามการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ข้อกำหนดจากทางราชการ และหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อป้องกันความเสียหายทั้งที่เป็นเบี้ยปรับ การตักเตือน ตลอดจนชื่อเสียงของธนาคารและของผู้บริหารธนาคาร
การบริหารความเสี่ยง
สอบถามถึงระดับความเสี่ยงที่สำคัญ และสอบถามถึงวิธีการประเมินความเสี่ยงของผู้ตรวจสอบภายใน กับของผู้สอบบัญชีว่า มีวิธีการที่เพียงพอและมีมาตรฐานที่เชื่อถือได้
สอบถามว่าคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร ตระหนักถึงความเสี่ยงที่สำคัญและที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ
การประเมินการทำงาน
จัดให้มีการประเมินตนเอง และคณะกรรมการธนาคารเป็นผู้ประเมินผล การปฏิบัติงานประจำปีของคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการ ในการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน รวมทั้งผลประโยชน์อื่นของกรรมการธนาคาร และผู้บริหารระดับสูง
พิจารณาเสนอแนะนโยบายในภาพรวมเกี่ยวกับการกำหนดค่าตอบแทนและผลประโยชน์อื่นของธนาคาร
สรรหาและคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติ ตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด แล้วนำเสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาแต่งตั้งเป็นกรรมการธนาคารหรือผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร
ดูแลให้คณะกรรมการธนาคาร มีขนาดและองค์ประกอบที่เหมาะสมกับองค์กร รวมถึงมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
เสนอคณะกรรมการธนาคาร เพื่อพิจารณาแต่งตั้งกรรมการธนาคารแทนกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามข้อบังคับ
ดูแลให้กรรมการและผู้บริหารระดับสูงของธนาคารได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีต่อธนาคาร
กำหนดแนวทางและประเมินผลงานของผู้บริหารระดับสูง
ดำเนินการอื่น ตามที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย
คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
เสนอแนวนโยบายเกี่ยวกับหลักบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของธนาคารและบริษัทในเครือต่อคณะกรรมการธนาคาร
กำกับดูแลการปฏิบัติงานของธนาคารให้เป็นไปตามหลักบรรษัทภิบาลของสถาบันกำกับ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
พิจารณาทบทวนเกี่ยวกับนโยบายด้านบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของธนาคารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของสากล และข้อเสนอแนะของสถาบันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พิจารณาเสนอข้อพึงปฏิบัติที่ดี สำหรับคณะกรรมการธนาคาร หรือเสนอการกำหนดข้อบังคับคณะกรรมการธนาคาร และคณะกรรมการที่ธนาคารแต่งตั้งทุกชุด
เสนอแนะข้อกำหนดเกี่ยวกับจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร และข้อพึงปฏิบัติของผู้บริหาร
ส่งเสริมการเผยแพร่วัฒนธรรมในการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เป็นที่เข้าใจทั่วทุกระดับ และมีผลในทางปฏิบัติ
พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนงานบรรษัทภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้ตามความเหมาะสม
การอื่นใดที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย
วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554
ระบบธนาคาร
ระบบเงินสดและธนาคาร หรือ โปรแกรมการเงิน เป็นระบบบริหารจัดการด้านเงินสดและธนาคาร ควบคุมการรับจ่ายเงินสด การจ่ายและรับเช็ค ตรวจสอบสถานะของบัญชีธนาคาร การตั้งเบิกเงินสดย่อย เป็นระบบที่ช่วยให้ฝ่ายบัญชีและฝ่ายการเงินทำงานประสานงานกันได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ลดข้อผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
เงินสดหรือเช็คจ่าย
บันทึกการชำระหนี้อื่น ๆ ที่ไม่ใช้หนี้การค้าและพิมพ์ใบสำคัญจ่าย (Payment Voucher)
บันทึกเงินมัดจำจ่าย (บันทึกการ์ดเจ้าหนี้)มีระบบควบคุมเงินสดย่อย และพิมพ์ใบสำคัญจ่าย (Payment Voucher)
มีระบบควบคุมลูกหนี้เงินทดรองจ่ายบันทึกการโอนเงินระหว่างธนาคาร และพิมพ์ใบสำคัญจ่าย (Payment Voucher)
กรณีชำระด้วยเช็ค สามารถที่จะพิมพ์เช็คได้ และบันทึกการจ่ายเช็ค พร้อมรายงานเช็คครบถ้วน
Aging Cheque
บันทึกการนำเช็คตัดบัญชีธนาคาร
เงินสดหรือเช็ครับ
บันทึกการรับชำระอื่นๆ ที่ไม่ใช่หนี้การค้า และพิมพ์ใบสำคัญรับ (Receipt Voucher)
บันทึกเงินมัดจำรับ (บันทึกการ์ดลูกหนี้)
มีรายงานเช็ครับล่วงหน้าถึงกำหนดชำระ
Aging Cheque
เงินสดหรือเช็คจ่าย
บันทึกการชำระหนี้อื่น ๆ ที่ไม่ใช้หนี้การค้าและพิมพ์ใบสำคัญจ่าย (Payment Voucher)
บันทึกเงินมัดจำจ่าย (บันทึกการ์ดเจ้าหนี้)มีระบบควบคุมเงินสดย่อย และพิมพ์ใบสำคัญจ่าย (Payment Voucher)
มีระบบควบคุมลูกหนี้เงินทดรองจ่ายบันทึกการโอนเงินระหว่างธนาคาร และพิมพ์ใบสำคัญจ่าย (Payment Voucher)
กรณีชำระด้วยเช็ค สามารถที่จะพิมพ์เช็คได้ และบันทึกการจ่ายเช็ค พร้อมรายงานเช็คครบถ้วน
Aging Cheque
บันทึกการนำเช็คตัดบัญชีธนาคาร
เงินสดหรือเช็ครับ
บันทึกการรับชำระอื่นๆ ที่ไม่ใช่หนี้การค้า และพิมพ์ใบสำคัญรับ (Receipt Voucher)
บันทึกเงินมัดจำรับ (บันทึกการ์ดลูกหนี้)
มีรายงานเช็ครับล่วงหน้าถึงกำหนดชำระ
Aging Cheque
ประวัติธนาคาร
สมัยรัชกาลที่ ๔ มีการเจริญสัมพันธไมตรีและติดต่อค้าขายกับต่างชาติมากขึ้น ในปี ๒๓๙๘ โปรดให้ทำสนธิสัญญาทางการทูตและการค้ากับประเทศอังกฤษ เรียกว่า สนธิสัญญาเบาริง ซึ่งต่อมาประเทศไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาแบบเดียวกันนี้กับอีกหลายประเทศ อันเป็นการเปิดประเทศอย่างกว้างขวางมากขึ้น
เมื่อชาวตะวันตกติดต่อค้าขายกับไทยมากขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ ได้มีความพยายามที่จะขอจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นในประเทศไทยหลายครั้ง เพื่อสิทธิในการออกธนบัตรซึ่งให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่งดงาม แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเพราะฝ่ายไทยเห็นว่าชาวต่างประเทศเหล่านั้นคิดแต่จะเอาผลประโยชน์ฝ่ายเดียว ทำให้ประเทศไทยเห็นความสำคัญของการมีธนาคารกลางของไทย เพื่อเป็นสื่อกลางในทางการค้าและทางเศรษฐกิจ แต่โครงการก่อตั้งธนาคารกลางก็ได้หยุดชะงักไปเพราะเวลานั้นยังขาดประสบการณ์และบุคคลากรที่มีความรู้
ความสนใจที่จะจัดตั้งธนาคารกลางได้มีขึ้นอีกครั้งภายหลังที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ สืบเนื่องจากการเสนอร่างเค้าโครงเศรษฐกิจของคณะราษฎรที่นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) เป็นผู้ร่าง ได้กล่าวถึงความจำเป็นในการจัดตั้งธนาคารชาติ เพื่อเป็นกลไกหนึ่งในการดำเนินการเศรษฐกิจของประเทศ ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ไม่ได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจำนวนหนึ่ง พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นจึงประกาศปิดสภา
ผู้แทนราษฎร
ภายหลังเมื่อพระยาพหลพลพยุหเสนาได้เข้ายึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงมีการสนับสนุนให้มีธนาคารชาติขึ้นอีก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้นำเรื่องเข้าหารือกับ นายเจมส์ แบกซ์เตอร์ ที่ปรึกษาการคลังในขณะนั้น ซึ่งให้ความเห็นว่า ยังไม่สมควรแก่เวลาที่จะจัดตั้งธนาคารกลางขึ้น เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีผู้รู้ผู้ชำนาญทางด้านการธนาคาร ไม่มีทุน และยังไม่มีระบบธนาคารพาณิชย์ของคนไทยด้วย
รัฐบาลได้ผลักดันเรื่องการตั้งธนาคารกลางอีกครั้งหนึ่งในปี ๒๔๗๘ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงการคลังพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งธนาคารชาติ พ.ศ. ๒๔๗๘ ซึ่งหลวงวรนิติปรีชาเป็นผู้ร่างขึ้น เสนอให้ควบรวมบริษัทแบ๊งค์สยามกัมาจล ทุนจำกัด ให้เป็นธนาคารชาติ พระราชบัญญัติดังกล่าวมีเพียง ๘ มาตรา ซึ่งอธิบดีกรมบัญชีกลางในเวลานั้นพิจารณาแล้วเห็นว่าพระราชบัญญัตินี้ยังขาดความรอบคอบและรายละเอียดยังไม่ชัดเจน
ต่อมาเมื่อ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ พลตรีหลวงพิบูลสงครามได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และได้แต่งตั้งนายปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อได้รับตำแหน่งแล้ว นายปรีดี พนมยงค์ ได้รื้อฟื้นเรื่องการจัดตั้งธนาคารชาติขึ้น ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย อธิบดีกรมศุลกากรย้ายมาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของกระทรวงการคลัง ซึ่งแต่เดิมจะใช้ที่ปรึกษาชาวต่างชาติทั้งสิ้น ในครั้งนี้ นายปรีดี พนมยงค์ ได้พยายามทำความเข้าใจกับที่ปรึกษาฝ่ายต่างประเทศของกระทรวงการคลัง ให้เข้าใจถึงความจำเป็นและเจตนารมณ์ของทางการ ซึ่งในที่สุดก็ได้รับความร่วมมืออย่างดีในการช่วยร่างกฎหมายจัดตั้งธนาคารชาติไทยขึ้น นับเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การตั้งธนาคารกลางของประเทศไทยในที่สุด
ในการดำเนินการจัดตั้งธนาคารชาติไทยนั้น นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ที่ปรึกษากระทรวงการคลังฝ่ายไทยรับผิดชอบในการร่างกฎหมายจัดตั้งธนาคารชาติต่อจากที่ปรึกษาต่างประเทศที่ได้ดำเนินการไว้แล้ว ในที่สุดก็ได้มีการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเตรียมการจัดตั้งธนาคารชาติไทยต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแล้ว ให้เปลี่ยนชื่อพระราชบัญญัติเป็น ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทย เมื่อผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้วได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ วัตถุประสงค์ประการหนึ่งของการจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทยก็เพื่อเตรียมพนักงานสำหรับการทำงานในธุรกิจธนาคารกลาง และทำหน้าที่บริหารเงินกู้ของรัฐบาล
สำนักงานธนาคารชาติไทยได้เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ ต่อมาในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ซึ่งเป็นวันชาติในสมัยนั้น จึงได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ สำนักงานธนาคารชาติไทยดำเนินงานได้เพียงปีเศษก็เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นนำกำลังทหารเข้ามายังประเทศไทยในวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ และได้เสนอให้รัฐบาลไทยจัดตั้งธนาคารกลางขึ้น โดยมีที่ปรึกษาและหัวหน้างานต่าง ๆ เป็นชาวญี่ปุ่น ซึ่งรัฐบาลไทยไม่อาจยอมให้เป็นเช่นนั้นได้ จึงมอบให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยดำเนินการร่างกฎหมายเพื่อเปลี่ยนฐานะของสำนักงานธนาคารชาติไทยให้เป็นธนาคารกลาง และให้ประกาศใช้โดยเร็วที่สุด พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕ ต่อมาได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ซึ่งเป็นวันรัฐธรรมนูญและในวันต่อมา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินการ ณ อาคารที่ทำการเดิมของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ จำกัด ถนนสี่พระยา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ทรงดำรงตำแหน่งผู้ว่าการพระองค์แรก ต่อมาได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ ณ วังบางขุนพรหมตั้งแต่วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ แล้วย้ายมาอาคารสำนักงานใหญ่ที่สร้างขึ้นในบริเวณวังบางขุนพรหมเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ และในปี ๒๕๕๐ สำนักงานใหญ่ได้ย้ายมาอยู่ ณ อาคารสำนักงานใหญ่หลังใหม่ ที่ก่อสร้างขึ้นในบริเวณเชื่อมต่อระหว่างวังบางขุนพรหมกับวังเทวะเวสม์
เมื่อชาวตะวันตกติดต่อค้าขายกับไทยมากขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ ได้มีความพยายามที่จะขอจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นในประเทศไทยหลายครั้ง เพื่อสิทธิในการออกธนบัตรซึ่งให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่งดงาม แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเพราะฝ่ายไทยเห็นว่าชาวต่างประเทศเหล่านั้นคิดแต่จะเอาผลประโยชน์ฝ่ายเดียว ทำให้ประเทศไทยเห็นความสำคัญของการมีธนาคารกลางของไทย เพื่อเป็นสื่อกลางในทางการค้าและทางเศรษฐกิจ แต่โครงการก่อตั้งธนาคารกลางก็ได้หยุดชะงักไปเพราะเวลานั้นยังขาดประสบการณ์และบุคคลากรที่มีความรู้
ความสนใจที่จะจัดตั้งธนาคารกลางได้มีขึ้นอีกครั้งภายหลังที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๗๕ สืบเนื่องจากการเสนอร่างเค้าโครงเศรษฐกิจของคณะราษฎรที่นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) เป็นผู้ร่าง ได้กล่าวถึงความจำเป็นในการจัดตั้งธนาคารชาติ เพื่อเป็นกลไกหนึ่งในการดำเนินการเศรษฐกิจของประเทศ ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ไม่ได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจำนวนหนึ่ง พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นจึงประกาศปิดสภา
ผู้แทนราษฎร
ภายหลังเมื่อพระยาพหลพลพยุหเสนาได้เข้ายึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงมีการสนับสนุนให้มีธนาคารชาติขึ้นอีก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้นำเรื่องเข้าหารือกับ นายเจมส์ แบกซ์เตอร์ ที่ปรึกษาการคลังในขณะนั้น ซึ่งให้ความเห็นว่า ยังไม่สมควรแก่เวลาที่จะจัดตั้งธนาคารกลางขึ้น เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีผู้รู้ผู้ชำนาญทางด้านการธนาคาร ไม่มีทุน และยังไม่มีระบบธนาคารพาณิชย์ของคนไทยด้วย
รัฐบาลได้ผลักดันเรื่องการตั้งธนาคารกลางอีกครั้งหนึ่งในปี ๒๔๗๘ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงการคลังพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งธนาคารชาติ พ.ศ. ๒๔๗๘ ซึ่งหลวงวรนิติปรีชาเป็นผู้ร่างขึ้น เสนอให้ควบรวมบริษัทแบ๊งค์สยามกัมาจล ทุนจำกัด ให้เป็นธนาคารชาติ พระราชบัญญัติดังกล่าวมีเพียง ๘ มาตรา ซึ่งอธิบดีกรมบัญชีกลางในเวลานั้นพิจารณาแล้วเห็นว่าพระราชบัญญัตินี้ยังขาดความรอบคอบและรายละเอียดยังไม่ชัดเจน
ต่อมาเมื่อ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ พลตรีหลวงพิบูลสงครามได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และได้แต่งตั้งนายปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อได้รับตำแหน่งแล้ว นายปรีดี พนมยงค์ ได้รื้อฟื้นเรื่องการจัดตั้งธนาคารชาติขึ้น ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย อธิบดีกรมศุลกากรย้ายมาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของกระทรวงการคลัง ซึ่งแต่เดิมจะใช้ที่ปรึกษาชาวต่างชาติทั้งสิ้น ในครั้งนี้ นายปรีดี พนมยงค์ ได้พยายามทำความเข้าใจกับที่ปรึกษาฝ่ายต่างประเทศของกระทรวงการคลัง ให้เข้าใจถึงความจำเป็นและเจตนารมณ์ของทางการ ซึ่งในที่สุดก็ได้รับความร่วมมืออย่างดีในการช่วยร่างกฎหมายจัดตั้งธนาคารชาติไทยขึ้น นับเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การตั้งธนาคารกลางของประเทศไทยในที่สุด
ในการดำเนินการจัดตั้งธนาคารชาติไทยนั้น นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ที่ปรึกษากระทรวงการคลังฝ่ายไทยรับผิดชอบในการร่างกฎหมายจัดตั้งธนาคารชาติต่อจากที่ปรึกษาต่างประเทศที่ได้ดำเนินการไว้แล้ว ในที่สุดก็ได้มีการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเตรียมการจัดตั้งธนาคารชาติไทยต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแล้ว ให้เปลี่ยนชื่อพระราชบัญญัติเป็น ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทย เมื่อผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้วได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ วัตถุประสงค์ประการหนึ่งของการจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทยก็เพื่อเตรียมพนักงานสำหรับการทำงานในธุรกิจธนาคารกลาง และทำหน้าที่บริหารเงินกู้ของรัฐบาล
สำนักงานธนาคารชาติไทยได้เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๓ ต่อมาในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ซึ่งเป็นวันชาติในสมัยนั้น จึงได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ สำนักงานธนาคารชาติไทยดำเนินงานได้เพียงปีเศษก็เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นนำกำลังทหารเข้ามายังประเทศไทยในวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ และได้เสนอให้รัฐบาลไทยจัดตั้งธนาคารกลางขึ้น โดยมีที่ปรึกษาและหัวหน้างานต่าง ๆ เป็นชาวญี่ปุ่น ซึ่งรัฐบาลไทยไม่อาจยอมให้เป็นเช่นนั้นได้ จึงมอบให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยดำเนินการร่างกฎหมายเพื่อเปลี่ยนฐานะของสำนักงานธนาคารชาติไทยให้เป็นธนาคารกลาง และให้ประกาศใช้โดยเร็วที่สุด พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕ ต่อมาได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ซึ่งเป็นวันรัฐธรรมนูญและในวันต่อมา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินการ ณ อาคารที่ทำการเดิมของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ จำกัด ถนนสี่พระยา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ทรงดำรงตำแหน่งผู้ว่าการพระองค์แรก ต่อมาได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ ณ วังบางขุนพรหมตั้งแต่วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ แล้วย้ายมาอาคารสำนักงานใหญ่ที่สร้างขึ้นในบริเวณวังบางขุนพรหมเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ และในปี ๒๕๕๐ สำนักงานใหญ่ได้ย้ายมาอยู่ ณ อาคารสำนักงานใหญ่หลังใหม่ ที่ก่อสร้างขึ้นในบริเวณเชื่อมต่อระหว่างวังบางขุนพรหมกับวังเทวะเวสม์
ประโยชน์รถยนต์
. เติมน้ำมันล้นถังไม่เป็นผลดี
ในสภาพอากาศร้อนจัดอย่าเติมน้ำมันจนล้นถัง เพราะความร้อนจะทำให้เพิ่มความดัน มีผลทำให้น้ำมันขยายตัวลื่นไหลออกจากถังเกิดอันตราย สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
2. ลากเกียร์ทำให้คลัตช์เสียเร็ว
การใช้เกียร์ควรทำให้เหมาะสมและถูกจังหวะ อย่าลากเกียร์บ่อย จะทำให้คลัทช์เสียเร็วและยางหมดอายุเร็วขึ้น
3. อย่าขับรถจนน้ำมันหมดถัง
การขับรถจนน้ำหมดถัง จะทำให้เครื่องกรองน้ำมันมีโอกาสเสียได้มาก เนื่องจากตะกอนบางอย่างที่สะสมอยู่ในถังจะไปค้างที่เครื่องกรอง
4. อย่าใช้อิฐแทนแม่แรงรถ
อิฐสร้างบ้านก้อนที่แข็งที่สุดยังสามารถแตกได้ อย่าใช้รองหรือหนุนรถแทนแม่แรงต่างหาก เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
5. ใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดกระจก
แอลกอฮอล์มีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อโรคและยังใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่เป็นแก้วหรือกระจกได้ กระจกรถของคุณที่มีคราบสกปรก จะถูกขจัดได้อย่างง่ายดายด้วยแอลกอฮอล์
{snippet 6}
6. สำรวจกระจกอย่าให้มีรอยร้าว
รอยร้าวที่กระจกเพียงเล็กน้อย จะทำให้ขยายวงกว้างไปสู่การแตกใหญ่ได้ต้องหมั่นสำรวจอยู่เสมอ การเปิดแอร์เย็นจัดในขณะอากาศภายนอกร้อนจะทำให้กระจกหดตัวอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุให้เกิดการแตกของกระจกได้
7. เครื่องเป่าผมก็มีประโยชน์
รถที่สตาร์ทไม่ติดอันเนื่องมาจากปัญหาความชื้นลองใช้เครื่องเป่าผมเป่าความร้อนบริเวณเครื่องยนต์ที่คิดว่ามีความชื้นจนกว่าจะแห้ง แล้วลองสตาร์ทใหม่ดูอีกครั้ง
8. การควบคุมอารมณ์
การขับรถจำเป็นที่จะต้องควบคุมอารมณ์ด้วยความอดทนยิ่งในสภาพรถติดแสนสาหัส แบบบ้านเรายิ่งต้องมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยไม่สวมวิญญาณร้ายขณะขับรถ ไม่ใช้วาจาหยาบคาย และอย่าพยายามสั่งสอนบทเรียนต่อผู้อื่น
9. โกรธและหงุดหงิดอย่าขับรถเด็ดขาด
อารมณ์โกรธและหงุดหงิด มีผลเสียอย่างยิ่งต่อการใช้รถใช้ถนน ความกดดันทางอารมณ์จะทำให้มีผลต่อเนื่องไปยังผู้ขับขี่รถคนอื่น และนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุครั้งร้ายแรงได้
10. อย่าตอบโต้กับผู้ขับขี่รายอื่น
หากคุณอารมณ์เสียเนื่องจากผู้ขับขี่รถคันอื่น ต้องพยายามเก็บกดอารมณ์ไม่ตอบโต้ การตอบโต้จะทำให้เกิดผลร้ายต่อเนื่อง อย่างน้อยจะทำให้เราขาดสมาธิขาดการสังเกต สุดท้ายก็ลงเอยด้วยอุบัติเหตุ เป็นไปได้น่าจะจอดรถสงบสติอารมณ์สักครู่
11. หลีกเลี่ยงการเดินทางในสภาพอากาศเลวร้าย
เรามั่นใจแค่ไหนในการขับขี่รถในสภาพอากาศที่เลวร้าย เช่น ฝนตกหนัก หมอกลงจัด ทางที่ดีควรจะงดการขับรถ หันไปใช้บริการของรถสาธารณะจะดีกว่า ทั้งนี้ต้องติดตามการพยากรณ์ของอุตุนิยมวิทยา
12. การปรับพวงมาลัย
รถรุ่นใหม่สามารถปรับแกนพวงมาลัยให้เข้ากับสภาวะร่างกายของผู้ขับขี่ได้ อย่าปรับให้พวงมาลัยอยู่ในตำแหน่งที่มองแผงหน้าปัดยาก ล็อคแกนพวงมาลัยให้มั่นคงหลังจากปรับตำแหน่งจนได้ที่แล้ว ห้ามปรับพวงมาลัยในขณะรถเคลื่อนที่เด็ดขาด
13. เกียร์สูงสุด
เป็นเกียร์ที่ใช้กับอัตราเร็วสูง แต่ให้กำลังน้อยที่สุดเราจะใช้เกียร์สูงสุดกับอัตราเร็วของรถยนต์ที่แตกต่างกันได้มา คุณสามารถใช้แล่นด้วยความเร็วคงที่บนถนนทางตรง
14. อย่าให้ไฟดวงหนึ่งดวงใดขาด
การใช้สัญญาณไฟจะทำให้รถคันอื่นที่ตามหลัง หรือสวนทางเข้าใจในเจตนาของเรา แต่หากไฟสัญญาณดวงหนึ่งดวงใดขาดไป จะทำให้เป็นอันตรายแก่การใช้รถใช้ถนน ควรตรวจสอบและหาฟิวส์ หรือไฟอะไหล่ไว้ในรถบ้าง
15. ไฟเตือนภัยมีความสำคัญ
อย่าขับรถยนต์ออกไปเด็ดขาด กรณีที่มีการเตือนของไฟบนแผงหน้าปัดขึ้น เช่น ไฟเตือนความดันน้ำมันหล่อลื่น เพราะจะทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้
16. กระพริบไฟหน้าแทนแตร
การใช้ไฟสูง-ต่ำของไฟหน้า ทำให้เกิดการกระพริบสามารถเตือนผู้ขับขี่รายอื่นด้วย ที่คาดว่าจะไม่ได้ยินเสีสยแตรจากรถของเรา
17. อย่าปล่อยเกียร์ว่างให้รถเคลื่อนลงทางลาดเองไม่ถูกต้อง
การปล่อยให้รถไหลไปเองโดยไม่ใช้การขับเคลื่อนจะทำให้ควบคุมรถยนต์ยาก โดยเฉพาะพวงมาลัยและเบรคเกียร์จะเข้ายากขึ้นอีกด้วย
18. ลดเกียร์ไม่จำเป็นต้องไล่ตามลำดับ
การลดลงเกียร์ต่ำไม่จำเป็นต้องไล่ตามลำดับ เช่น จากเกียร์ห้ามาเกียร์สาม จากเกียร์สามมาเกียร์หนึ่ง เช่นนี้ จะทำให้เรามีเวลามองถนน และจับพวงมาลัยได้นานขึ้น
19. ใกล้ทางแยกอย่าเปลี่ยนเลนกะทันหัน
ต้องตัดสินใจให้ดีว่าคุณกำลังจะไปทางไหน ซ้าย-ขวา หรือตรง อย่าตัดเลนซ้ายมาขวา หรือขวามาซ้าย บริเวณใกล้ทางแยกจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือไม่ก็ถูกตำรวจจับแน่นอน
20. จะไม่มีการชนท้ายรถคนอื่นเด็ดขาด
ไม่ขับชิดคันหน้าเกินไปหรือกะระยะการทำงานของเบรคได้ถูกต้อง
21. สิ่งกีดขวางกลางถนน
บังเอิญสิ่งกีดขวางอยู่ในช่องจราจรของเรา ตามหลักเราต้องให้รถยนต์วิ่งสวนทางมาผ่านไปก่อน กรณีสิ่งกีดขวางอยู่ฝังตรงข้ามอย่าผลีผลามเหยียบคันเร่งเลยไป เพราะรถคันสวนทางเราอาจไมยอมหยุดรถและหลบสิ่งกีดขวางออกมาในเลนของเราหน้าตาเฉย
22. สิ่งกีดขวางอยู่บนเนิน
นับว่าเป็นเรื่องท้าทายให้ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ การใช้เบรคจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำมาจัดการแก้ปัญหานี้
23. แซงรถที่กำลังวิ่ง
ต้องเข้าใจว่ารถคันหน้าที่กำลังวิ่งด้วยความเร็วหนึ่งหากเราคิดจะแซง แน่นอนว่าความเร็วของรถเราต้องมากกว่า เมื่อหักลบกับความเร็วคันหน้าก็จะได้ระยะทางที่ต้องใช้ในการแซง นั่นก็คือ แซงรถกำลังวิ่งครั้งหนึ่งต้องใช้เวลามากกว่าปกติ ทางที่ดีไม่แน่ใจอย่าแซงจะดีกว่า
24. แซงระทางชัน
หากเป็นรถที่บรรทุกของหนักและวิ่งช้ากว่าเรา การแซงจะใช้เวลาสั้นลงอย่างมาก แต่พึงระวังรถสวนเลนตรงข้าม ซึ่งจะวิ่งลงทางลาดด้วยความเร็วสูง
25. อย่าเร่งรถหากกำลังถูกแซง
จะเป็นการผิดมารยาทอย่างยิ่ง หากรถของคุณที่กำลังถูกแซงเร่งเครื่องหนีด้วยความเร็วเพิ่มขึ้น เมื่อเห็นว่ารถคันขวาของคุณกำลังจะถูกแซง ต้องชะลอความเร็วรถของคุณ เพื่อให้รถของเขาแซงขึ้นไปได้อย่างรวดเร็ว
26. ขับรถขึ้นเขา
กรณีขับรถขึ้นเขาหรือเนิน แน่นอนว่ารถของคุณต้องใช้กำลังเพิ่มมากขึ้น การขับต้องเปลี่ยนมาใช้เกียร์ต่ำกว่าเดิมเพื่อรักษาความเร็วของรถ การเปลี่ยนเกียร์ต้องเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว เพราะขณะที่เรายกเท้าออกจากคันเร่งแล้วเหยียบคลัตช์เปลี่ยนเกียร์
27. ขับรถลงทางลาด
ขึ้นเนินใช้เกียร์ต่ำเพื่อรักษาความเร็วของรถ ลงทางลาดก็ต้องใช้เกียร์ต่ำ เพื่อลดอัตราเร็วของรถแทนการใช้เบรค เพราะหากใช้เบรคในทางลาดมากไป จะทำให้เบรคลื่นและจับไม่อยู่เนื่องจากมีความร้อนสูง
28. ออกตัวของรถขึ้นทางชัน
ผู้ขับขี่มือใหม่มักมีปัญหาการออกตัวขึ้นเนินแล้วรถเคลื่อนที่ถอยหลัง ต้องฝึกให้มีความสามารถในการใช้คันเร่งคลัตช์และเบรคมือพร้อมกัน โดยใช้เท้าซ้ายกดแป้นคลัตช์ลง โยกคันเกียร์จากเกียร์ว่างไปยังเกียร์หนึ่ง ใช้เท้าขวากดแป้นคันเร่ง โดยกดให้มากกว่าการออกตัวบนพื้นระดับ และต้องกดอย่างสม่ำเสมอตามปริมาณชองความชัน
29. จดรถหันหน้าขึ้นเนิน
หลีกเลี่ยงได้ควรหลีก แต่ถ้าจำเป็นต้องจอดให้ชิดขอบขวาทางด้านซ้ายมากที่สุด หมุนพวงมาลัยให้ล้อหันไปทางขวาป้องกันการเคลื่อนที่ถอยหลังเป็นเกียร์หนึ่งและใช้เบรคมือให้มั่นคง
30. จอดรถหันหน้าลงเนิน
หมุนพวงมาลัยไปทางซ้ายให้ล้อหันเข้าหาขอบทางเท้า ป้องกันไม่ให้รถเคลื่อนที่เดินหน้าใส่เกียร์ถอยหลังและเบรคมือไว้
31. ทางโค้งนะ
ให้สังเกตป้ายจราจรว่า โค้งไปทางขวาหรือทางซ้าย การเข้าโค้งให้ใช้เบรคเท้าควบคุมความเร็วของรถ เลือกเกียร์ให้เหมาะสมใช้คันเร่งอย่างระมัดระวังและบังคับรถให้ชิดเส้นแบ่งถนนทางขวาไว้จนตลอดทางโค้ง
32. ระวังหลุดโค้ง
ปรกติทางโค้งจะมีทั้งป้ายจราจรเตือนล่วงหน้าและมีเสาหลักปักตามระยะโค้ง แต่หากผู้ขับขี่ไม่ควบคุมความเร็วเข้าโค้งด้วยความโค้ง โค้งธรรมดาก็จะกลายเป็นโค้งหักศอกให้ได้รับอันตรายให้เห็นกันอยู่บ่อย ๆ
33. ความดันลมของยางสัมพันธ์กับพวงมาลัย
ยางรถยนต์จะต้องมีความดันลมในปริมาณพอเหมาะไม่มากหรือน้อยเกินไปถ้ามากไปทำให้ยากสึกหรอ ไม่ยึดถนนและลื่นไถลทางโค้งแต่หากความดันลมยางน้อยไปจะทำให้ยางร้อนจัดยางไม่เกาะถนนและสึกหรอง่าย สังเกตว่าความดันลมยางน้อยไปเมื่อพวงมาลัยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
34. เบรคบนทางโค้งอันตราย!
ควรหลีกเลี่ยงการใช้เบรคบนถนนทางโค้ง เพราะจะทำให้รถยนต์เสียการทรงตัวและมีแนวโน้มลื่นไถลหลุดโค้งออกไป
35. รถใหญ่บังรถเล็ก
รถใหญ่ที่วิ่งตามทางแยกอาจบังรถเล็กอีกคันที่กำลัง แซงขึ้นมา หากเราตัดสินใจเลี้ยวออกจากทางแยกแบบปัจจุบันทันด่วน โดยไม่ระวังให้ดี อาจเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้
36. ถอยหลังทางไหนหมุนพวงมาลัยทางนั้น
การถอยหลังรถแรก ๆ อาจจะดูไม่ถนัด ต้องอาศัยประสบการณ์ โดยมีเคล็ดลับอยู่ว่าจะให้ส่วนท้ายของรถหันไปทางไหนก็หมุนพวงมาลัยไปทางนั้น ส่วนผู้ขับก็เอี้ยวตัวไปดูข้างหลังโดยมือถือพวงมาลัยมือหนึ่ง อีกมือพาดบนพนักพิงผู้โดยสาร
37. ข้อห้ามของการถอยหลัง
อย่าใช้วิธีกลับรถโดยการถอยหลังจากถนนซอยสู่ถนนใหญ่ เมื่อไม่แน่ใจว่าปลอดภัย อย่าถอยหลังและอย่าถอยหลังเป็นระยะทางไกล ๆ โดยไม่จำเป็น
38. ไฟเขียวให้รีบไปแน่หรือ
การขับรถบริเวณทางแยกที่มีไฟจราจรกำกับและเป็นไฟเขียวอยู่ ไม่ตะบี้ตะบันเหยียบคันเร่งให้ทันสัญญาณไฟ ควรสังเกตดูว่าไฟเขียวนั้นนานแค่ไหน แล้วสังเกตดูว่ารถจากถนนฝั่งหนึ่งมีแถวยาวเท่าใน และควรขับรถเว้นระยะกับรถคันหลังดูว่าหากเบรคกะทันหัน กรณีไม่ทันไฟเขียว แล้วคุณจะไม่ถูกชนท้าย
39. รีบร้อนไปไหนยังไฟแดงอยู่เลย
ผู้ขับขี่หลายรายต้องเสียอกเสียใจทุกวันนี้ เพราะประสบอุบัติเหตุ เนื่องจากชอบออกรถในขณะที่สัญญาณไฟยังเป็นไฟแดงหรือเหลืองอยู่ โดยคาดเดาล่วงหน้าเกี่ยวกับการเปลี่ยนสัญญาณไฟจราจร ในขณะที่รถอีกฝั่งยังไฟแดงอาศัยลูกติดพันจากไฟเขียว ผลก็คือ ประสานงากันจังเบ้อเริ่ม เดือดร้อนกันทั่วหน้า
40. ถูกจี้ท้ายและเตือนด้วยไฟสูงต่ำ
หลายคนคงเคยเจอนักเลงกลางถนน โดยขับขี่อยู่ ดี ๆ ก็มีรถคันอื่นมาจี้ท้ายแถมใช้ไฟสูงต่ำยิงใส่ท้ายรถ อย่าตกใจและห้ามตอบโต้เด็ดขาด เพียงแต่ค่อย ๆ เปลี่ยนช่องจราจรไปทางซ้าย เพื่อให้เกิดช่องว่างให้รถคันหลังผ่านไปได้
41. กระจกหน้ารถต้องสะอาดอยู่เสมอ
กระจกหน้ารถที่สะอาด เมื่อเวลาฝนตก ใบปัดน้ำฝนจะทำความสะอาดได้เร็วมากขึ้นมาก ควรลดอัตราเร็วลงหากอุปกรณ์ปัดน้ำฝนทำงานไม่ทันกับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก
42. ไม่แตะเบรคขณะรถลื่นไถล
กรณีรถขาดการทรงตัว เมื่อเจอสภาพถนนมีน้ำมันเกลื่อนกลาดอย่าตกใจยกเท้าออกจากคันเร่งและหมุนพวงมาลัยไปในทิศทางเดียวกับทิศทางการลื่นไถลโดยห้ามแตะเบรคโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก
43. อย่าเพิ่งดับไฟขณะรุ่งสาง
การรีบดับไฟเมื่อขับรถตอนรุ่งสางไม่เป็นผลดีต้องให้แน่ใจว่าคุณสามารถมองเห็นถนนและผู้ขับขี่คันอื่นอย่างชัดเจนเสียก่อนจึงค่อยดับไฟ กรณีรถมีสีคล้ำ ดำ หรือน้ำเงิน ซึ่งไม่ค่อยสะท้อนแสงต้องเปิดไฟแต่เนิ่น ๆ เมื่อเริ่มจะมือและปิดไฟช้ากว่าคันอื่นเมื่อเวลารุ่งสาง
44. การใช้น้ำมันหล่อลื่น
การเติมน้ำมันหล่อลื่นต้องรักษาปริมาณให้ถึงขีดกำหนดของรถเสมอ น้ำมันหล่อลื่นเป็นสารอันตรายต่อผิวหนัง ควรล้างมือทันทีและเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันให้ห่างไกลจากมือเด็ก
45. รถเสียระวังเสียงรถ
เมื่อรถคุณเกิดเสียกลางทางแล้วมีอาสาสมัครเสนอตัวให้ความช่วยเหลือ หากคุณไม่แน่ใจพฤติกรรมอย่าลงจากรถเด็ดขาด ให้ผู้ผ่านกระจกแล้วล็อคประตูไว้วานให้ช่วยไปโทรศัพท์หาผู้ที่คุณต้องการจะติดต่อด้วยจะดีที่สุด
46. อุปกรณ์พยาบาลที่ควรจะมีในรถ
เพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉน คุณควรมีสิ่งเหล่านี้ไว้ในรถ พลาสเตอร์, ผ้าพันแผล ขวดพลาสติคใส่น้ำสะอาดไว้ กรรไกร คีม ผ้าพันแผลแบบยืดหดได้ โคมไฟฟ้า เหรียญ(สำหรับโทรศัพท์)
47. เด็กเล็กก็ควรคาดเข็มขัด
อุบัติเหตุหลายครั้งเด็กเล็กต้องเสียชีวิตหรือบาดเจ็บจำนวนมาก ในเมืองนอกได้ออกแบบที่นั่งเฉพาะสำหรับเด็กไว้อย่างมาตรฐาน โดยเฉพาะมีเข็มขัดนิรภัยให้เด็กคาดเข็มขัดด้วย สำหรับเมืองไทยที่ยังไม่มีที่นั่งเด็กแพร่หลาย ก็อาศัยพี่เลี้ยงหรือผู้โดยสารไปด้วยคอยดูแล อย่าปล่อยให้เด็กเป็นอิสระเด็ดขาด
48. ทำยังไงเมื่อกระจกหน้ารถแตกละเอียด
อุบัติเหตุเช่นนี้เกิดขึ้นได้เมื่อรถแล่นด้วยความเร็วสูง ต้องควบคุมสติให้ได้ผ่นอคันเร่งหาที่จอดอย่าปลอดภัย หากระดาษหนังสือพิมพ์มาคลุมหน้าปัดรถและกระโปรงรถใกล้กระจกหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้เศษกระจกปลิวเข้ามา แล้วจึงหาอะไรมาค่อย ๆ ทุบกระจกที่แตกค้างออก แล้วขับรถไปหาอู่ซ่อมโดยเร็ว
49. เบรคจม
อุบัติเหตุบางครั้งเกิดจากการที่อยู่ดี ๆ คันเบรคก็จมซึ่งทำให้การหยุดรถทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร เป็นเช่นนี้ให้ลดความเร็วลงค่อย ๆ ปั๊มเบรคสองสามครั้งเพื่อให้ความร้อนไปไล่ฟองอากาศและความชื้นจากนั้นจึงค่อย ๆ ขับไปด้วยควมเร็วเป็นปกติ
50. น้ำมันท่วม
รถที่จอดนิ่งอยู่สตาร์ทหลายทีก็ไม่ติด แถมยังได้กลิ่นฉุนของน้ำมันแสดงว่าน้ำมันได้ท่วมคาร์บูเรเตอร์ แล้วควาคอยอย่างน้อยสิบนาที เพื่อให้น้ำมันระเหยแล้ว เริ่มติดเครื่องใหม่อีกครั้ง
51. อาการแบตเตอรี่หมด
อีกกรณีที่สตาร์ทเครื่องรถไม่ติด แล้วไฟหน้ารถไม่สว่างให้สันนิษฐานได้ว่าแบตเตอรี่หมดให้ชาร์จใหม่ได้ทันที หากทำไม่เป็นก็ตามช่างหรือติดต่อศูนย์ที่คุณซื้อรถก็ได้
52. ความร้อนสูงผิดปกติ
สังเกตุได้จาก เข็มชี้ระดับความร้อนที่หน้าปัดขึ้นสูงกว่าธรรมดา อย่าขับรถต่อไป เพราะจะทำให้รถได้รับความเสียหายร้ายแรงได้ ต้องหาที่ร่มจอดรถ เปิดฝากระโปรงทิ้วไว้รอจนกว่าเครื่องยนต์จะเย็นลงในระดับปรกติจึงค่อยเดินทางต่อไป กรณีที่เกิดจากน้ำมในหม้อน้ำพร่องไป ต้องรออย่างน้อย 10 นาทีถึงจะเปิดฝาหม้อน้ำเติมน้ำได้
53. เบรคเสียกะทันหัน
เบรคที่ถูกใช้มากในบางกรณี อาจทำให้เสียหรือผ้าเบรคสึกมีผลให้รถเบรคไม่ค่อยอยู่ วิธีแก้ไขคือ ให้จอดรถชั่วคราวเพื่อให้เบรคพักการทำงานระยะหนึ่ง
54. หัดเปลี่ยนยางไว้บ้างก็ดี
กรณีที่เราขับรถออกทางไกลที่เปลี่ยว ๆ ห่างจากปั๊มน้ำมันข้างทางแล้วเกิดยางรั่วยางแตก การเปลี่ยนยางอะไหล่ต้องใช้ความสามารถของตนเอง การศึกษาวิธีการเปลี่ยนจากคู่มือ และหัดลองเปลี่ยนขณะจอดรถอยู่ให้คล่อง มิฉะนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว มีหวังคุณได้นอนหง่าวอยู่ในรถคนเดียวทั้งคืนแน่
55. ฟิวส์ซองบุหรี่
ระบบไฟฟ้าของรถใช้ฟิวส์เป็นตัวเชื่อมไฟ หากฟิวส์เกิดขาดกะทันหัน แก้ปัญหาได้โดยใช้กระดาษตะกั่วห่อซองบุหรี่หรือกระดาษห่อช็อกโกแล็ตมาหุ้มฟิวส์นั้นแล้วนำไปใช้ต่อฟิวส์นั้นก็จะทำงานได้ชั่วคราว
56. ยางโดนตะปูเจาะ
ประการแรกให้เปลี่ยนยางอะไหล่ทันที ถ้าไม่มียางอะไหล่ สำรวจยางเส้นนั้นว่ามียางในหรือไม่ ประการสำคัญไม่ควรดึงตะปูออกก่อนจะทำให้เวลาขับเคลื่อนรถ ยางจะแตก ระเบิดได้ ควรขับออกไปช้า ๆ อย่างระมัดระวังประคับประคองให้ไปถึงอู่หรือปั๊ม ทำการปะให้เรียบร้อย
57. ตรวจสนิมรถด้วยแม่เหล็ก
รถปัจจุบันส่วนใหญ่ตัวถังจะฉาบด้วยยากันสนิม ซึ่งเป็นฉนวน บริเวณที่กระเทาะแล้วเกิดสนิม จะทำให้เกิดแรงดึงดูดกับแม่เหล็ก
58. เรื่องของสีรถ
หากสีรถเกิดถลอกและเป็นสนิม หรือมีปัญหาอื่น ๆ เกี่ยวกับสีรถไม่ควรลงมือแก้ไขเอง เช่น เช็ด ขูด ควรนำรถเข้าอู่ ให้ช่างที่มีความชำนาญดูแล มิฉะนั้นจะทำให้เกิดรอยด่างของสีรถได้
59. รถติดอย่าหยุดติดรถ
ปัญหารถติดบ้านเราเลี่ยงกันไม่พ้น ขณะขับรถไปต่อคันที่หยุดข้างหน้าควรเว้นช่วงไว้ให้ห่างพอที่รถจะเคลื่อนตัวไปซ้ายขวาได้ เป็นการเผื่อเอาไว้หากเกิดอุบัติเหตุรถชนท้ายด้านหน้ารถจะได้ไม่ถูกอัดก๊อปปี้เสียหายทั้งรถและชีวิต
60. ยางอะไหล่ต้องพร้อมเสมอ
รถเกือบทุกคันก็มักมียางอะไหล่ติดไว้เสมอ อย่าลืมที่จะตรวจสอบสภาพของยางอะไหล่บ้าง เป็นต้นว่าลมยางต้องมีความดันมาตรฐานเสมอ ไม่อ่อนจนเกินไป เพราะหากเกิดฉุกเฉินขึ้นมา ยางอะไหล่รั่วหรือแตก สถานการณ์จะเลวร้ายไปกันใหญ่
61. กรวยเติมน้ำมันฉุกเฉิน
น้ำมันแห้งสนิทกลางทาง ซื้อน้ำมันใส่แกลลอนมาแต่ดันลืมติดกรวยมาด้วย ไม่ยากเลย เพียงหาถ้วยใส่น้ำอัดลมพลาสติค ผ่าแล้วม้วนเป็นรูปกรวยมาเป็นที่เติม หรือใช้กระดาษทบกันหลาย ๆ ชั้น มาพับเป็นรูปกรวยก็ได้พอจะแก้ขัดไปครั้งหนึ่ง
ในสภาพอากาศร้อนจัดอย่าเติมน้ำมันจนล้นถัง เพราะความร้อนจะทำให้เพิ่มความดัน มีผลทำให้น้ำมันขยายตัวลื่นไหลออกจากถังเกิดอันตราย สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
2. ลากเกียร์ทำให้คลัตช์เสียเร็ว
การใช้เกียร์ควรทำให้เหมาะสมและถูกจังหวะ อย่าลากเกียร์บ่อย จะทำให้คลัทช์เสียเร็วและยางหมดอายุเร็วขึ้น
3. อย่าขับรถจนน้ำมันหมดถัง
การขับรถจนน้ำหมดถัง จะทำให้เครื่องกรองน้ำมันมีโอกาสเสียได้มาก เนื่องจากตะกอนบางอย่างที่สะสมอยู่ในถังจะไปค้างที่เครื่องกรอง
4. อย่าใช้อิฐแทนแม่แรงรถ
อิฐสร้างบ้านก้อนที่แข็งที่สุดยังสามารถแตกได้ อย่าใช้รองหรือหนุนรถแทนแม่แรงต่างหาก เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
5. ใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาดกระจก
แอลกอฮอล์มีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อโรคและยังใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่เป็นแก้วหรือกระจกได้ กระจกรถของคุณที่มีคราบสกปรก จะถูกขจัดได้อย่างง่ายดายด้วยแอลกอฮอล์
{snippet 6}
6. สำรวจกระจกอย่าให้มีรอยร้าว
รอยร้าวที่กระจกเพียงเล็กน้อย จะทำให้ขยายวงกว้างไปสู่การแตกใหญ่ได้ต้องหมั่นสำรวจอยู่เสมอ การเปิดแอร์เย็นจัดในขณะอากาศภายนอกร้อนจะทำให้กระจกหดตัวอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุให้เกิดการแตกของกระจกได้
7. เครื่องเป่าผมก็มีประโยชน์
รถที่สตาร์ทไม่ติดอันเนื่องมาจากปัญหาความชื้นลองใช้เครื่องเป่าผมเป่าความร้อนบริเวณเครื่องยนต์ที่คิดว่ามีความชื้นจนกว่าจะแห้ง แล้วลองสตาร์ทใหม่ดูอีกครั้ง
8. การควบคุมอารมณ์
การขับรถจำเป็นที่จะต้องควบคุมอารมณ์ด้วยความอดทนยิ่งในสภาพรถติดแสนสาหัส แบบบ้านเรายิ่งต้องมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยไม่สวมวิญญาณร้ายขณะขับรถ ไม่ใช้วาจาหยาบคาย และอย่าพยายามสั่งสอนบทเรียนต่อผู้อื่น
9. โกรธและหงุดหงิดอย่าขับรถเด็ดขาด
อารมณ์โกรธและหงุดหงิด มีผลเสียอย่างยิ่งต่อการใช้รถใช้ถนน ความกดดันทางอารมณ์จะทำให้มีผลต่อเนื่องไปยังผู้ขับขี่รถคนอื่น และนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุครั้งร้ายแรงได้
10. อย่าตอบโต้กับผู้ขับขี่รายอื่น
หากคุณอารมณ์เสียเนื่องจากผู้ขับขี่รถคันอื่น ต้องพยายามเก็บกดอารมณ์ไม่ตอบโต้ การตอบโต้จะทำให้เกิดผลร้ายต่อเนื่อง อย่างน้อยจะทำให้เราขาดสมาธิขาดการสังเกต สุดท้ายก็ลงเอยด้วยอุบัติเหตุ เป็นไปได้น่าจะจอดรถสงบสติอารมณ์สักครู่
11. หลีกเลี่ยงการเดินทางในสภาพอากาศเลวร้าย
เรามั่นใจแค่ไหนในการขับขี่รถในสภาพอากาศที่เลวร้าย เช่น ฝนตกหนัก หมอกลงจัด ทางที่ดีควรจะงดการขับรถ หันไปใช้บริการของรถสาธารณะจะดีกว่า ทั้งนี้ต้องติดตามการพยากรณ์ของอุตุนิยมวิทยา
12. การปรับพวงมาลัย
รถรุ่นใหม่สามารถปรับแกนพวงมาลัยให้เข้ากับสภาวะร่างกายของผู้ขับขี่ได้ อย่าปรับให้พวงมาลัยอยู่ในตำแหน่งที่มองแผงหน้าปัดยาก ล็อคแกนพวงมาลัยให้มั่นคงหลังจากปรับตำแหน่งจนได้ที่แล้ว ห้ามปรับพวงมาลัยในขณะรถเคลื่อนที่เด็ดขาด
13. เกียร์สูงสุด
เป็นเกียร์ที่ใช้กับอัตราเร็วสูง แต่ให้กำลังน้อยที่สุดเราจะใช้เกียร์สูงสุดกับอัตราเร็วของรถยนต์ที่แตกต่างกันได้มา คุณสามารถใช้แล่นด้วยความเร็วคงที่บนถนนทางตรง
14. อย่าให้ไฟดวงหนึ่งดวงใดขาด
การใช้สัญญาณไฟจะทำให้รถคันอื่นที่ตามหลัง หรือสวนทางเข้าใจในเจตนาของเรา แต่หากไฟสัญญาณดวงหนึ่งดวงใดขาดไป จะทำให้เป็นอันตรายแก่การใช้รถใช้ถนน ควรตรวจสอบและหาฟิวส์ หรือไฟอะไหล่ไว้ในรถบ้าง
15. ไฟเตือนภัยมีความสำคัญ
อย่าขับรถยนต์ออกไปเด็ดขาด กรณีที่มีการเตือนของไฟบนแผงหน้าปัดขึ้น เช่น ไฟเตือนความดันน้ำมันหล่อลื่น เพราะจะทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้
16. กระพริบไฟหน้าแทนแตร
การใช้ไฟสูง-ต่ำของไฟหน้า ทำให้เกิดการกระพริบสามารถเตือนผู้ขับขี่รายอื่นด้วย ที่คาดว่าจะไม่ได้ยินเสีสยแตรจากรถของเรา
17. อย่าปล่อยเกียร์ว่างให้รถเคลื่อนลงทางลาดเองไม่ถูกต้อง
การปล่อยให้รถไหลไปเองโดยไม่ใช้การขับเคลื่อนจะทำให้ควบคุมรถยนต์ยาก โดยเฉพาะพวงมาลัยและเบรคเกียร์จะเข้ายากขึ้นอีกด้วย
18. ลดเกียร์ไม่จำเป็นต้องไล่ตามลำดับ
การลดลงเกียร์ต่ำไม่จำเป็นต้องไล่ตามลำดับ เช่น จากเกียร์ห้ามาเกียร์สาม จากเกียร์สามมาเกียร์หนึ่ง เช่นนี้ จะทำให้เรามีเวลามองถนน และจับพวงมาลัยได้นานขึ้น
19. ใกล้ทางแยกอย่าเปลี่ยนเลนกะทันหัน
ต้องตัดสินใจให้ดีว่าคุณกำลังจะไปทางไหน ซ้าย-ขวา หรือตรง อย่าตัดเลนซ้ายมาขวา หรือขวามาซ้าย บริเวณใกล้ทางแยกจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือไม่ก็ถูกตำรวจจับแน่นอน
20. จะไม่มีการชนท้ายรถคนอื่นเด็ดขาด
ไม่ขับชิดคันหน้าเกินไปหรือกะระยะการทำงานของเบรคได้ถูกต้อง
21. สิ่งกีดขวางกลางถนน
บังเอิญสิ่งกีดขวางอยู่ในช่องจราจรของเรา ตามหลักเราต้องให้รถยนต์วิ่งสวนทางมาผ่านไปก่อน กรณีสิ่งกีดขวางอยู่ฝังตรงข้ามอย่าผลีผลามเหยียบคันเร่งเลยไป เพราะรถคันสวนทางเราอาจไมยอมหยุดรถและหลบสิ่งกีดขวางออกมาในเลนของเราหน้าตาเฉย
22. สิ่งกีดขวางอยู่บนเนิน
นับว่าเป็นเรื่องท้าทายให้ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ การใช้เบรคจำเป็นอย่างยิ่งที่จะนำมาจัดการแก้ปัญหานี้
23. แซงรถที่กำลังวิ่ง
ต้องเข้าใจว่ารถคันหน้าที่กำลังวิ่งด้วยความเร็วหนึ่งหากเราคิดจะแซง แน่นอนว่าความเร็วของรถเราต้องมากกว่า เมื่อหักลบกับความเร็วคันหน้าก็จะได้ระยะทางที่ต้องใช้ในการแซง นั่นก็คือ แซงรถกำลังวิ่งครั้งหนึ่งต้องใช้เวลามากกว่าปกติ ทางที่ดีไม่แน่ใจอย่าแซงจะดีกว่า
24. แซงระทางชัน
หากเป็นรถที่บรรทุกของหนักและวิ่งช้ากว่าเรา การแซงจะใช้เวลาสั้นลงอย่างมาก แต่พึงระวังรถสวนเลนตรงข้าม ซึ่งจะวิ่งลงทางลาดด้วยความเร็วสูง
25. อย่าเร่งรถหากกำลังถูกแซง
จะเป็นการผิดมารยาทอย่างยิ่ง หากรถของคุณที่กำลังถูกแซงเร่งเครื่องหนีด้วยความเร็วเพิ่มขึ้น เมื่อเห็นว่ารถคันขวาของคุณกำลังจะถูกแซง ต้องชะลอความเร็วรถของคุณ เพื่อให้รถของเขาแซงขึ้นไปได้อย่างรวดเร็ว
26. ขับรถขึ้นเขา
กรณีขับรถขึ้นเขาหรือเนิน แน่นอนว่ารถของคุณต้องใช้กำลังเพิ่มมากขึ้น การขับต้องเปลี่ยนมาใช้เกียร์ต่ำกว่าเดิมเพื่อรักษาความเร็วของรถ การเปลี่ยนเกียร์ต้องเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว เพราะขณะที่เรายกเท้าออกจากคันเร่งแล้วเหยียบคลัตช์เปลี่ยนเกียร์
27. ขับรถลงทางลาด
ขึ้นเนินใช้เกียร์ต่ำเพื่อรักษาความเร็วของรถ ลงทางลาดก็ต้องใช้เกียร์ต่ำ เพื่อลดอัตราเร็วของรถแทนการใช้เบรค เพราะหากใช้เบรคในทางลาดมากไป จะทำให้เบรคลื่นและจับไม่อยู่เนื่องจากมีความร้อนสูง
28. ออกตัวของรถขึ้นทางชัน
ผู้ขับขี่มือใหม่มักมีปัญหาการออกตัวขึ้นเนินแล้วรถเคลื่อนที่ถอยหลัง ต้องฝึกให้มีความสามารถในการใช้คันเร่งคลัตช์และเบรคมือพร้อมกัน โดยใช้เท้าซ้ายกดแป้นคลัตช์ลง โยกคันเกียร์จากเกียร์ว่างไปยังเกียร์หนึ่ง ใช้เท้าขวากดแป้นคันเร่ง โดยกดให้มากกว่าการออกตัวบนพื้นระดับ และต้องกดอย่างสม่ำเสมอตามปริมาณชองความชัน
29. จดรถหันหน้าขึ้นเนิน
หลีกเลี่ยงได้ควรหลีก แต่ถ้าจำเป็นต้องจอดให้ชิดขอบขวาทางด้านซ้ายมากที่สุด หมุนพวงมาลัยให้ล้อหันไปทางขวาป้องกันการเคลื่อนที่ถอยหลังเป็นเกียร์หนึ่งและใช้เบรคมือให้มั่นคง
30. จอดรถหันหน้าลงเนิน
หมุนพวงมาลัยไปทางซ้ายให้ล้อหันเข้าหาขอบทางเท้า ป้องกันไม่ให้รถเคลื่อนที่เดินหน้าใส่เกียร์ถอยหลังและเบรคมือไว้
31. ทางโค้งนะ
ให้สังเกตป้ายจราจรว่า โค้งไปทางขวาหรือทางซ้าย การเข้าโค้งให้ใช้เบรคเท้าควบคุมความเร็วของรถ เลือกเกียร์ให้เหมาะสมใช้คันเร่งอย่างระมัดระวังและบังคับรถให้ชิดเส้นแบ่งถนนทางขวาไว้จนตลอดทางโค้ง
32. ระวังหลุดโค้ง
ปรกติทางโค้งจะมีทั้งป้ายจราจรเตือนล่วงหน้าและมีเสาหลักปักตามระยะโค้ง แต่หากผู้ขับขี่ไม่ควบคุมความเร็วเข้าโค้งด้วยความโค้ง โค้งธรรมดาก็จะกลายเป็นโค้งหักศอกให้ได้รับอันตรายให้เห็นกันอยู่บ่อย ๆ
33. ความดันลมของยางสัมพันธ์กับพวงมาลัย
ยางรถยนต์จะต้องมีความดันลมในปริมาณพอเหมาะไม่มากหรือน้อยเกินไปถ้ามากไปทำให้ยากสึกหรอ ไม่ยึดถนนและลื่นไถลทางโค้งแต่หากความดันลมยางน้อยไปจะทำให้ยางร้อนจัดยางไม่เกาะถนนและสึกหรอง่าย สังเกตว่าความดันลมยางน้อยไปเมื่อพวงมาลัยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
34. เบรคบนทางโค้งอันตราย!
ควรหลีกเลี่ยงการใช้เบรคบนถนนทางโค้ง เพราะจะทำให้รถยนต์เสียการทรงตัวและมีแนวโน้มลื่นไถลหลุดโค้งออกไป
35. รถใหญ่บังรถเล็ก
รถใหญ่ที่วิ่งตามทางแยกอาจบังรถเล็กอีกคันที่กำลัง แซงขึ้นมา หากเราตัดสินใจเลี้ยวออกจากทางแยกแบบปัจจุบันทันด่วน โดยไม่ระวังให้ดี อาจเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้
36. ถอยหลังทางไหนหมุนพวงมาลัยทางนั้น
การถอยหลังรถแรก ๆ อาจจะดูไม่ถนัด ต้องอาศัยประสบการณ์ โดยมีเคล็ดลับอยู่ว่าจะให้ส่วนท้ายของรถหันไปทางไหนก็หมุนพวงมาลัยไปทางนั้น ส่วนผู้ขับก็เอี้ยวตัวไปดูข้างหลังโดยมือถือพวงมาลัยมือหนึ่ง อีกมือพาดบนพนักพิงผู้โดยสาร
37. ข้อห้ามของการถอยหลัง
อย่าใช้วิธีกลับรถโดยการถอยหลังจากถนนซอยสู่ถนนใหญ่ เมื่อไม่แน่ใจว่าปลอดภัย อย่าถอยหลังและอย่าถอยหลังเป็นระยะทางไกล ๆ โดยไม่จำเป็น
38. ไฟเขียวให้รีบไปแน่หรือ
การขับรถบริเวณทางแยกที่มีไฟจราจรกำกับและเป็นไฟเขียวอยู่ ไม่ตะบี้ตะบันเหยียบคันเร่งให้ทันสัญญาณไฟ ควรสังเกตดูว่าไฟเขียวนั้นนานแค่ไหน แล้วสังเกตดูว่ารถจากถนนฝั่งหนึ่งมีแถวยาวเท่าใน และควรขับรถเว้นระยะกับรถคันหลังดูว่าหากเบรคกะทันหัน กรณีไม่ทันไฟเขียว แล้วคุณจะไม่ถูกชนท้าย
39. รีบร้อนไปไหนยังไฟแดงอยู่เลย
ผู้ขับขี่หลายรายต้องเสียอกเสียใจทุกวันนี้ เพราะประสบอุบัติเหตุ เนื่องจากชอบออกรถในขณะที่สัญญาณไฟยังเป็นไฟแดงหรือเหลืองอยู่ โดยคาดเดาล่วงหน้าเกี่ยวกับการเปลี่ยนสัญญาณไฟจราจร ในขณะที่รถอีกฝั่งยังไฟแดงอาศัยลูกติดพันจากไฟเขียว ผลก็คือ ประสานงากันจังเบ้อเริ่ม เดือดร้อนกันทั่วหน้า
40. ถูกจี้ท้ายและเตือนด้วยไฟสูงต่ำ
หลายคนคงเคยเจอนักเลงกลางถนน โดยขับขี่อยู่ ดี ๆ ก็มีรถคันอื่นมาจี้ท้ายแถมใช้ไฟสูงต่ำยิงใส่ท้ายรถ อย่าตกใจและห้ามตอบโต้เด็ดขาด เพียงแต่ค่อย ๆ เปลี่ยนช่องจราจรไปทางซ้าย เพื่อให้เกิดช่องว่างให้รถคันหลังผ่านไปได้
41. กระจกหน้ารถต้องสะอาดอยู่เสมอ
กระจกหน้ารถที่สะอาด เมื่อเวลาฝนตก ใบปัดน้ำฝนจะทำความสะอาดได้เร็วมากขึ้นมาก ควรลดอัตราเร็วลงหากอุปกรณ์ปัดน้ำฝนทำงานไม่ทันกับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก
42. ไม่แตะเบรคขณะรถลื่นไถล
กรณีรถขาดการทรงตัว เมื่อเจอสภาพถนนมีน้ำมันเกลื่อนกลาดอย่าตกใจยกเท้าออกจากคันเร่งและหมุนพวงมาลัยไปในทิศทางเดียวกับทิศทางการลื่นไถลโดยห้ามแตะเบรคโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก
43. อย่าเพิ่งดับไฟขณะรุ่งสาง
การรีบดับไฟเมื่อขับรถตอนรุ่งสางไม่เป็นผลดีต้องให้แน่ใจว่าคุณสามารถมองเห็นถนนและผู้ขับขี่คันอื่นอย่างชัดเจนเสียก่อนจึงค่อยดับไฟ กรณีรถมีสีคล้ำ ดำ หรือน้ำเงิน ซึ่งไม่ค่อยสะท้อนแสงต้องเปิดไฟแต่เนิ่น ๆ เมื่อเริ่มจะมือและปิดไฟช้ากว่าคันอื่นเมื่อเวลารุ่งสาง
44. การใช้น้ำมันหล่อลื่น
การเติมน้ำมันหล่อลื่นต้องรักษาปริมาณให้ถึงขีดกำหนดของรถเสมอ น้ำมันหล่อลื่นเป็นสารอันตรายต่อผิวหนัง ควรล้างมือทันทีและเก็บภาชนะบรรจุน้ำมันให้ห่างไกลจากมือเด็ก
45. รถเสียระวังเสียงรถ
เมื่อรถคุณเกิดเสียกลางทางแล้วมีอาสาสมัครเสนอตัวให้ความช่วยเหลือ หากคุณไม่แน่ใจพฤติกรรมอย่าลงจากรถเด็ดขาด ให้ผู้ผ่านกระจกแล้วล็อคประตูไว้วานให้ช่วยไปโทรศัพท์หาผู้ที่คุณต้องการจะติดต่อด้วยจะดีที่สุด
46. อุปกรณ์พยาบาลที่ควรจะมีในรถ
เพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉน คุณควรมีสิ่งเหล่านี้ไว้ในรถ พลาสเตอร์, ผ้าพันแผล ขวดพลาสติคใส่น้ำสะอาดไว้ กรรไกร คีม ผ้าพันแผลแบบยืดหดได้ โคมไฟฟ้า เหรียญ(สำหรับโทรศัพท์)
47. เด็กเล็กก็ควรคาดเข็มขัด
อุบัติเหตุหลายครั้งเด็กเล็กต้องเสียชีวิตหรือบาดเจ็บจำนวนมาก ในเมืองนอกได้ออกแบบที่นั่งเฉพาะสำหรับเด็กไว้อย่างมาตรฐาน โดยเฉพาะมีเข็มขัดนิรภัยให้เด็กคาดเข็มขัดด้วย สำหรับเมืองไทยที่ยังไม่มีที่นั่งเด็กแพร่หลาย ก็อาศัยพี่เลี้ยงหรือผู้โดยสารไปด้วยคอยดูแล อย่าปล่อยให้เด็กเป็นอิสระเด็ดขาด
48. ทำยังไงเมื่อกระจกหน้ารถแตกละเอียด
อุบัติเหตุเช่นนี้เกิดขึ้นได้เมื่อรถแล่นด้วยความเร็วสูง ต้องควบคุมสติให้ได้ผ่นอคันเร่งหาที่จอดอย่าปลอดภัย หากระดาษหนังสือพิมพ์มาคลุมหน้าปัดรถและกระโปรงรถใกล้กระจกหน้าเพื่อป้องกันไม่ให้เศษกระจกปลิวเข้ามา แล้วจึงหาอะไรมาค่อย ๆ ทุบกระจกที่แตกค้างออก แล้วขับรถไปหาอู่ซ่อมโดยเร็ว
49. เบรคจม
อุบัติเหตุบางครั้งเกิดจากการที่อยู่ดี ๆ คันเบรคก็จมซึ่งทำให้การหยุดรถทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร เป็นเช่นนี้ให้ลดความเร็วลงค่อย ๆ ปั๊มเบรคสองสามครั้งเพื่อให้ความร้อนไปไล่ฟองอากาศและความชื้นจากนั้นจึงค่อย ๆ ขับไปด้วยควมเร็วเป็นปกติ
50. น้ำมันท่วม
รถที่จอดนิ่งอยู่สตาร์ทหลายทีก็ไม่ติด แถมยังได้กลิ่นฉุนของน้ำมันแสดงว่าน้ำมันได้ท่วมคาร์บูเรเตอร์ แล้วควาคอยอย่างน้อยสิบนาที เพื่อให้น้ำมันระเหยแล้ว เริ่มติดเครื่องใหม่อีกครั้ง
51. อาการแบตเตอรี่หมด
อีกกรณีที่สตาร์ทเครื่องรถไม่ติด แล้วไฟหน้ารถไม่สว่างให้สันนิษฐานได้ว่าแบตเตอรี่หมดให้ชาร์จใหม่ได้ทันที หากทำไม่เป็นก็ตามช่างหรือติดต่อศูนย์ที่คุณซื้อรถก็ได้
52. ความร้อนสูงผิดปกติ
สังเกตุได้จาก เข็มชี้ระดับความร้อนที่หน้าปัดขึ้นสูงกว่าธรรมดา อย่าขับรถต่อไป เพราะจะทำให้รถได้รับความเสียหายร้ายแรงได้ ต้องหาที่ร่มจอดรถ เปิดฝากระโปรงทิ้วไว้รอจนกว่าเครื่องยนต์จะเย็นลงในระดับปรกติจึงค่อยเดินทางต่อไป กรณีที่เกิดจากน้ำมในหม้อน้ำพร่องไป ต้องรออย่างน้อย 10 นาทีถึงจะเปิดฝาหม้อน้ำเติมน้ำได้
53. เบรคเสียกะทันหัน
เบรคที่ถูกใช้มากในบางกรณี อาจทำให้เสียหรือผ้าเบรคสึกมีผลให้รถเบรคไม่ค่อยอยู่ วิธีแก้ไขคือ ให้จอดรถชั่วคราวเพื่อให้เบรคพักการทำงานระยะหนึ่ง
54. หัดเปลี่ยนยางไว้บ้างก็ดี
กรณีที่เราขับรถออกทางไกลที่เปลี่ยว ๆ ห่างจากปั๊มน้ำมันข้างทางแล้วเกิดยางรั่วยางแตก การเปลี่ยนยางอะไหล่ต้องใช้ความสามารถของตนเอง การศึกษาวิธีการเปลี่ยนจากคู่มือ และหัดลองเปลี่ยนขณะจอดรถอยู่ให้คล่อง มิฉะนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว มีหวังคุณได้นอนหง่าวอยู่ในรถคนเดียวทั้งคืนแน่
55. ฟิวส์ซองบุหรี่
ระบบไฟฟ้าของรถใช้ฟิวส์เป็นตัวเชื่อมไฟ หากฟิวส์เกิดขาดกะทันหัน แก้ปัญหาได้โดยใช้กระดาษตะกั่วห่อซองบุหรี่หรือกระดาษห่อช็อกโกแล็ตมาหุ้มฟิวส์นั้นแล้วนำไปใช้ต่อฟิวส์นั้นก็จะทำงานได้ชั่วคราว
56. ยางโดนตะปูเจาะ
ประการแรกให้เปลี่ยนยางอะไหล่ทันที ถ้าไม่มียางอะไหล่ สำรวจยางเส้นนั้นว่ามียางในหรือไม่ ประการสำคัญไม่ควรดึงตะปูออกก่อนจะทำให้เวลาขับเคลื่อนรถ ยางจะแตก ระเบิดได้ ควรขับออกไปช้า ๆ อย่างระมัดระวังประคับประคองให้ไปถึงอู่หรือปั๊ม ทำการปะให้เรียบร้อย
57. ตรวจสนิมรถด้วยแม่เหล็ก
รถปัจจุบันส่วนใหญ่ตัวถังจะฉาบด้วยยากันสนิม ซึ่งเป็นฉนวน บริเวณที่กระเทาะแล้วเกิดสนิม จะทำให้เกิดแรงดึงดูดกับแม่เหล็ก
58. เรื่องของสีรถ
หากสีรถเกิดถลอกและเป็นสนิม หรือมีปัญหาอื่น ๆ เกี่ยวกับสีรถไม่ควรลงมือแก้ไขเอง เช่น เช็ด ขูด ควรนำรถเข้าอู่ ให้ช่างที่มีความชำนาญดูแล มิฉะนั้นจะทำให้เกิดรอยด่างของสีรถได้
59. รถติดอย่าหยุดติดรถ
ปัญหารถติดบ้านเราเลี่ยงกันไม่พ้น ขณะขับรถไปต่อคันที่หยุดข้างหน้าควรเว้นช่วงไว้ให้ห่างพอที่รถจะเคลื่อนตัวไปซ้ายขวาได้ เป็นการเผื่อเอาไว้หากเกิดอุบัติเหตุรถชนท้ายด้านหน้ารถจะได้ไม่ถูกอัดก๊อปปี้เสียหายทั้งรถและชีวิต
60. ยางอะไหล่ต้องพร้อมเสมอ
รถเกือบทุกคันก็มักมียางอะไหล่ติดไว้เสมอ อย่าลืมที่จะตรวจสอบสภาพของยางอะไหล่บ้าง เป็นต้นว่าลมยางต้องมีความดันมาตรฐานเสมอ ไม่อ่อนจนเกินไป เพราะหากเกิดฉุกเฉินขึ้นมา ยางอะไหล่รั่วหรือแตก สถานการณ์จะเลวร้ายไปกันใหญ่
61. กรวยเติมน้ำมันฉุกเฉิน
น้ำมันแห้งสนิทกลางทาง ซื้อน้ำมันใส่แกลลอนมาแต่ดันลืมติดกรวยมาด้วย ไม่ยากเลย เพียงหาถ้วยใส่น้ำอัดลมพลาสติค ผ่าแล้วม้วนเป็นรูปกรวยมาเป็นที่เติม หรือใช้กระดาษทบกันหลาย ๆ ชั้น มาพับเป็นรูปกรวยก็ได้พอจะแก้ขัดไปครั้งหนึ่ง
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
หน่วยความจำหลัก
หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )
หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก
ฮาร์ดแวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ (Software)
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
ซอฟต์แวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์
บุคลากร (Peopleware)
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป
บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้
การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น
การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น
ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ
ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน
สารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหาารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังตาราง
มีความสัมพันธ์กัน (relevant) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
มีความทันสมัย (timely) ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate) เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน
มีความกระชับรัดกุม (concise) ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete) ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน
คุณสมบัติของสารสนเทศที่มีประโยชน์
การเปลี่ยนรูปจากข้อมูลสู่สารสนเทศ
กระบวนการทำงาน (Procedure)
กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
เลือกรายการ
ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
รับเงิน
รับใบบันทึกรายการ และบัตร
การใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ นั้นมักจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานด้วย จึงต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เช่น คู่มือสำหรับผู้ควบคุมเครื่อง (Operation Manual) คู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Manual) เป็นต้น
หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
หน่วยความจำหลัก
หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )
หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก
ฮาร์ดแวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ (Software)
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
ซอฟต์แวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์
บุคลากร (Peopleware)
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป
บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้
การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น
การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น
ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ
ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน
สารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหาารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังตาราง
มีความสัมพันธ์กัน (relevant) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
มีความทันสมัย (timely) ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate) เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน
มีความกระชับรัดกุม (concise) ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete) ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน
คุณสมบัติของสารสนเทศที่มีประโยชน์
การเปลี่ยนรูปจากข้อมูลสู่สารสนเทศ
กระบวนการทำงาน (Procedure)
กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
เลือกรายการ
ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
รับเงิน
รับใบบันทึกรายการ และบัตร
การใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ นั้นมักจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานด้วย จึงต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เช่น คู่มือสำหรับผู้ควบคุมเครื่อง (Operation Manual) คู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Manual) เป็นต้น
ประวัติในหลวง
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiRChe-LHvdo1BWsL21aLTX0tAq1KDjngtYJgVjdN9B1wpdl_rFVUV48jIxircIOQ0U0CrtnpQP3Q2-HyTYujN5yPWiFtyB8TDHSv4OixzgMoam3jXmmfoLpyNODS239rMtsSNwlZfHbYfx/s400/10.jpg)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระนามเดิมว่า “ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาล (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น ( MOUNT AUBURN) รัฐเมสสาชูเขตต์ ( MASSACHUSETTS) ประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อพระชนมายุได้ 5 พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร ต่อจากนั้นทรงเสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนเมียร์มองต์ (MERRIMENT) เมืองโลซานน์ (LASAGNA) ในปี พ.ศ. 2478 ได้ทรงเข้าศึกษาต่อที่ CEDE NOUBELLE DE LA SUES ROMANCE CHILLY ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่รับนักเรียนนานาชาติ ในระดับอุดมศึกษาทรงเข้าศึกษาในแผนกวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมืองโลชานน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมเชษฐาธิราช พระบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอ
ครั้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กราบบังคมทูลอัญเชิญ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระนามว่า “ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดีจักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมาพุเพียง 19 พรรษา เท่านั้น ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนารทนเรนทร และพระยามานวราชเทวี เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จะทรงบรรลุนิติภาวะ ทั้งยังทรงมีภารกิจในการศึกษาต่ออีกอย่างหนี้ด้วย ทรงเสด็จกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 และเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์แทนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ เนื่องด้วยทรงคำนึงถึงพระราชภารกิจในการปกครองประเทศเป็นสำคัญ
ระหว่างที่ประทับอยู่ต่างประเทศนั้น ได้ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิตติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอ-กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 และได้จัดพระราชพิธีอภิเษกสมรสขึ้นในปี พ.ศ. 2493 และสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี
ทรงได้เข้าพิธีพระบรมราชาภิเษกในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังจากพระราชะธีพระบรมราชาภิเษกแล้วได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทำการรักษาพระสุขภาพอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ตามคำแนะนำของแพทย์ชาวสวิตเซอร์แลนด์ และทรงนิวัตกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2494
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี มีพระโอรสและพระราชธิดารวม 4 พระองค์ ได้แก่
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
ประสูติเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับชาวต่างชาติ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ
ประสูติเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ต่อมาได้นับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาราช สยามมงกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์
ประสูติเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุรากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
ประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2500
พระราชประวัติการศึกษา
เมื่อพุทธศักราช 2475 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงเจริญพระชนมายุ 5 พรรษา ได้ทรงเข้ารับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียน มาแตร์เดอี ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ ขณะนั้น ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ การเมืองผันผวน ในเดือน กันยายน 2476 หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา จึงทรงนำพระธิดา พระโอรส เสด็จไปประทับ ณ กรุงโลซานน์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงรับการศึกษา
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงเข้ารับการศึกษา ชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียน เมียร์มองต์ ชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียน เอโกล นูแวล เดอ ลา สวิส โรมองต์ และโรงเรียน ยิมนาส กลาซีค กังโตนาล ตามลำดับ และทรงได้รับประกาศนียบัตร บาเชอลิเย เอ แลทร์ จากการศึกษา ดังกล่าวทรงรอบรู้หลายภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และ ละติน ต่อจากนั้น ทรงเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซานน์
ครั้นถึงวันที่ 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศสละราชสมบัติรัฐบาลจึงกราบทูลอัญเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งสืบสายราชสันตติวงศ์ ลำดับที่ 1 และมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งได้ทรงสถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงสถาปนา หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา เป็น พระราชชนนีศรีสังวาลย์ และทรงสถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยานิวัฒนาเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช ได้โดยเสด็จพระบรมเชษฐาธิราช สมเด็จพระราชชนนีและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ นิวัฒพระนคร เป็นครั้งที่ 2 เมื่อ เดือน พฤศจิกายน 2481 ประทับ ณ พระตำหนัก จิตลดารโหฐาน สวนจิตลดา เป็นเวลา 2 เดือน แล้วเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงโลซานน์
ต่อมาได้เสด็จนิวัติพระนครอีกครั้งเป็นครั้งที่ 3 เมื่อ 5 ธันวาคม 2488 ในครั้งนี้ ปวงชนชาวไทยในแผ่นดินที่พระมหากษัตริย์มิได้ประทับเป็นประมุขยาวนานกว่า สิบปี ต่างปลาบปลื้มปิติชื่นชมโสมนัส ที่ได้ชื่นชมพระบารมี สมเด็จพระยุวกษัตริย์ ซึ่งมีพระชนมพรรษา เพียง 20 พรรษา พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระชนมพรรษา 18 พรรษา
ทั้งสองพระองค์เสด็จเสด็จพระราชดำเนินเคียงคู่กันไปทรงเยี่ยมราษฎร ณ ที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง แต่ความชื่นชมโสมนัสนั้น ดำรงอยู่มินาน ครั้งถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง
พระราชประวัติเสด็จขึ้นครองราชย์
ขณะที่พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช พระชนมพรรษา 18 พรรษา รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีงาศ์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน นั้น ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และรัฐบาล ได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ บริหารราชกาลแผ่นดินแทนพระองค์ เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ และต้องทรงศึกษา ต่อ ณ ต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2498 ได้เสด็จพระราชดำเนิน กลับไปทรงศึกษา ต่อ ณ กรุงโลซานน์ แม้พระองค์จะทรงโปรดวิชาวิศวกรรมศาสตร์แต่เพื่อประโยชน์ในการปกครองประเทศได้ทรงเปลี่ยนมาศึกษา วิชาการปกครองแทน เช่น วิชากฎหมาย อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ ทรงศึกษา และฝึกฝนการดนตรีด้วยพระองค์เองด้วย
ใน พ.ศ. 2491 ระหว่างทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงขับรถยนต์ไปทรงร่วมงานที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ได้ทรงพบและมีพระราชหฤทัยสนิทเสน่หาใน หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาของหม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปารีส
ในปีเดียวกันนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างรุนแรง ทรงบาทเจ็บที่พระพักตร์พระเนตรขวา และพระเศียร ทรงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมอร์เซส์ โปรดฯให้หม่อมเจ้าราชวงศ์สิริกิติ์มาเฝ้าฯ ถวายการดูแลอย่างใกล้ชิด พระสัมพันธภาพจึงแน่นแฟ้นขึ้น และต่อมาได้ทรงหมั้น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2492 โดยได้พระราชทานพระธำมรงค์วงที่สมเด็จพระบรมราชนกหมั้นสมเด็จพระราชชนนี
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้รับการอภิบาลอย่างดียิ่งจากสมเด็จพระราชชนนี จึงมีพระปรีชาสามารถปราดเปรื่อง และมีพระจริยวัตรเปี่ยมด้วยคุณธรรมทุกประการ ซึ่งน้อมนำให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงดำรงสิริราชสมบัติเพียบพร้อมด้วยทศพิศราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรมและราชสังคหวัตถุ ทรงเจริญด้วยพระเกียรติคุณบุญญาธิการเจิดจำรัส ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อประโยชน์สุขของปวงชน เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญทุกทิศานุทิศในเวลาต่อมาตราบจนปัจจุบัน
พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย โปรดเกล้าให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2493 และเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรส กับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ที่วังสระปทุม โดย สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์ทรงจดทะเบียนสมรส ตามกฏหมายเช่นเดียวกับประชาชน ได้ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขึ้นเป็น พระราชินีสิริกิติ์
หลังจากนั้น ได้เสด็จไปประทับพักผ่อน ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน และที่นี่เป็นแหล่งเกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการแรกคือ พระราชทาน “ ถนนสายห้วยมงคล” ให้แก่ “ ลุงรวย” และชาวบ้านที่มาช่วยกันเข็นรถพระที่นั่งขึ้นจากหล่มดิน ทั้งนี้เพราะแม้ “ ห้วยมงคล” จะอยู่ห่างอำเภอหัวหินเพียง 20 กิโลเมตร แต่ไม่มีถนนหนทาง ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตมาก ถนนสายห้วยมงคล นี้จึงเป็นถนนสายสำคัญ ที่นำไปสู่โครงการในพระราชดำริ เพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พสกนิกรอีกจำนวนมากกว่า 2,000 โครงการในปัจจุบัน
พระบรมราชาภิเษก
วันที่ 5 พฤษภาคม 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
“ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”
และได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”
ในการนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศ สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสีเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
วันที่ 5 มิถุนายน 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ไปยังสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง เพื่อทรงรักษาพระสุขภาพ และเสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร เมื่อ 2 ธันวาคม 2494 ประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และพระที่นั่งอัมพรสถาน
ทั้งสองพระองค์มีพระราชธิดา และพระราชโอรส 4 พระองค์ดังนี้
1 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติเมื่อ 4 เมษายน 2494 ณ โรงพยาบาลมองซัวนี่ โลซานน์
2 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ประสูติเมื่อ 28 กรกฏคม 2495 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมา ทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ 28 กรกฏคม 2515
3 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลนโสภาคย์ ประสูติเมื่อ 2 เมษายน 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ภายหลังทรงได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2520
4 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติเมื่อ 4 กรกฏาคม 2500 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน
ทรงพระผนวช
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร ปฏิบัติพระศาสนกิจ เป็นเวลา 15 วัน ระหว่างนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ต่อมาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ในรัชกาลนี้ ได้ทรงพระกรุณาสถาปนาพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมชนกนาถ ขึ้นเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ทรงสถาปนา สมเด็จพระราชชนนี เป็น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงสถาปนา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา เป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลนาณิวัฒนา กรมหลวงนราธวาสราชนครินทร์ และทรงประกอบพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ใหม่ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2539 เพื่อให้สมพระเกียรติตามโบราณขัตติยราชประเพณี ทั้งนี้ด้วยพระจริยวัตรอันเปี่ยมด้วยพระกตัญญูกตเวทิตาธรรม อันเป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ พระปรมาภิไธยใหม่ที่ทรงสถาปนาคือ
“ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศนิวิฐ ทศพิศราชธรรมอุกษฏนิบุณ อดุลยกฤษฏาภินิหารรังสฤษฏ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตร โสภาคย์สรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฏศักตอัครนเรษราธิบดี เมตตากรุณา สีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฏาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”
พระราชกรณียกิจ
ตั้งแต่พุทธศักราช 2502 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระฉับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และ เอเชีย และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ทุกภาคทรงประจักษ์ในปัญหาของราษฎร ในชนบทที่ดำรงชีวิตด้วยความยากจน ลำเค็ญ และด้อยโอกาส ได้ทรงพระวิริยะอุตสาหะหาทางแก้ปัญหาตลอดมาตราบจนปัจจุบัน
อาจกล่าวได้ว่า ทุกหนทุกแห่งบนผืนแผ่นดินไทยที่รอยพระบาทได้ประทับลง ได้ทรงขจัดทุกข์ยากนำความผาสุกและทรงยกฐานะความเป็นอยู่ของราษฎร ให้ดีขึ้นด้วยพระบุญญาธิการ และพระปรีชาสามารถปราดเปรื่อง พร้อมด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์สุขของราษฏรและเพื่อความเจริญพัฒนาของประเทศชาติตลอดระยะเวลาโดยมิได้ทรงคำนึงประโยชน์สุขส่วนพระองค์เลย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานโครงการนานัปการมากกว่า 2,000 โครงการ ทั้งการแพทย์สาธารณสุข การเกษตร การชลประทาน การพัฒนาที่ดิน การศึกษา การพระศาสนา การสังคมวัฒนธรรม การคมนาคม ตลอดจนการเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรในชนบท ทั้งยังทรงขจัดปัญหาทุกข์ยากของ ประชาชนในชุมชนเมือง เช่น ทรงแก้ปัญหาการจราจร อุทกภัยและปัญหาน้ำเน่าเสีย ในปัจจุบัน ได้ทรงริเริ่มโครงการการช่วยสงเคราะห์และอนุรักษ์ช้างของไทยอีกด้วย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรากตรำพระวรกายทรงงานอย่างมิทรงเหน็ดเหนื่อย แม้ในยามทรงพระประชวร ก็มิได้ทรงหยุดยั้งพระราชดำริเพื่อขจัดความทุกข์ผดุงสุขแก่พสกนิกร กลางแดดแผดกล้า พระเสโทหลั่งชุ่มพระพักตร์และพระวรกาย หยาดตกต้องผืนปถพี ประดุจน้ำทิพย์มนต์ ชโลมแผ่นดินแล้งร้าง ให้กลับคืนความอุดมสมบูรณ์ นับแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ ตราบจนปัจจุบันนานกว่า 53 ปี แล้ว
แม้ในยามประเทศประสบภาวะเศรษฐกิจ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา ก็ได้พระราชทานแนวทางดำรงชีพแบบ “ เศรษฐกิจพอเพียง” และ “ ทฤษฎีใหม่” ให้ราษฎรได้พึ่งตนเอง ใช้ผืนแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประกอบอาชีพอยู่กินตามอัตภาพ ซึ่งราษฎรได้ยึดถือปฏิบัติเป็นผลดีอยู่ในปัจจุบัน
พระอัจฉริยภาพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานความรักอันยิ่งใหญ่แก่อาณาประชาราษฎร์ พระราชภารกิจอันหนักเพื่อประโยชน์สุขของอาณาประชาราษฎร์ ปรากฏเป็นที่ประจักษ์เทิดทูนพระเกียรติคุณทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวโลก จึงทรงได้รับการสดุดีและการทูลเกล้าฯถวายปริญญากิตติมศักดิ์เป็นจำนวนมาก ทุกสาขาวิชาการ ทั้งยังมีพระอัจฉริยภาพด้านดนตรีอย่างสูงส่ง ทรงพระราชนิพนธ์เพลงอันไพเราะนับแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบันรวม 47 เพลง ซึ่งนักดนตรีทั้งไทยและต่างประเทศนำไปบรรเลงอย่างแพร่หลาย เป็นที่ประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพจนสถาบันดนตรีในออสเตรเลีย ได้ทูลเกล้าฯถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์แด่พระองค์
นอกจากนั้นยังทรงเป็นนักกีฬาชนะเลิศรางวัลเหรียญทอง ในการแข่งขันกีฬาชีเกมส์ทรงได้รับยกย่องเป็น “ อัครศิลปิน” ของชาตินอกจากทรงพระปรีชาสามารถด้านดนตรีแล้ว ยังทรงสร้างสรรค์งานจิตกรรมและวรรณกรรมอันทรงคุณค่าไว้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาติ เช่น ทรงพระราชนิพนธ์แปลเรื่อง ติโตนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ และพระราชนิพนธ์เรื่อง ชาดก พระมหาชนก พระราชทานคติธรรมในการดำรงชีวิตด้วยความวิริยอุตสาหะ อดทนจนพบความสำเร็จแก่พสกนิกรทั้งปวง
ปวงชนชาวไทยต่างมีความจงรักภัคดีเป็นที่ยิ่งดังปรากฏว่า ในวาระสำคัญ เช่น ศุภวาระเถลิงถวัลยราชครบ 25 ปี พระราชพิธีรัชดาภิเษก 9 มิถุนายน 2514 พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ทรงดำรงค์สิริราชสมบัติยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ 2 กรกฎาคม 2531 มหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี 9 มิถุนายน 2539 และในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 นี้ รัฐบาลและประชาชนชาวไทย ได้พร้อมใจกันจัดงานเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล ด้วยความกตัญญูกตเวที สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม อย่างสมพระเกียรติทุก
บุคคลสำคัญต่อชาติ
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjXvMJWzib4e3pA6Zmd0Tl0P6iCE6bn1LNp3AhhRCD0lZb_74iCOm5aGM1Rcy3re1ESfoYfwB4UX2Y9WaJDbZI3Z5ML5203YmbdSJ4BB-yRAIU0npxmvXsUYTXpv_CWD6TbBG-ppOYWRCk_/s400/BT5ASCAZVXA2ECAYD2INJCAL84SEZCA2FC5S8CA0T32QOCA4ACI3XCAADTSUFCABPN0JPCAAFNF1RCACP5ZHJCA0K3T3DCA7LCHNKCAX1VUHGCA673AJ6CALAAMCWCABC6NDICA92XZ76CAEBNRBICA8TBCUC.jpg)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ต่อมาทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ต่อมาทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมารเมื่อ พ.ศ. 2437 นับเป็นพระองค์ที่ 2 และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จไปทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ
พระราชกรณียกิจสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ด้านการเมืองการปกครอง
1.1) ทรงสร้างความรู้สึกชาตินิยมให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน โดยเน้นความจงรักภักดีต่อ "ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์" ทรงใช้วิธีการสร้างสัญลักษณ์เพื่อเป็นศูนย์รวมใจและเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความรัก ความสามัคคี ความเสียสละ ความสำนึกในหน้าที่พลเมืองที่ดีของชาติ และสำนึกในความเสียสละของบรรพบุรุษ เช่น ทรงสร้างธงไตรรงค์เป็นธงประจำชาติ ทรงกำหนดให้มีวันสำคัญ บุคคลสำคัญของชาติ เช่น โปรดเกล้า ฯ ให้วันที่ 6 เมษายนเป็นวันชาติ เรียกว่า "วันจักรี" ตามแบบอารยประเทศที่มีวันชาติของตน เป็นต้น
1.2) ทรงประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 โดยเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งต่อมาเป็นฝ่ายชนะสงคราม ทำให้ไทยได้รับผลดี คือ ได้ยกเลิกสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมกับเยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี ประเทศไทยได้รับการยกย่องให้มีฐานะเท่าเทียมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ได้เป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติ และถือเป็นโอกาสดำเนินการแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมที่ผูกมัดไทยมานานนับตั้งแต่สนธิสัญญาเบาว์ริง พ.ศ. 2398
2. ด้านสังคมและวัฒนธรรม
2.1) ทรงสร้างความเป็นสากลให้แก่ชาติไทย โดยนำประเทศเข้าสู่สังคมนานาชาติในทางวัฒนธรรม เช่น ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุล พ.ศ. 2456 เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นชาติที่มีอารยธรรม เพื่อปลูกฝังให้ชาวไทยมีความรู้สึกสำนึกและภาคภูมิใจในชาติ ในวงศ์ตระกูล ทรงประกาศใช้คำนำหน้านาม คือ นาย นาง นางสาว เด็กหญิง เด็กชาย ทรงให้ความสำคัญกับสตรีมากขึ้น ทรงเรียกร้องให้ชาวไทยตระหนักถึงฐานะและสิทธิของสตรี ทรงดำเนินการต่าง ๆ เช่น ส่งเสริมการศึกษาของสตรีโดยตั้งโรงเรียนให้ฝึกหัดครูสตรี แล้วส่งออกไปสอนในชนบทต่าง ๆ เปิดโอกาสให้สตรีเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมเท่าเทียมบุรุษ เช่นเดียวกับสตรีในอารยประเทศ กำหนดให้ข้าราชการในราชสำนักจดทะเบียนครอบครัวและเคหสถานเพื่อให้ครอบครัวเกิดความเรียบร้อยสงบสุข และเป็นการยกฐานะของภรรยาให้ชัดเจนขึ้น ทรงเปลี่ยนธงชาติใหม่จากธงรูปช้างเป็นธงไตรรงค์ และทรงเปลี่ยนการนับเวลาตามแบบสากล คือ จากเดิมวันใหม่หรือย่ำรุ่งของไทย เริ่มในเวลา 6 นาฬิกา เปลี่ยนเป็นเริ่มวันใหม่ตั้งแต่หลัง 24 นาฬิกา เป็นต้น
2.2) ทรงตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (คือ วชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน) ใน พ.ศ. 2554 สถาปนา "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เป็นมหาวิทยาลัย พระราชทานนามว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ใน พ.ศ. 2459 และทรงประกาศให้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 เป็นการเริ่มการศึกษาภาคบังคับ
2.3) ทรงมีงานพระราชนิพนธ์ประเภทต่าง ๆ จำนวนมาก ทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน บทความ สารคดี นิทาน บทละคร รวมทั้งบทพระราชนิพนธ์ภาษาต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส และบาลี ทั้งที่พระราชนิพนธ์เองและทรงแปล ทรงใช้ทั้งพระนามจริงและพระนามแฝง เช่น วชิราวุธ อัศวพาหุ สุครีพ พันแหลม รามจิตติ ศรีอยุธยา บทพระราชนิพนธ์มีหลากหลายประเภท เช่น บทความปลุกใจในหนังสือพิมพ์ บทละคร โคลง กลอน เพื่อสร้างทัศนคติหรือค่านิยม ความคิด ความประพฤติ ศีลธรรมจรรยา การเมือง สังคม ความรัก การชมธรรมชาติ
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
ศิริพร ดาบเพชร คมคาย มากบัว และประจักษ์ แป๊ะสกุล.ประวัติศาสตร์ไทย ม.4-ม.6. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์
ระบบE-mail
e-mail ผู้รับ ในการส่งแบบ To, CC, BCC สามารถเลือก e-mail ของผู้ใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้ จากปุ่ม […] หรือพิมพ์เพิ่มเติมเข้าไปเองได้
1
2
ปุ่มเลือกต้นแบบกลุ่มผู้รับจากการสร้างต้นแบบ (จากปุ่มหมายเลข 6)
3
ชื่อเรื่อง และบันทึกงานจากระบบ หากไม่ต้องการแสดงใน e-mail สามารถลบเองได้
4
ข้อความ สามารถพิมพ์เพิ่มเติมเป็นส่วน Message ของ e-mail ได้
5
เอกสารแนบในระบบ จะเป็น attachment ไปกับ e-mail
6
ปุ่มบันทึกรูปแบบกลุ่มผู้รับ e-mail เมื่อเลือก หรือกรอกผู้รับแล้ว สามารถบันทึกเก็บไว้เรียกใช้ได้
7
ส่ง/ยกเลิก สำหรับส่ง e-mail
ผู้ใช้ สามารถส่งเอกสารเป็น e-mail ได้ ดังนี้
8 กรอก e-mail ผู้รับ โดย
1. กรอก e-mail ลงไปเอง
2. เลือกชื่อผู้รับซึ่งใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ จากปุ่ม […] จะปรากฏหน้าต่างสำหรับค้นหา e-mail หรือหากกดปุ่มค้นหาเลย จะแสดงรายชื่อ e-mail ทั้งหมด สามารถเลือกลบ e-mail ที่ไม่ต้องการส่งถึงได้
1
2
ปุ่มเลือกต้นแบบกลุ่มผู้รับจากการสร้างต้นแบบ (จากปุ่มหมายเลข 6)
3
ชื่อเรื่อง และบันทึกงานจากระบบ หากไม่ต้องการแสดงใน e-mail สามารถลบเองได้
4
ข้อความ สามารถพิมพ์เพิ่มเติมเป็นส่วน Message ของ e-mail ได้
5
เอกสารแนบในระบบ จะเป็น attachment ไปกับ e-mail
6
ปุ่มบันทึกรูปแบบกลุ่มผู้รับ e-mail เมื่อเลือก หรือกรอกผู้รับแล้ว สามารถบันทึกเก็บไว้เรียกใช้ได้
7
ส่ง/ยกเลิก สำหรับส่ง e-mail
ผู้ใช้ สามารถส่งเอกสารเป็น e-mail ได้ ดังนี้
8 กรอก e-mail ผู้รับ โดย
1. กรอก e-mail ลงไปเอง
2. เลือกชื่อผู้รับซึ่งใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ จากปุ่ม […] จะปรากฏหน้าต่างสำหรับค้นหา e-mail หรือหากกดปุ่มค้นหาเลย จะแสดงรายชื่อ e-mail ทั้งหมด สามารถเลือกลบ e-mail ที่ไม่ต้องการส่งถึงได้
การส่งE-mail
-mail Address
เรื่องของจดหมายอิเลคทรอนิกส์
หลาย ๆ ท่านอาจคุ้นเคยกับการใช้ Email มาบ้างแล้ว แต่อีกหลายท่านก็คงยังไม่เคยใชั ดังนั้นเราลองมาศึกษาพร้อม ๆกับดูซิว่า Emai มีกี่แบบและมีวิธีการใช้งานอย่างไรบ้าง
E-Mail (Electronic Mail) - จดหมายอิเลคทรอนิกส์ คืออะไร
คือจดหมายอิเลคทรอนิกส์ ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์บางแห่งใช้เฉพาะภายใน บางแห่งใช้เฉพาะภายนอกองค์กร (สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ internet) การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม word จากนั้นก็คลิกคำสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า Email Address เป็นหลักในการรับส่ง
รูปแบบชื่อ Email Address yourname@it-guides.com
1. yourname คือ ชื่อของคุณ สามารถตั้งเป็นชื่ออะไรก็ได้
2. เครื่องหมาย "@" สำหรับกั้นระหว่าง ชื่อ กับ ชื่อเวปไซท์ หรือ domain name
3. it-guides.com คือ ชื่อเวปไซท์ หรือ domain name
ชนิดของการรับส่ง E-mail
1. รับส่งโดยใช้โปรแกรม Email โดยเฉพาะ เช่น Outlook Express, Eudora
2. รับส่งโดยผ่าน Web site เช่น www.yahoo.com, www.hotmail.com
3. รับส่งโดยผ่าน Web Browser เช่น Netscape, IE เป็นต้น
การรับส่ง Email โดยปกติจะต้องมีการกำหนด Configuration เพื่อกำหนด Incoming Mail และ Outgoing Mail Server ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากในการ check mail เนื่องจากบางคนไม่ได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นของตนเอง หรือบางคนอาจจะต้องเดินทางบ่อย ๆ ทำให้ไม่ค่อยสะดวก ดังนั้น แบบที่ 2 คือ check email ผ่าน Web site จึงมีผู้นิยมมากที่สุดในโลก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องกำหนด Configuration อะไรทั้งสิ้น แค่เพียงคุณสมัครเป็นสมาชิกกับ Web site ที่ให้บริการ แค่จำชื่อ User และ Password เท่านั้น คุณก็สามารถจะตรวจสอบ Email ได้จากที่ต่าง ๆ ทั่วโลก... (การลงทะเบียนเพื่อขอ E-mail แบบที่ 2 นี้จะเป็นการให้บริการฟรี!)
Web site ที่ให้บริการ Email ฟรี ได้แก่
เรื่องของจดหมายอิเลคทรอนิกส์
หลาย ๆ ท่านอาจคุ้นเคยกับการใช้ Email มาบ้างแล้ว แต่อีกหลายท่านก็คงยังไม่เคยใชั ดังนั้นเราลองมาศึกษาพร้อม ๆกับดูซิว่า Emai มีกี่แบบและมีวิธีการใช้งานอย่างไรบ้าง
E-Mail (Electronic Mail) - จดหมายอิเลคทรอนิกส์ คืออะไร
คือจดหมายอิเลคทรอนิกส์ ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์บางแห่งใช้เฉพาะภายใน บางแห่งใช้เฉพาะภายนอกองค์กร (สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ internet) การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม word จากนั้นก็คลิกคำสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า Email Address เป็นหลักในการรับส่ง
รูปแบบชื่อ Email Address yourname@it-guides.com
1. yourname คือ ชื่อของคุณ สามารถตั้งเป็นชื่ออะไรก็ได้
2. เครื่องหมาย "@" สำหรับกั้นระหว่าง ชื่อ กับ ชื่อเวปไซท์ หรือ domain name
3. it-guides.com คือ ชื่อเวปไซท์ หรือ domain name
ชนิดของการรับส่ง E-mail
1. รับส่งโดยใช้โปรแกรม Email โดยเฉพาะ เช่น Outlook Express, Eudora
2. รับส่งโดยผ่าน Web site เช่น www.yahoo.com, www.hotmail.com
3. รับส่งโดยผ่าน Web Browser เช่น Netscape, IE เป็นต้น
การรับส่ง Email โดยปกติจะต้องมีการกำหนด Configuration เพื่อกำหนด Incoming Mail และ Outgoing Mail Server ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากในการ check mail เนื่องจากบางคนไม่ได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นของตนเอง หรือบางคนอาจจะต้องเดินทางบ่อย ๆ ทำให้ไม่ค่อยสะดวก ดังนั้น แบบที่ 2 คือ check email ผ่าน Web site จึงมีผู้นิยมมากที่สุดในโลก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องกำหนด Configuration อะไรทั้งสิ้น แค่เพียงคุณสมัครเป็นสมาชิกกับ Web site ที่ให้บริการ แค่จำชื่อ User และ Password เท่านั้น คุณก็สามารถจะตรวจสอบ Email ได้จากที่ต่าง ๆ ทั่วโลก... (การลงทะเบียนเพื่อขอ E-mail แบบที่ 2 นี้จะเป็นการให้บริการฟรี!)
Web site ที่ให้บริการ Email ฟรี ได้แก่
วงจรคอมพิวเตอร์
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEilK-czekuEU-PVDKT7T4evG6cb5QI4MBv9tkMDPpqS3hbUazpfuoB6dIk1qgb7bXCGwI-NdHi-v4xIKhoIOFlav044I6eLdnxMYtAVBKG-7sqkstkpC-g-7ZbV24_-h3tKiXdqewPej4_w/s400/procom41.gif)
คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electrinic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็ว
อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นงานชนิดใดก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle) คือ
รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น คีบอร์ด หรือ เมาส์
ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ
แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ
เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต
แสดงขั้นตอนการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์
คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่นิยมนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ มากมาย ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถทำงานได้สารพัด แต่ผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์จะทราบว่า งานที่เหมาะกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างยิ่งคือการสร้าง สารสนเทศ ซึ่งสารสนเทศเหล่านั้นสามารถนำมาพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ ส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือจัดเก็บไว้ใช้ในอนาคนก็ได้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะมีคุณสมบัติต่าง ๆ คือ
ความเร็ว (speed) คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้สามารถทำงานได้ถึงร้อยล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที
ความเชื่อถือ (reliable) คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้จะทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างไม่มีข้อผิดพลาด และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
ความถูกต้องแม่นยำ (accurate) วงจรคอมพิวเตอร์นั้นจะให้ผลของการคำนวณที่ถูกต้องเสมอหากผลของการคำนวณผิดจากที่ควรจะเป็น มักเกิดจากความผิดพลาดของโปรแกรมหรือข้อมูลที่เข้าสู่โปรแกรม
เก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้ (store massive amounts of information) ไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จะมีที่เก็บข้อมูลสำรองที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งพันล้านตัวอักษร และสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้าน ๆ ตัวอักษร
ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว (move information) โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถส่งพจนานุกรมหนึ่งเล่มในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลคนซีกโลกได้ในเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งวินาที ทำให้มีการเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกันทั่วโลกในปัจจุบันว่า ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)
ผู้ที่สนใจศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์ จะต้องศึกษาหลักการทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ รวมทั้งจะต้องศึกษาถึงผลกระทบจากคอมพิวเตอร์ต่อสังคมในวันนี้ ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ โดยในแง่บวกนั้นจะมองเห็นได้ง่ายจากสภาพแวดล้อมทั่วไป นั่นคือทำให้สามารถทำงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น เริ่มตั้งแต่การจัดเก็บเอกสาร การพิมพ์จดหมาย การจัดทำหนังสือพิมพ์และวารสารต่าง ๆ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การจ่างเงินซื้อสินค้า ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ และในทางการแพทย์อื่น ๆ อีกมากมาย
ในแง่ลบก็มีไม่น้อย เช่น
โรงงานผลิตอุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นต้องใช้สารเคมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้เกิดมลพิษต่าง ๆ มากมาย
ผู้ใช้อาจมีอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ เช่น อาจมีการปวดหลังไหล่ที่เกิดจากการนั่งอยู่หน้าเครื่องนาน ๆ หรืออาจเกิดอาการ Carpal Tunnel Syndrome (CTS) ซึ่งเป็นอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากเส้นประสาทบริเวณข้อมูลถูกกดทับเป็นเวลานาน ๆ โดยอาจเกิดจากการใช้คีย์บอร์ดหรือเมาส์ รวมทั้งอาจมีอันตรายจากรังสีออกมาจากจอคอมพิวเตอร์ด้วย
ถ้าคอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดในระบบที่มีความสำคัญมาก ๆ อาจเป็นอันตรายกับชีวิตมนุษย์ได้ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการจราจรทางอากาศ เป็นต้น
ระบบGPRS
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh-Q2-3ceBRL-Qa5ms4Zdaggq-w5Y8TCVHJB2IjjpHNFO7B3KOvGUJhfU4QqLXCx_jed8DOwG6VU_tviZdkiVChXD5omlLpJJdAZTqK9yH0rYBV1a9qEWjmxgCiT9PayiaIufsAV4-cMYEU/s400/5AE5GCALOG9FCCACC8CSACAT640Q1CAK4LIOQCAZBPICOCAX7NMQ1CAV7SKT7CABL1AKLCAACUUGOCAHOT1BWCAJPRZ2JCANN6KDBCAGPCPHOCA3I6XDACATLEC9ZCA0KY89RCA68KPIOCAXNA6NBCA6HQNNG.jpg)
1: Short Message Service ( SMS )
- การใช้เทคโนโลยี่ SMS หรือการส่งข้อความ ที่กำลังได้รับความนิยมกันทั้วไปมากขึ้นทุกวันในบ้านเราขณะนี้
- Sim Tool Kit โดยใช้ Sim Card ที่ทางผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อน
ที่ได้พัฒนาและเพิ่มเติมบริการไว้ให้ใช้งานและบริการต่างๆง่ายมากยิ่งขึ้น
ดังในบ้านเราที่เห็นอยู่เป็นต้นว่า บริการ mobileLIFE จากเอไอเอส
2 : Circuit Switched Data ( CSD )
- WAP หรือ Wireless Application Protocol ที่สามารถ Connect กับโลก
ของข่าวสารข้อมูลกับ Wap Site ต่างๆ ได้ทั้วโลกแม้กระทั้งในรูปแบบของ Wireless Internet
แต่อย่างไรก็ตามทางผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ยังเล็งเห็นว่า การโอนถ่ายสื่อสารข้อมูลของ
โทรศัพท์มือถือเคลื่อนที่ยังมีข้อจำกัดในด้านความเร็วการรับส่ง (9.6 - 28.8 kbps)
และรวมไปถึงปริมาณข้อมูลที่สามารถทำการรับ
จึงได้เริ่มพัฒนาแก้ไขเพื่อที่จะเพิ่มเติมบริการตรงส่วนบกพร่องนี้ให้ดีขึ้น
จึงได้เริ่มนำเทคโนโลยี่ทีเรียกว่า GPRS ( General Packet Radio Service)
3 : General Packet Radio Service ( GPRS )
โดยคุณสมบัติเด่นหลักๆ ของระบบ GPRS นี้เห็นจะมีคือ
- การโอนถ่ายข้อมูลที่มีความสามารถในการ รับ-ส่งผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้สูงถึง 9 - 40 kbps ซึ่งจะทำให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลที่เป็น VDO Mail หรือ ภาพเคลื่อนไหวต่างๆได้ พร้อมทั้งเชื่อมต่อ
กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมรวมถึงการ Down load/ Up load ได้ง่ายยิ่งขึ้น
- Always On การเชื่อมต่อเครือข่ายและโอนถ่ายข้อมูลสามารถดำเนินต่อไป แม้ในขณะที่มีสายติดต่อเข้ามาก็ตาม จึงทำให้การโอนถ่ายข้อมูลไม่ขาดตอนลง
- Wireless Internet ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Terminal เช่น PDA หรือ Note Book
สามารถที่จะโอนถ่ายข้อมูลได้เร็วขึ้นจากที่เคยเป็นอยู่
ว่าด้วยเรื่อง GPRS คืออะไร ? GPRS เป็นตัวย่อจากภาษาอังกฤษ " General Packet Radio
Service " บริการต่างๆที่ผ่านทาง Radio Interface ในระหว่างผู้ใช้ต้นทางและปลายทางซึ่งไม่ว่าจะเป็น
Application Server หรือแม้แต่ตัวโทรศัพท์เคลือนที่เองก็ตามจะถูกแปลงเป็น Packet ซึ่งมี IP Address
กำกับอยู่ภายใน ซึ่งจะไม่เหมือนเดิมที่เคยใช้กัน ( เดิมที่เคยใช้กันคือระบบ-Radio Frame ทีใช้กันใน
การส่งข้อมูลเสียงพูดบนระบบ GSM )
อย่างไรก็ดี GPRS ไม่ได้เป็นลักษณะที่จะสามารถให้บริการได้ด้วยตัวของระบบเอง แต่ตัวมันเองเป็นเพียงแค่ Bearer ให้กับ Application ต่างๆ ที่ต้องการใช้ความเร็วที่เพิ่มมากกว่าปกติในระบบ GSM ที่เคยรองรับอยู่เดิมมาก่อน และระบบ GPRS จะต้องต่อไปยัง Packet Data Network ที่เป็น IP Network อีกต่อหนึ่ง
ดั้งนั้นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่จะเปิดให้ใช้ในระบบ GPRS ได้นั้นจะต้องทำการติดตั้งระบบเครือข่าย ที่ประกอบด้วยหน่วยหลักๆ 2หน่วยด้วยกันคือ
1 / SGSN(Serving GPRS Supports Node)
2 / GGSN(Gateway GPRS Support Node)
โดยทั้งสองหน่วยหลักขององค์ประกอบนี้จะถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยมีอุปกรณ์อื่นๆ เป็นตัวช่วย
เพื่อไปร่วมใช้Radio Interface จาก Base Station โดยผ่านตัวควบคุมที่เรียกว่า PCU (Packet
Control Unit ) ที่ติดตั้งไว้ที่ BSC (Base Station Controller) อันทั้งนี้อาจมองได้ว่า GPRS
Network เป็นอีก Network หนึ่ง ซึ่งเข้าถึง Mobile Phone ผ่านทาง Radio Interface
ของระบบ GSM Network เดิม โดยเป็นบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการรับส่งข้อมูลเป็น Packet โดยตรง
การส่งmms
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgApraZBTdFXEb4Wn16QD-zwlU2eESPhWHOt63XGa65m_JzoPQiwujajz0d0CFEF_CQwrr3kSDTajxguO0n0dCqyeTrLj6tF1fIMSdup8kJ3Tt6K_pew1ZG_f-KoiF9_PSOykP9QLL9_13W/s400/apple-2009-iphone-3-1392-rm.jpg)
AIS ก็กด 1175 ให้ Call Center แนะนำ หรือไม่ก็กด *119 ตั้งค่าผ่านระบบอัตโนมัติ
โดยศูนย์จะส่งการตั้งค่าผ่าน SMS มาให้ คุณ Save เอาไว้ก็เป็นอันใช้ได้
หรือจะส่งผ่านเว็บที่ www.mobilelife.co.th
------------
เริ่มต้นการลงทะเบียนการใช้งาน MMS
ให้ส่งรูปในเครื่องแบบ MMS ไปที่หมายเลข 9909
จากนั้นจะได้รับ sms ยืนยันการใช้งาน
-----------
AIS : จะส่งในระบบกันได้เฉพาะ Advanced และ One2Call นะครับ GSM1800 ส่งและรับไม่ได้
นอกระบบ ก็ส่ง-รับได้แค่ Dtac ระบบอื่นยังไม่มีการ Connect กัน
ค่าจัดส่ง...ครั้งละ 6 บาท ไม่รวมภาษี
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhZN4e69rArl9Bb3doBvh5j3TES8l0bhecHYP56zVJYodrMjSk_S8p3KeMK07ZEDQtKNdG1rr8TJ4rM4X2xtl8fH7ZaeYNIAeHlUdcgeJhyphenhyphensR37w0LYTtAmHJ0oOuFmLCqHVaMPfQo0N4ga/s320/422B6_mms.jpg)
1. หลังจากทำการสั่งซื้อ Package SMS เข้าสู่เมนู Account
2. Login เข้าสู่ระบบ โดยใส่อีเมลล์และรหัสผ่านของท่าน
3. เมื่อ Login เข้าสู่ระบบแล้ว ท่านจะพบหน้าจอดังรูปที่ 3 เลือกเมนูส่งข้อความ
4. วิธีการส่งข้อความ
ระบบจะแจ้งจำนวนเครดิตที่ท่านสามารถส่งข้อความได้ที่นี่
วิธีการส่งข้อความ
ขั้นที่ 1 ใส่ชื่อผู้ส่ง (ภาษาอังกฤษเท่านั้น) ในช่อง sender name
ขั้นที่ 2 ใส่เบอร์โทรปลายทางที่ท่านต้องการในช่อง send to : รหัสเมือง + รหัสประเทศ + เบอร์โทรศัพท์
ตัวอย่าง : กรณีภายในประเทศไทย หมายเลขโทรศัพท์ (081) 123-4567 ใส่หมายเลข 0811234567
ขั้นที่ 3 ท่านสามารถเลือกรายชื่อและเบอร์ที่ท่านต้องการได้จากเมนู Phonebook
ขั้นที่ 4 ในกรณีที่ท่านต้องการส่งเป็นกลุ่ม ท่านสามารถเลือกกลุ่มรายชื่อได้จากเมนู Group
ขั้นที่ 5 พิมพ์ข้อความที่ท่านต้องการส่งข้อความลงในช่อง Message
ขั้นที่ 6 ถ้าท่านส่งข้อความภาษาไทยเลือก Thai
ถ้าท่านส่งข้อความภาษาอังกฤษเลือก English
5. วิธีการ Add รายชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ปลายทางลงใน PhoneBook
หลังจากเลือกเมนู PhoneBook คลิ๊กเลือก Add
ขั้นที่ 1 ใส่รายชื่อในช่อง Display Name
ขั้นที่ 2 ใส่หมายเลขโทรศัพท์ปลายทางในช่อง Mobile
ขั้นที่ 3 หากท่านต้องการนำรายชื่อเข้ากลุ่มคลิ๊กเลือกชื่อกลุ่มที่ Group
ขั้นที่ 4 คลิ๊กที่นี่
6. วิธีการ Add Group Name คลิ๊กเลือก Add ในช่ง Manage Group
ขั้นที่ 1 ใส่รายชื่อกลุ่มที่ต้องการในช่อง Group Name
ขั้นที่ 2 ใส่คำอธิบายรายละเอียดชื่อกลุ่มลงในช่อง Description หลังจากนั้นคลิ๊กที่ Add
7. วิธีการ Import File หลังจากคลิ๊กที่ Import ในเมนู Manage Phonebook แล้วจะปรากฏหน้าจอดังรูป
ขั้นที่ 1 คลิ๊ก Browse เลือกไฟล์ที่ท่านมีอยู่
หมายเหตุ : - กรุณาเลือกไฟล์ที่เป็น .txt หรือ .csv เท่านั้น
- รูปแบบของไฟล์ข้อมูลจะต้องประกอบด้วย ชื่อ, หมายเลขโทรศัพท์ ดังตัวอย่างดังรูปข้างต้น
ขั้นที่ 2 คลิ๊กเลือกรายชื่อกลุ่มที่ท่านต้องการหลังจากนั้นคลิ๊ก Import รายชื่อในไฟล์ของท่านจะเข้ามาอยู่ใน PhoneBook ดังรูปที่ 8
8. การดูรายชื่อทั้งหมด คลิ๊กเลือกที่ View จะปรากฏหน้าจอดังรูปที่ 9
9. การดูรายชื่อกลุ่มทั้งหมด คลิ๊ก View ในช่องของ Manage Group
ประโยชน์คอมพิวเตอร์
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjiEcOh9-LvwdUwj-1HYUVQSFdSFAUA9zf329cinv7NlFbZPwgsFjC181qSI0tT1ZAQ1K7Ykzpk6k5OmtCA2TTo4TVfWViRDazJP1XfNZd4Fdf3M-0pebaEKNYnLnQd_vwrtGqypuoamfFn/s320/001.jpg)
1.ประโยชน์ด้านการศึกษา ใช้เพื่องานด้านการเรียนการสอนในหลายรูปแบบ เช่นการ
นำบทเรียน การผลิตสื่อการสอน การใช้ซีดีรอมสำหรับการเรียนรู้ เกมเพื่อการศึกษาหรือ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2.ด้านความบันเทิง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความสนุกสนานบันเทิง เช่น เล่นเกม
ฟังเพลงชมภาพยนต์
3.ด้านการเงิน การธนาคาร ใช้ในการเบิก - ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การโอนเงินด้วย
ระบบด้วยอัตโนมัติโดยโอนเงินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ การดูข้อมูลตลาดหุ้นการทำกราฟแสดงยอดขาย
4.ด้านการสื่อสารและคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต สื่อสาร
ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมการติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์ การคมนาคมทางเรือ เครื่องบิน
และรถไฟฟ้า
5.ด้านศิลปะและการออกแบบ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวาดรูปการ์ตูนออกแบบ
งานและการสร้างภาพกราฟิกหรือการตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์
6.ด้านการแพทย์์ ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานด้านการแพทย์หลายด้าน
เช่น การเก็บประวัติคนไข้ การใช้ทดลองประกอบการวินิจฉันของแพทย์ใช้ในการตรวจ
เลือก ตรวจปัสสาวะ การผ่าตัดหัวใจการตรวจสอบห้องพักผู้ป่วยว่าว่างหรือไม่ การ
ควบคุมแสงเลเซอร์การเอ็กซ์เรย์ การตรวจคลื่อนสมองคลื่นหัวใจ เป็นต้น
7.ด้านวิทยาศาสตร์และเคมี ใช้ในการวิเคราะห์สูตรทางเคมีการคำนวณสูตรทาง
วิทยาศาสตร์การค้นคว้าทดลองในห้องวิทยาศาสตร์ การคำนวณเกี่ยวกับระบบสุริยะ
จักรวาลและการเกิดปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงดาวต่างๆ
8. ประโยชน์ด้านการคำนวณ การคำนวณ หมายถึง การบวก ลบ คูณ หารหรือการหาคำตอบด้วยการคำนวณตัวเลข ใช้มากในงานด้านบัญชี การคำนวณราคาสินค้า เช่น เวลาที่นักเรียนไปซื้อสินค้าในร้านมินิมาร์ท นักเรียนจะเห็นพนักงานเก็บเงินของร้านใช้เครื่องคำนวณราคาสินค้ารวมเงินค่าสินค้าให้เราและคิดเงินทอนให้อย่างสะดวกโดยใช้คอมพิวเตอร์
9. ประโยชน์ด้านการออกแบบและสร้างงานศิลปะ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวาดรูปการ์ตูนการออกแบบงานและการสร้างภาพกราฟิกหรือการตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์
10. ประโยชน์ด้านการพิมพ์เอกสาร การพิมพ์เอกสาร เช่น รายงาน หนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร การ์ดวันเกิด การ์ดอวยพรปีใหม่ ฯลฯ ล้วนแต่ใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำทั้งสิ้นเพราะสามารถออกแบบได้สวยงามและประหยัดค่าใช่จ่ายในการพิมพ์
ข้อมูลจาก
- http://gotoknow.org/blog/wongpet2511/30198
- http://www.joseph.ac.th
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)