วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

(การออกแบบเทคโนโลยี)




(การออกแบบเทคโนโลยี)


คำอธิบาย แม่แบบการออกแบบนี้รวมไดอะแกรมและตารางตัวอย่างบนภาพนิ่งแต่ละภาพใน PowerPoint คุณจึงสามารถสร้างงานนำเสนอพร้อมด้วยไดอะแกรมและตารางที่กลมกลืนกับการออกแบบงานนำเสนอได้อย่างรวดเร็ว
















วันพุธที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การสร้างเอกสารใหม่

การสร้างเอกสารใหม่


1.การตั้งค่าหน้ากระดาษ ให้คลิกที่ เมนูแฟ้ม เลื่อนเมาส์ลงมาที่ตั้งค่าหน้ากระดาษ จะปรากฏแถบคำสั่ง 4 แถบ คือ ขอบกระดาษา , ขนาดกระดาษ , แหล่งกระดาษและเค้าโครง
........ขอบกระดาษ ค่าปกติของโปรแกรมที่กำหนดไว้ ดังภาพ2.การสร้างเอกสารใหม่ ............โดยปกติเมื่อเปิดใช้งานโปรแกรม Word97 โปรแกรมจะสร้างแฟ้มเอกสารใช้ให้เองอัตโนมัติ ชื่อแฟ้ม เอกสาร1(ยังไม่มีการบันทึก) ผู้ใช้สามารถสั่งบันทึกในชื่อใหม่ได้ภายหลัง ตามความต้องการ
.......คำสั่งในการสร้างเอกสารใหม่ มีหลายแบบ ได้แก่ กดแป้น Ctrl+N หรือ คลิกที่แฟ้ม > สร้าง หรือ คลิกปุ่มไอคอน .......เมื่อใช้คำสั่งสร้างเอกสาร โดยกดแป้น Ctrl+N โปรแกรมจะเปิดหน้าเอกสารใหม่ให้อัตโนมัติ ชื่อ เอกสาร2 หรือ เอกสาร3 ตามลำดับ .......หากคลิกที่แฟ้3.การบันทึกเอกสารใหม่ ...หมายถึง การบันทึกเอกสารครั้งแรก ซึ่งการบันทึกครั้งแรก จะต้องตั้งชื่อเอกสารตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยพิมพ์ทับ ลงในช่อง ชื่อแฟ้ม ซึ่งโปรแกรมตั้งชื่อให้เองโดยอัต.การเปิดเอกสาร ให้ใช้เมาส์คลิกไอคอน หรือ คลิกเมนู แฟ้ม > เปิดโนมัติแล้ว (ดังภาพ คือ Doc2) ม > สร้าง จะปรากฏหน้าต่างคำสั่ง โดยมีแถบ 4 แถบ ดังภาพ5.การปิด / ย่อแฟ้มเอกสาร หน้าต่างของแฟ้มเอกสารจะมีปุ่มควบคุม (Control Menu)


1.ชุดปุ่มควบคุมแถวบน จะเป็นชุดควบคุม โปรแกรม
2. ชุดปุ่มควบคุมแถว 2 จะเป็นชุดควบคุม แฟ้มเอกสาร

ปุ่มย่อ ลง Task bar (Minimize)

....การย่อโปรแกรม ลง แถบงานหรือ Task bar เพื่อสะดวกสำหรับการสลับใช้โปรแกรมอื่นๆ เช่น การเรียกใช้งานโปรแกรม โดยการดับเบิลคลิก ไอคอนหรือShortcut บนเดสท็อป (DeskTop) ....การย่อเอกสาร เพื่อสะดวกในการคัดลอก ,การเปรียบเทียบ ,การตรวสอบคำ- ข้อความ หรือ การแก้ไขอื่นๆ

ปุ่มคืนสภาพ (Restore)

....เป็นการเรียกหน้าต่างโปรแกรมที่ย่อลงในแถบงาน คืนกลับมาเป็นหน้าต่างปกติ

ปุ่มปิด (Close)

....การปิด - ยกเลิกการใช้งาน
.......ปุ่มย่อ (Minimize) ใช้ในกรณีที่ผู้ใช้เปิดแฟ้มเอกสารพร้อมกันหลายๆแฟ้ม และต้องการใช้ในเวลาเดียวกัน แฟ้มเอกสารจะถูกย่อลงอยู่ด้านล่างขวาของโปรแกรม ดังภาพ ......ถ้าต้องการเรียกแฟ้มกลับมาใช้ต่อ ให้คลิกตรงชื่อแฟ้ม แล้วคลิกคืนค่า ถ้าหากต้องการเลิกใช้ ให้คลิกที่คำสั่ง..... x ปิด .Ctrl+W6.มุมมองเอกสาร
............มุมมองเอกสารในค่าปกติ คือ เค้าโครงหน้ากระดาษ ส่วนประกอบอื่นๆ ได้แก่ ไม้บรรทัด ซึ่งเราสามารถกำหนดหน่วยวัดเป็นนิ้ว , เซนติเมตร , จุด หรือ พิคา ก็ได้

แจกโปรแกรมวาดและออกแบบแผนผังและกราฟต่างๆ Diagram Designer


แจกโปรแกรมวาดและออกแบบแผนผังและกราฟต่างๆ Diagram Designer



ต่างๆเช่น WMF, EMF, Bโปรแกรม Diagram Designer เป็นโปรแกรมที่ใช้วาดและออกแบบไดอะแกรม แผนภูมิ แผนผัง โฟลว์ชาร์ต ต่างๆ ใช้งานได้ง่าย สามารถดึงภาพ (Import) และเซฟไฟล์ได้ในฟอร์แมทMP, JPEG, PNG, MNG และ PCX สามารถพล็อตกราฟสูตรคณิตศาสตร์ต่างๆ ตกแต่งและย่อขนาดของภาพได้ แล้วยังสามารถโชว์ภาพต่างๆในลักษณะสไลด์โชว์ได้อีกด้วย









































วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS)

















ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS)





GIS (Geographic Information System) หรือ ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ “…เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิง พื้นที่ (Spatial Context) โดยข้อมูลลักษณะต่างๆในพื้นที่ที่ทำการศึกษา จะถูกนำมาจัดให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับชนิดและรายละเอียดของข้อมูลนั้นๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดตามต้องการ"*
ขบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูลใน GIS แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. Manual Approach เป็นการนำข้อมูลในรูปแผนที่หรือลายเส้นต่างๆถ่ายลงบนแผ่นใส แล้วนำมาซ้อนทับกัน ที่เรียกว่า “overlay techniques” ในแต่ละปัจจัย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ แต่วิธีการนี้มีข้อจำกัด ในเรื่องของจำนวนแผ่นใสที่จะนำมาซ้อนทับกัน ทั้งนี้เนื่องจากความสามารถในการวิเคราะห์ด้วยสายตา (Eye Interpretation) จะกระทำได้ในจำนวนของแผ่นใสที่ค่อนข้างจำกัด และจำเป็นต้องใช้เนื้อที่และวัสดุในการเก็บ ข้อมูลค่อนข้างมาก
2. Computer Assisted Approach เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปของตัวเลขหรือดิจิตอล (digital) โดยการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลแผนที่หรือลายเส้นให้อยู่ในรูปของตัวเลขแล้วทำการซ้อนทับกันโดยการนำหลักคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์เข้ามาช่วย วิธีการนี้จะช่วยให้ลดเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลลงและสามารถเรียกแสดงหรือทำการวิเคราะห์ได้โดยง่าย
หัวใจที่สำคัญของระบบ GIS คือ ข้อมูลด้านเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งจะถูกนำเข้าระบบด้วยการแปลงให้อยู่ในรูปของ Vector โดยเครื่องมือนำเข้า Digitizer ซึ่งข้อมูลจะมีความสัมพันธ์กันในเชิงตำแหน่งเช่นเดียวกับที่อยู่ในแผนที่ การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะ Vector มีข้อดีในแง่การประหยัดเนื้อที่การจัดเก็บ และการขยายภาพให้ใหญ่บนจอภาพโดยยังแสดงความคมชัดเหมือนเดิม การเก็บข้อมูลในเชิงพื้นที่สามารถออกแบการจัดเก็บตามประโยชน์การใช้สอย โดยแบ่งเป็นชั้น (Layer) ต่าง ๅ เช่น ถนน, แม่น้ำ, ลักษณะชั้นดิน, ลักษณะชั้นบรรยากาศ ฯลฯ เมื่อต้องการทำการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ใช้สามารถที่จะเลือกข้อมูลเชิงพื้นที่ชั้นต่างๆที่ต้องการมาซ้อนทับกัน (Overlay) โดยกำหนดเงื่อนไขที่ต้องการเข้าไปในระบบ ระบบ GIS จะแสดงพื้นที่หรือจุดที่ตั้งของสถานที่ที่ผู้ใช้ต้องการ บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ซึ่งจะแสดงด้วยความเข้มของสีที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย นอกจากระบบ GIS จะจัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ เช่นแผนที่แสดงการใช้ที่ดิน ฯลฯ แล้วระบบยังสามารถจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ใช่เชิงพื้นที่โดยให้มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ ได้แก่ ข้อมูลแสดงคุณลักษณะต่างๆ (Attribute Data) เช่น ข้อมูลด้านประชากร, ข้อมูลรายละเอียดลูกค้า เป็นต้น ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดจะอยู่ในรูปฐานข้อมูลเดียว (Relational Database) ทำให้การจัดเก็บข้อมูลไม่ซ้ำซ้อน และง่ายต่อการเรียกใช้ข้อมูลนั้นๆ
สาเหตุที่ทำให้ระบบ GIS ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะระบบ GIS มีข้อได้เปรียบมากกว่าการใช้แผนที่ในเรื่อง การจัดเก็บข้อมูลในเชิงพื้นที่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ รวมถึงการรวมข้อมูลในเชิงพื้นที่ทั้งหมดให้ให้อยู่ในลักษณะฐานข้อมูลเดียว ซึ่งทำให้มีประโยชน์ในแง่การวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องของระยะเวลา และต้นทุนในการจัดทำ ตัวอย่างจะเห็นได้จากเมื่อผู้บริหารทำการวางแผนด้านพื้นที่ ระบบ GIS ช่วยในการวิเคราะห์พื้นที่ในหลายรูปแบบสำหรับแผนงานที่ต่างๆ กัน เพื่อตอบคำถาม (what-if question) และ ช่วยในการผลิตเอกสารอ้างอิงได้ในขณะที่การทำวิเคราะห์แบบดั้งเดิมต้องใช้ระยะเวลานานและเสียค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นระบบ GIS จึงได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจในด้านการบริหารสภาพแวดล้อมและทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด




































































เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะไกล







เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะไกล


ระบบเครือข่ายระยะไกล หรือ Wide Area Network เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง โดยมีการส่งข้อมูลในลักษณะเป็นแพ็คเก็ต (Packet) ซึ่งต้องเดินทางจากเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง แพ็กเก็ตนี้ถูกส่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง โดยมีสายสื่อสารหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่นในการเชื่อมต่อถึงกันในลักษณะเป็นลูกโซ่ หรือเป็นทอดๆอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระหว่างทางแต่ละตัวจะรับข้อความนั้นเก็บจำเอาไว้ และส่งต่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ถัดไปในเส้นทางที่สะดวก รูปแบบของเครือข่ายที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของอัลกอริทึมสำหรับการคำนวณในการส่งแพ็คเก็ต โดยแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ แบบดาตาแกรม (Datagram) และแบบเวอร์ชวลเซอร์กิต (Virtual Circuit)หรือแบบวงจรเสมือน ระบบดาตาแกรมพิจารณาแต่ละแพ็คเก็ตแยกออกจากกัน แพ็คเก็ตต่างๆของข้อความเดียวกันอาจถูกส่งไปในเส้นทางที่ต่างกันได้ขึ้นอยู่กับปริมาณข่าวสารในเครือข่ายในแต่ละขณะเวลาที่ผ่านไป และรวมถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเครือข่ายเนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์บางตัว"เสีย"(คือไม่อาจร่วมในการส่งผ่านข่าวสารในเครือข่ายได้) ดังนั้นการจัดเส้นทางจึงทำอยู่ตลอดเวลาเพื่อปรับให้เข้ากับสภาวะเครือข่าย ข้อเสียของระบบเช่นนี้คือ แพ็คเก็ตอาจไปถึงจุดหมายโดยไม่ได้เรียงลำดับ(Out of Order) จึงต้องถูกจัดเรียงใหม่ก่อนที่จะส่งต่อให้ผู้รับปลายทาง เครือข่ายที่ใช้ระบบนี้รู้จักกันดีคือ อาร์พาเน็ต(ARPARNET)ย่อมาจาก (Advanced Research Projects Agency Network) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นจุดกำเนิดแม่แบบเครือข่ายสากล หรืออินเตอร์เน็ตด้วย (Internet) ด้วย ส่วนระบบเครือข่ายเวอร์ชวลเซอร์กิตใช้รหัสของต้นทางและปลายทางในแพ็คเก็ตแรก เพื่อจัดเส้นทางผ่านระบบเครือข่ายสำหรับข้อความที่ต้องการส่งในชุดนั้นทั้งหมด ข้อดีของวิธีนี้คือ ส่วนหัวสำหรับแพ็คเก็ตถัดๆไปมีขนาดลดลงได้เพราะแพ็คเก็ตหลังๆเพียงแต่ตามหลังแพ็คเก็ตหน้าไปจึงไม่จำเป็นต้องมีรหัสต้นทางปลายทางอีก และอัลกอริทึมสำหรับจัดเส้นทางนั้นจะทำกันเพียงครั้งเดียวต่อข้อความทั้งข้อความ แทนที่จะต้องคำนวณใหม่สำหรับทุกๆแพ็คเก็ต ข้อเสียสำหรับวิธีการนี้ คือ คอมพิวเตอร์ตามที่กำหนดเส้นทางขึ้นนั้นต้องเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางนี้ไว้จนกว่าแพ็คเก็ตสุดท้ายจะผ่านไปแล้ว ในกรณีนี้ต้องใช้ที่เก็บข้อมูลมากสำหรับทั้งเครือข่าย และก่อให้เกิดปัญหาใหญ่หากคอมพิวเตอร์เครื่องใดในเส้นทางเกิดเสีย และข้อเสียอีกประการ คือสมรรถนะของเครือข่ายไม่อาจเปลี่ยนแปลงตามสภาพการใช้งานได้ง่าย เพราะเส้นทางถูกกำหนดตายตัวตั้งแต่แพ็คเก็ตแรกหากสภาวะของเครือข่ายระหว่างที่มีการสื่อสารข้อมูลกันอยู่มีการเปลี่ยนแปลงไป แพ็กเก็ตหลังๆก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงหรือปรับเส้นทางในการสื่อสารที่เหมาะสมได้ ตัวอย่างของเครือข่ายแบบนี้คือ TRANSPAC ในฝรั่งเศสและ TYMNET ในสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาระบบเครือข่ายขึ้นเรื่อยๆ จนในปัจจุบันประมาณการว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในโลกของอินเตอร์เน็ตมีมากกว่า 30 ล้านเครื่องเลยทีเดียว โดยมีข้อกำหนดว่าทุกเครือข่ายที่เชื่อมต่อถึงกันจะต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานของการเชื่อมต่อหรือโปรโตคอล ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานบนเครือข่ายแบบนี้โดยเฉพาะซึ่งเรียกว่า TCP/IP เหมือนกันหมดทุกเครื่องจากมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบเดียวกันนี้จะมีผลทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ปัจจุบันมีจำนวนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตมากกว่า 5 หมื่นเครือข่าย และนับวันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะที่เครื่องคอมพิวเตอร์กลางที่คอยให้บริการข้อมูลหรือเซิร์ฟเวอร์ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต 5 ล้านเครื่อง และยังประมาณกันว่าจะมีผู้ขอใช้อินเตอร์เน็ตต (ไคลเอนต์) ในเวลานี้มากกว่า 30 ล้านคน กระจายการใช้งานมากกว่า 84 ประเทศในทั่วทุกมุมโลก ด้วยการออกแบบที่ชาญฉลาดของผู้พัฒนาเครือข่าย โดยไม่มีข้อจำกัดทางฮาร์ดแวร์ เพียงแต่ใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อแบบ TCP/IP เท่านั้น ทำให้อินเตอร์เน็ตสามารถเติบโตไปอย่างไม่มีขอบเขตและขีดจำกัดโดยไม่มีใครสามารถเข้ามาควบคุมการผูกขาดทางเทคโนโลยีซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ตเปิดให้บริการเครือข่ายที่สามารถให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูล ด้วยรูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่เป็นแบบมัลติมีเดียซึ่งประกอบไปด้วยภาพกราฟิก เสียง ข้อมูล และสัญญาณวิดีโอที่ชื่อว่า World Wide Web ที่ทำให้การค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตมีความง่ายและสะดวกต่อการใช้งานมากนอกนั้นอินเตอร์เน็ตยังกลายเป็นเครือข่ายที่เปิดกว้างสำหรับทุกๆเรื่อง ตั้งแต่การแสดงออกทางความคิดเห็นจนถึงการสร้างโอกาสทางธุรกิจสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆอย่างไร้ข้อจำกัด โดยไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบใครในโลกอภิมหาเครือข่าย






























สื่อสารข้อมูลแบบไร้สายด้วยโมดูล TLP434/RLP434



สื่อสารข้อมูลแบบไร้สายด้วยโมดูล TLP434/RLP434



อยู่มาวันนึงผมก็เกิดไอเดียว่าจะเอาโมดูลรับส่งมาทำอะไรดี เลยเอามาลองใช้เป็นออดไร้สายเรียกคนในบ้้าน ให้ช่วยเปิดประตู เวลาจะขับรถเข้าบ้าน ระบบไร้สายถ้าจะให้คล่องตัวก็ต้องใส่ถ่าน ถ้าจะใช้พวก MCS-51 มันก็คงจะกินไฟมากกว่า เลยเอามาต่อกับ USART ของ PIC16F628A ทำเป็นภาคตัวส่ง
ส่วนภาครับก็ใช้ 16F628A มารับสัญญาณจาก
RLP434 หลังจากรับสัญญาณแล้วก็ทำการเช็คความถูกต้องของข้อมูล ตรงนี้จะสำคัญมาก เพราะเจ้าตัวรับ (RLR434) จะรับข้อมูลขยะเข้ามาตลอดเวลา ถ้าไม่มีการเช็คความถูกต้องของข้อมูลก็จะมีการรับข้อมูลขยะมาประมวลผลได้
โปรโตคอลรับ/ส่ง
ผมใช้วิธีแบบง่ายๆและได้ผลคือส่ง Start byte ไปก่อน แล้วตามด้วยข้อมูล แล้วจบด้วย CRLF เมื่อฝั่งรับเจอ Start byte ก็จะทำการรับข้อมูลไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง buffer ของฝั่งรับเต็มหรือเจอ CRLF ถ้าเจอ CRLF ก็จะนำข้อมูลไปตรวจสอบความถูกต้อง เช่น ฝั่งส่งส่ง :CMD01 ถ้าฝั่งรับรับได้ข้อมูล “CMD01″ ก็จะ enable การทำงานนั่น
สำหรับโปรโตคอลที่ซับซ้อนขึ้นเราจำเป็นต้องมี Error Checking ตรวจสอบข้อมูลเช่น Check Sum หรือ CRC16 แต่จากการทดลองรับส่งการใช้ Check Sum ก็เพียงพอ และยังใช้ Cycle ในการคำนวณไม่มากเท่า CRC16
การสร้าง
สำหรับการสร้าง จะมีฝั่งรับ/ฝั่งส่ง ทางฝั่งส่งผมออกแบบให้ใช้กับถ่าน 9V แล้วมี IC 7805 แปลงเป็นไฟ 5V เพื่อเอาไปเลี้ยงวงจร ทางฝั่งส่งไม่ค่อยจะมีปัญหาเท่าไหร่ เนื่องจากไม่จำกัดเรื่องขนาด และไฟเลี้ยง
เพื่อให้ง่ายต่อการสร้าง ผมเลยใช้แผ่นปริ๊นอเนกประสงค์แล้ว wire สายเอา







































วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด




หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด





สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า "หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้น ยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ หลวงพ่อทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือและเอกสารต่างๆ พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป

ประวัติขนมไทย


ประวัติขนมไทย



ขนมไทยนั้นเกิดขึนมานานแล้วตั้งแต่ประเทศไทยยังเป็นสยามประเทศได้ติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ เช่น จีน อินเดีย มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยส่งเสริมการขายสินค้าซึ่งกันและกัน ตลอดจนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้าน อาหารการกินร่วมไปด้วย ต่อมาในสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง ไทยได้รับเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่าง ๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น วัตถุดิบที่หาได้ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนการบริโภคนิสัยแบบไทย ๆ จนทำให้คนรุ่นหลัง ๆ แยกไม่ออกว่าอะไรคือขนมที่เป็นไทยแท้ ๆ และอะไรดัดแปลงมาจากวัฒนธรรมของชาติอื่น เช่น ขนมที่ใช้ไข่ และขนมที่ต้องเข้าเตาอบ ซึ่งเข้ามา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากคุณท้าวทองกีบม้าภรรยาเชื้อชาติญี่ปุ่น สัญชาติโปรตุเกส ของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ ผู้เป็นกงศุลประจำประเทศไทยในสมัยนั้น ไทยมิใช่เพียงรับทองหยิบ ทองหยอด และฝอยทองมาเท่านั้น หากยังให้ความสำคัญกับขนมเหล่านี้โดยใช้เป็นขนมมงคลอีกด้วย ส่วนใหญ่ตำรับขนม ที่ใส่มักเป็น "ของเทศ" เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอดจากโปรตุเกส มัสกอดจากสกอตต์ ขนมไทยเป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทยอย่างหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้ เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำ ตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการทำ ที่กลมกลืน พิถีพิถัน ในเรื่องรสชาติ สีสัน ความสวยงาม กลิ่นหอม รูปลักษณะชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีการรับประทาน ขนมแต่ละชนิด ซึ่งยังแตก ต่างกันไปตามลักษณะของขนมชนิดนั้น ๆ ขนมไทยที่นิยมทำกันทุก ๆ ภาคของประเทศไทย ในพิธีการต่าง ๆ เนื่องในการทำบุญเลี้ยงพระ ก็คือขนม จากไข่ และมักถือเคล็ดจากชื่อและลักษณะของขนมนั้น ๆ













































































































































































































































..........โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ได้ก่อตั้งและดำเนินการสอนสืบเนื่องมาโดย ภราดาคณะเซนคาเบรียล ซึ่ง นักบุญหลุยส์ มารี เดอ มองฟอร์ต ได้สถาปนาขึ้นในปี ค.ศ. 1705 ณ ประเทศฝรั่งเศส มีจุดมุ่งหมายแรกเริ่มที่ จะสอนให้เยาวชนอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น และมีหลักศาสนาเป็นแนวทางให้ประพฤติตนเป็นคนดี โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ตั้งอยู่ เลขที่ 30 หมู่ 3 ในหมู่บ้านเศรษฐกิจ แขวงบางไผ่ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ก่อตั้ง เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2504 ดำเนินการโดย มูลนิธิคณะเซนคาเบรียลแห่งประเทศไทย สอนวิชาสามัญ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่ชั้นประถมปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6
..........คณะภาราดาเซนคาเบรียล ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนนี้ เนื่องจาก นายไถง สุวรรณทัต ศิษย์เก่าอาวุโสของโรงเรียนอัสสัมชัญกรุงเทพฯ ได้มีจิตศรัทธามอบที่ดินในหมู่บ้านเศรษฐกิจ ให้มูลนิธิ ฯ มีเนื้อที่ทั้งหมด 56 ไร่ 1 งาน 9 ตารางวา เพื่อก่อตั้งโรงเรียนซึ่งเป็นสาขาหนึ่งในจำนวน 14 โรงเรียนที่ดำเนินการโดย ภราดาคณะเซนคาเบรียลแห่งประเทศไทยดังนี้
1. โรงเรียนอัสสัมชัญกรุงเทพ ฯ ตั้งเมื่อ 2428 กรุงเทพมหานคร 2. โรงเรียนเซนคาเบรียล ตั้งเมื่อ 2463 กรุงเทพมหานคร 3. โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ตั้งเมื่อ 2475 จังหวัดเชียงใหม่ 4. โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์ ตั้งเมื่อ 2482 กรุงเทพมหานคร 5. โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา ตั้งเมื่อ 2487 จังหวัดชลบุรี 6. โรงเรียนเซนต์หลุยส์วิทยาลัย ตั้งเมื่อ 2491 จังหวัดฉะเชิงเทรา 7. โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ตั้งเมื่อ 2501 จังหวัดลำปาง 8. โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ตั้งเมื่อ 2504 กรุงเทพมหานคร 9. โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง ตั้งเมื่อ 2506 จังหวัดระยอง 10. โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี ตั้งเมื่อ 2508 จังหวัดอุบลราชธานี 11. โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา ตั้งเมื่อ 2510 จังหวัดนครราชสีมา 12. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ตั้งเมื่อ 2512 กรุงเทพมหานคร 13. โรงเรียนอัสสัมชัญสำโรง ตั้งเมื่อ 2522 จังหวัดสมุทรปราการ14. โรงเรียนอัสสัมชัญเทคนิคนครพนม ตั้งเมื่อ 2541 นครพนม
..........โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ได้เจริญก้าวหน้าตามลำดับต่อมามูลนิธิคณะเซนคาเบรียลแห่งประเทศไทยได้ซื้อที่ดินทางทิศเหนือ ของโรงเรียนเพิ่มอีกเป็น 79 ไร่ 44 ตารางวา ได้มีการเปลี่ยนแปลงภราดาผู้บริหาร ดังรายนามดังต่อไปนี้
อธิการท่านที่ 1 ภราดาอาซีเนียว อาเกลอินฟาเต พ.ศ. 2504 (เสียชีวิตแล้ว)อธิการท่านที่ 2 ภราดาอินเดอร์ฟองโซ มารี ซีซีเรีย พ.ศ. 2505- พ.ศ.2507 (เสียชีวิตแล้ว)อธิการท่านที่ 3 ภราดาแอนดูว์ อารมณ์ วรศิลป์ พ.ศ. 2508- พ.ศ.2510 (เสียชีวิตแล้ว)อธิการท่านที่ 4 ภราดาวิศิษฐ์ ศรีวิชัยรัตน์ พ.ศ. 2510- พ.ศ.2517 อธิการท่านที่ 5 ภราดาบัญชา แสงหิรัญ พ.ศ. 2518- พ.ศ.2520 อธิการท่านที่ 6 ภราดาสมพงษ์ ศรีสุระ พ.ศ. 2521- พ.ศ.2526 อธิการท่านที่ 7 ภราดามีศักดิ์ ว่องประชานุกูล พ.ศ. 2527- พ.ศ.2534 อธิการท่านที่ 8 ภราดาอานันท์ ปรีชาวุฒิ พ.ศ.2535- พ.ศ.2541อธิการท่านที่ 9 ภราดาเลอชัย ลวสุต พ.ศ.2541- พ.ศ.2543อธิการท่านที่ 10 ภราดาเดชาชัย ศรีพิจารณ์ พ.ศ.2544 - พ.ศ.2546อธิการท่านที่ 11 ภราดาอาจิณ เต่งตระกูล พ.ศ.2547 - พ.ศ.2549อธิการท่านที่ 12 ภราดาชำนาญ เหล่ารักผล พ.ศ.2550 - ปัจจุบัน "
..........ปัจจุบันมีอาคารเรียนและอาคารประกอบจำนวน 23 หลัง มีจำนวนห้องเรียน 93 ห้อง ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องดนตรี ห้องแนะแนว ห้องปฏิบัติการภาษาต่างประเทศ ห้องพยาบาล ห้องไฟฟ้า ห้องโสตทัศน์ ห้องกิจกรรมชมรมต่าง ๆ ห้องอาคารครู ห้องอาหารนักเรียน ฯลฯ
..........แนวนโยบาย การบริหารท่านผู้อำนวยการอาจารย์ใหญ่คนปัจจุบันเน้นการนำเทคโนโลยีทันสมัย มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครู พัฒนานักเรียน ปรับปรุงแผนการศึกษาทุกด้านเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเป็นบุคคลที่พร้อม ทั้งด้านสติปัญญาร่างกาย จิตใจและมีคุณธรรมให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั้งยังพัฒนาอาคารสถานที่เพื่อการศึกษา ของโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีให้เป็นโครงการพัฒนาการศึกษาที่ก้าวกระโดดท้าทายคณะผู้บริหาร ครู อาจารย์ และต่อการศึกษา ของเด็กและเยาวชนเป็นอย่างยิ่งในขณะเดียวกันก็ได้พัฒนาคุณภาพครู อาจารย์ ด้วยการให้ไปดูงานต่างประเทศไปอบรมสัมนา เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และจัดหาเงินกองทุนสวัสดิการครูเพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่คณะครูอาจารย์ในโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี






















































































































































ประวัติเกมส์




ประวัติเกมส์



ยุคเริ่มต้นด้วย การเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านการผลิตคิดค้นและพัฒนา วิทยุ ,โทรทัศน์ และ เครื่องเล่นวีดีโอ โซนี่ยังพยายามพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆขึ้นมาอย่างไม่หยุดยั้ง หนึ่งในนั้นคือพวกเขาได้สร้างรูปแบบเครือข่ายที่เรียกว่า System G ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงปี 70 และหนึ่งในผู้อยู่เบื้องหลังนี้คือ เคน คุตารางิ ซึ่งภายหลักกลายมาเป็นตัวจักรสำคัญของโซนี่ ในการผลักดัน Playstation ขึ้นมา ซึ่งในเวลานั้นเขาแสดงความสนใจในการเติบโตของอันรวดเร็วตลาดเกม แต่น่าเสียดายที่โซนี่ในตอนนั้น ไม่สนใจต่อคำแนะนำของเขาและพลาดการเข้าสู่ตลาดในช่วงแรกไป จนในที่สุดก็ถูกบริษัทอย่าง Namco, Taito และ Atari นำเกม Pong (สุดยอดเก๋า ต้นแบบเกมปิงปอง), Space Invaders (จนถึงปัจจุบันยังมีคนทำเป็น Collection นะ) และ Galaxian ไปสู่ความสำเร็จอย่างถล่มทลายอย่างไรก็ตาม ความพยายามครั้งแรกของโซนี่ในการจับกระแสวีดีโอเกม ก็ไม่เป็นอย่างที่คาด ในช่วงกลางปี 80 พวกเขาได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเครื่อง MSX ที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่นเจ้าอื่น ๆอย่าง Toshiba, Panasonic(National) และ Sharp แต่ MSX ก็ล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่ามันไม่สามารถที่จะแข่งกับเครื่องอื่น ๆอย่าง Sinclair Spectrum และ Commodore 64 (คนไทยเรียกกันว่า พีซีรุ่นเก๋า 64) ได้เลย พวกเขาจึงรู้ข้อผิดพลาดของตัวเองนั่นคือมองข้าม Nintendo ไปนั่นเองหาก มองข้ามความสำเร็จของ Atari ผู้สร้าง Test Drive ไป จะพบว่า นินเทนโด เป็นเจ้าแรกที่สามารถนำเกมเครื่องเข้าไปอยู่ในห้องนั่งเล่นของทุกบ้านทั่ว โลก ด้วยความช่วยเหลือจากยักษ์ใหญ่อาเขตในสมัยนั้นอย่าง Namco และเกมดัง ๆที่อยู่ในมืออย่าง Donkey Kong นินเทนโดจึงใช้เวลาไม่นานเลยที่จะสถาปนาตัวเองเป็นจ้าวแห่งวีดีโอเกม ในขณะที่โซนี่ ทำได้แค่เพียงรอเวลาที่เหมาะสมเท่านั้นจุดพลิกผันใน ที่สุดโซนี่ก็ได้โอกาสที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมวีดีโอเกมในปี 1990 ด้วยการจับมือกับ นินเทนโด ซึ่งในขณะนั้นเครื่อง NES ได้ถูกแซงหน้าไปโดย เครื่องเกม 16 บิท ตัวใหม่ของเซกาก็คือ Mega Drive ทั้งกราฟิคและเกมที่ถูกนำเสนอออกมาอย่างเหนือชั้นกว่า และสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับผู้เล่น นินเทนโดจึงแก้เกมด้วยการออกเครื่อง SNES หรือ ซุปเปอร์แฟมิคอม ซึ่งก็ไปได้ดีไม่แพ้เครื่องก่อนหน้านี้ แต่กระนั้นเซกาก็ได้ประกาศที่จะทำเครื่องเล่น CD ที่สามารถประกอบเข้ากับเครื่องเดิมของเขาในชื่อ Mega CD นินเทนโด ซึ่งกลัวที่จะถูกเซกาทิ้งไปอีกรอบจึงเข้าปรึกษาขอความร่วมมือกับโซนี่ ในการพัฒนาตัวเล่น CD ด้วยการพัฒนาร่วมกันกับ Philips โดยมี เคน คุตารางิ และทีมงาน เข้าร่วมมือกับนินเทนโดแต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นหนึ่ง วันหลังจากที่โซนี่ประกาศ แผนการร่วมมือกันในอนาคตกับนินเทนโดในงาน Summer Consumer Electronic Show ในปี 1991 นินเทนโดก็ประกาศยกเลิกสัญญากับโซนีและหันไปร่วมมือกับ Philips ในการพัฒนา CD drive แทน และแน่นอนว่าโปรเจคนี้ไม่เคยได้เห็นแสงตะวันเพราะ ฟิลิปส์ กำลังง่วนอยู่กับการพัฒนาเทคโนโลยี CDI ของตัวเอง ในขณะเดียวกันที่ญี่ปุ่น โซนี่กำลังซุ่มพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งในการคืนชีพ Super Disc Project ที่ตายไปด้วยความมุ่งมั่น(และเคียดแค้น) โดยกลับไปใช้ชื่อ Playstation ชื่อเดิมของโปรเจคที่ใช้ก่อนการจับมือกับ nintendoตัวคนเดียวเมื่อ ไม่มีนินเทนโด หนทางในการเข้าสู่ตลาดเกมคอนโซลของโซนี่ก็เหมือนจะเป็นไปไม่ได้ เพราะบริษัทก็ไม่มีเกมที่สามารถมายืนพื้น ไม่มีทั้งหน่วยพัฒนาเกมในบริษัท ถึงแม้จะเคยสร้างเกมให้กับเครื่อง Mega Drive ,Mega CDและ SNES แต่ก็ไม่มีอะไรที่น่าจดจำ อีกทั้งไม่มีประสบการณ์ในตลาดคอนโซลอันเชี่ยวกรากแห่งนี้ แต่สิ่งที่โซนี่มีอยู่ในมือก็คือเครื่องที่สามารถเปิดประตูสู่ยุคใหม่ของเกม ได้ และทุนหนุนหลังจากบริษัทแม่ก้าวที่ผิดพลาดของนินเทนโดนั้นนอก จาก การยกเลิกแผนพัฒนาโปรเจค CD ร่วมกับโซนี่และยึดติดกับการใช้ตลับในการบรรจุข้อมูลเกมใน N64 แล้ว พวกเขายังสร้างความไม่พอใจให้กับ มาซายะ นาคามูระ ผู้ควบคุมการสร้างแผนกเกมอาเขตของแนมโค ที่นินเทนโดมัดมือชกเขาให้เซ็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ถึงขนาดที่นาคามูระ ร่อนหมายศาลฟ้องนินเทนโดฐานครองตลาดในแบบผูกขาด แต่ภายหลังก็ถูกControlให้ถอนฟ้องไป และนี่คือเหตุผลที่แนมโคแสนจะยินดีในการหันมาร่วมมือกับโซนี่ด้วยการเข็น Ridge Racer และเกมอาเขตในคลังอื่น ๆให้ด้วยความเต็มใจนอกจากนี้โซ นี่ยังได้เซ็นสัญญากับบริษัท Psygnosis ก่อนที่จะซื้อมาในครอบครองภายหลัง และผลิตเกมดัง ๆอย่าง wipeout (อันนี้อยากให้เป็นในโลกจริง) และ Destruction Derby (สุดมันส์ ย่างศพรถกันเข้าไป ต้นแบบของ Flatout , Burnout) และไม่นานหลังจากนั้น บรรดาผู้พัฒนาชื่อดังทั้งหลายก็ตบเท้ากันเข้ามาอยู่ใต้เครื่องของ PlayStation









































































ประวัติประเทศไทย


ประวัติประเทศไทย


ประเทศไทยแต่เดิมมีชื่อว่า "ประเทศสยาม" หรือ "สยามประเทศ"
ดินแดนที่เป็นประเทศไทยส่วนใหญ่นับแต่บริเวณภาคใต้ไปจนภาคเหนือ อันเป็นเขต ป่าเขานั้น อยู่ในบริเวณที่เรียกว่า กึ่งชุ่มชื้น และกึ่งแห้งแล้ง จึงเป็นบริเวณที่เหมาะสมแก่การตั้งหลักแหล่งของชุมชนมนุษย์ให้เป็นบ้านเมืองได้เกือบทั้งสิ้น
รัฐหรือแคว้นในดินแดนประเทศไทยในระยะแรกเริ่มส่วนใหญ่ เกิดขึ้นในบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ เกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณพุทธศตวรรษ ที่ 7-8 เรื่อยมา จนถึงพุทธศตวรรษที่ 15 การย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานจึงเลือกเฟ้นและจำกัดอยู่ในบริเวณภูมิภาคดังกล่าว ที่มีความเหมาะสมทั้งในด้านเกษตรกรรมและการเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนสินค้ากว่าบริเวณอื่น ๆ ภาคอื่นซึ่งได้แก่ภาคเหนือและบริเวณอื่นที่ใกล้เคียงก็มีผู้คนอยู่เพียงแต่มีแต่เป็นชุมชนเล็ก ๆ กระจายอยู่ตามท้องถิ่นต่าง ๆ เท่านั้น
กรุงศรีอยุธยาตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถลงมา นับได้ว่ามีฐานะเป็นราชอาณาจักรสยามอย่างแท้จริงสิ่งสำคัญที่แสดงให้เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นอาณาจักรสยามอย่างแท้จริง คือมีหลักฐานทั้งด้านพระราชพงศาวดารและกฎหมายเก่าตลอดจนจารึกและลายลักษณ์อื่น ๆ ที่ชี้ให้เห็นว่ามีการปฏิรูปการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินที่รวมศูนย์แห่งอำนาจมาอยู่ภายใต้พระมหากษัตริย์ ณ ราชธานีเพียงแห่งเดียว
นั่นก็คือ การยกเลิกการแต่งตั้งเจ้านายในพระราชวงศ์ เช่น พระราชโอรส พระราชนัดดา ไปปกครองเมืองสำคัญที่เรียกว่า เมืองลูกหลวง หรือหลานหลวง ตั้งแต่ก่อนออกกฎข้อบังคับให้บรรดาเจ้านายอยู่ภายในนครโดยมีการแต่งตั้งให้มีตำแหน่ง ชั้นยศ ศักดิ์ และสิทธิพิเศษของแต่ละบุคคล ส่วนในเรื่องการปกครองหัวเมืองนั้น โปรดให้มีการแต่งตั้งขุนนางจากส่วนกลางไปปกครองเจ้าเมือง ขุนนาง และคณะกรรมการเมืองแต่ละเมืองมีตำแหน่ง ยศ ชั้น ราชทินนาม และศักดินา ลำดับในลักษณะที่สอดคล้องกับขนาดและฐานความสำคัญของแต่ละเมือง ส่วนเมืองรองลงมาได้แก่ เมืองชั้นโท และชั้นตรี ที่มีเจ้าเมืองมียศเป็นพระยาหรือออกญาลงมา บรรดาเจ้าเมืองเหล่านี้ไม่มีอำนาจและสิทธิในการปกครองและการบริหารเต็มที่อย่างแต่ก่อน จะต้องขึ้นอยู่กับการควบคุมของเจ้าสังกัดใหญ่ในพระนครหลวง ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายทหารและพลเรือน
นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 ลงมา ผู้ที่เรียกว่าชาวสยามหรือเมืองที่เรียกว่าสยามนั้น หมายถึงชาวกรุงศรีอยุธยาและราชอาณาจักรอยุธยาในลักษณะที่ให้เห็นว่าแตกต่างไปจากชาวเชียงใหม่ ชาวล้านนา ชาวรามัญ ชาวกัมพูชา ของบ้านเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน
ที่ตั้งของประเทศไทย
ประเทศไทยตั้งอยู่ในทวีปเอเชียในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในบริเวณพื้นที่ที่เรียกว่า "คาบสมุทรอินโดจีน" ซึ่งมีความหมายมาจากการเป็นคาบสมุทรที่เชื่อมต่อ คืออยู่ระหว่างกลางของดินแดนใหญ่ 2 บริเวณ คืออินเดียทางตะวันตก และจีนทางตะวันออก โดยล้อมรอบไปด้วยเพื่อนบ้านใกล้เคียง คือ พม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย และเพื่อนบ้าน ในเขตภูมิภาคคือ เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน และฟิลิปปินส์
ภาษา
ประเทศไทยมีภาษาของตนเองโดยเฉพาะทั้งภาษาพูดและเขียนเป็นภาษาประจำชาติ เรียกว่า "ภาษาไทย" เราไม่ทราบแน่นอนว่าภาษาไทยกำเนิดมาจากแหล่งใด แต่เมื่อพบศิลาจารึกที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 1826 เป็นต้นมา ทำให้เราสามารถทราบประวัติและวิวัฒนาการของภาษไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัย จนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ภาษาไทยมีลักษณะเฉพาะตัวเป็นภาษาที่มีระดับเสียง โดยการใช้วรรณยุกต์กำกับ คือมีเสียงวรรณยุกต์ 4 รูป คือ ไม้เอก โท ตรี และจัตวา กำกับบนอักษรซึ่งปัจจุบันมีอักษรใช้ 44 ตัว แบ่งออกเป็นอักษรสูง 11 ตัว อักษรกลาง 9 ตัว และอักษรต่ำ 24 ตัว มีสระ 28 รูป ซึ่งมีเสียงสระ 32 เสียง ประกอบคำโดยนำเอาอักษรผสมกับสระวรรณคดี ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง นั้นกวีได้นำคำมารจนาให้เกิดความไพเราะเพราะพริ้งได้ ทั้งนี้สาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากลักษณะของภาษาไทย นั่นเอง
เมืองหลวง
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย มีเนื้อที่กว้าง 1,549 ตารางกิโลเมตร เป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญต่าง ๆ ของชาติแต่เดิม กรุงเทพมหานคร มีฐานะเป็นจังหวัด ๆ หนึ่งเรียกชื่อตามราชการว่า จังหวัดพระนคร ต่อมาได้รวมกับจังหวัดธนบุรี ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับกรุงเทพฯ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 24 ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 เป็นจังหวัดเดียวกันโดยเรียกชื่อใหม่ว่า นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335
รัฐบาลและการปกครอง
ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล ประเทศไทยมีการจัดระเบียบการปกครองภายในประเทศอย่างเป็นระบบ มาช้านานแล้ว ซึ่งยังผลให้ประเทศไทยมีความเป็นปึกแผ่นและสามารถรักษาเอกราชมาได้จนถึงทุกวันนี้ การปกครองของไทยได้ปรับและเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับกาลสมัย และเป็นไปตามความต้องการของประเทศชาติเสมอมา ทำให้วิธีดำเนินการปกครองแต่ละสมัยแตกต่างกันไป
สมัยสุโขทัย (พ.ศ. 1781 - 1981)
การปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก ผู้ปกครองคือพระมหากษัตริย์ คำนำหน้าของ พระมหากษัตริย์ไทยในสมัยนั้นจึงใช้คำว่า "พ่อขุน"
สมัยอยุธยา (พ.ศ. 1893 - 2310)
เริ่มต้นเมื่อพระเจ้าอู่ทอง ทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีเมื่อราวปี พ.ศ. 1893 คำที่ใช้เรียกพระเจ้าอู่ทองมิได้เรียก "พ่อขุน" อย่างที่เรียกกันมาครั้งสุโขทัย แต่เรียกว่า "สมเด็จ พระพุทธเจ้าอยู่หัว" พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะเทวราชหรือสมมติเทพ เป็นองค์รัฐาธิปัตย์ ปกครองแผ่นดิน
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2325 - 2475)
ได้นำเอาแบบอย่างการปกครองในสมัยสุโขทัย และอยุธยามาผสมกัน ฐานะของพระมหากษัตริย์เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้อยู่ในฐานะเทวราชหรือสมมติเทพดังแต่ก่อน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับราษฎรมีความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ถึงแม้จะปกครองตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่มีลักษณะประชาธิปไตยแฝงอยู่ในหลายรูปแบบ เช่น แทรกอยู่ในการปกครองพระมหากษัตริย์ทรงให้สิทธิเสรีภาพแก่ประขาชนในการดำรงชีวิต การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สิ้นสุดลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร์ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของการ ปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีศูนย์อำนาจการปกครองอยู่ที่ 3 สถาบันสำคัญคือ สถาบันนิติบัญญัติ ซึ่งมีรัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจในการออกกฎหมาย สถาบันบริหารซึ่งมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร และสถาบันตุลาการซึ่งมีศาลสถิตยุติธรรมเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่พิพากษาอรรถคดีในพระปรมาภิไธย
ศาสนา
ประเทศไทย มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ คนไทยสามารถนับถือศาสนาต่าง ๆ กันได้ แต่มีผู้นับถือศาสนาพุทธกว่าร้อยละ 90 คนไทยยังนับถือศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และซิกซ์ เป็นต้น รัฐธรรมนูญของไทยและกฎหมายอื่น ๆ ให้ความคุ้มครองในเรื่องการนับถือศาสนาเป็นอันดี ไม่ได้บังคับให้ประชาชนชาวไทยนับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง เป็นการเฉพาะ โดยถือว่าบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการนับถือศาสนานิกายของศาสนา แม้ศาสนาต่าง ๆ จะมีแนวทางปฏิบัติและรายละเอียดบางประการที่แตกต่างกันแต่ก็มีหลักเดียวกันคือต่างมุ่งสอนให้ทุกคนประกอบความดี ละเว้นความชั่ว ทั้งนี้เพื่อความเจริญของบุคคลในทางร่างกาย และจิตใจ อันจะนำสันติสุขมาสู่สังคมส่วนรวม


















































































หนังตะลุง

หนังตะลุง


บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด

หนังตะลุง



เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของไทย ซึ่งใช้หุ่นมีลักษณะแบน ทำจากแผ่นหนังวัวหรือหนังควาย

ประดิษฐ์เป็นรูปแบบต่างๆทาสีสวยงาม ชักให้เคลื่อนไหวตามบทพากย์และเสียงดนตรี ใช้แสง

ไฟส่องผ่านตัวหนังมาจากด้านหลังโรง ให้เงาไปปรากฎบนจอ

นิยมเล่นทางภาคใต้ของประเทศ

ไทย หนังตะลุงแฝงไว้ด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น บทที่ใช้แสดงเป็นร้อยแก้วและร้อย

กรอง เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมไทย มีลักษณะเฉพาะตัว มีอายุยืนยาวมาหลายร้อยปี เรื่องที่

นิยมเล่นในสมัยโบราณ คือ เรื่องรามเกียรติ เพลงที่ใช้ประกอบมีทั้งเพลงช้าและเพลงเร็วร่วมกัน

ใช้ผู้แสดงเพียงคนเดียว เรียกว่า “นายหนัง” ทำหน้าที่พากย์และชักเชิด เครื่องดนตรีใช้ประกอบ

การละเล่น ได้แก่ ปี่ใน กล้องโหม่ง กับและกลอง ผู้เล่นเรียกว่า “ลูกคู่” หนังวัวและหนังควายที่

ทำหนังตะลุง ต้องผ่านกรรมวิธีต่างๆ จนหนังบางใส และระบายสี วิธีทำหนังตะลุงเหมือนกับหนัง

ใหญ่แต่ตัวเล็กกว่า มีไม้ประกบคาบตัวหนัง เลยลงมามีที่จับเชิด ลำตัวหนังตะลุงฉลุโปร่งใส

ประกอบลวดลายไทย ตัวหนังบางตัวเลียนแบบท่าของตัวพระ นาง ยักษ์ ลิง จากภาพไทยอัน

งดงาม ประวัติตัวตลก อ้ายเท่ง เอาเค้ามาจากชาวบ้านคนหนึ่ง ชื่อ เท่ง อยู่บ้านคูขุด อำเภอสะทิ้ง

พระจังหวัดสงขลา หนังจวนบ้านคูขุดนำมาตัดรูปตลกเป็นครั้งแรก หนังคณะอื่นๆนำไปเลียนแบบ

รูปร่างผอมบางสูง ท่อนบนยาวกว่าท่อนล่าง ผิงดำ ปากกว่าง หัวเถิก ผมงอหยิก ใบหน้าคล้าย

นกกระฮังนิ้วมือขวายาวโตคล้ายอวัยวะเพศผู้ชาย นิ้วชี้กับหัวแม่มือซ้ายงอหยิกเป็นวงเข้าหากัน

นุ่งผ้าโสร่งลายตาหมากรุก คาดพุงด้วยผ้าขะม้า ไม่สวมเสื้อ ที่สะเองเหน็บมีดอ้ายครก (มีด

ปลายแหลมด้ามงอ โค้ง มีฝัก) ชอบพูดจาโผงผาง ไม่เกรงใจใคร ขู่สำทับผู้อื่น ล้อเลียนเก่ง เป็น

คู่หูกับอ้ายหนูนุ้ย อ้ายหนูนุ้ย นำเค้ามาจากคนซื่อๆ แกมโง่ ผิวดำ รูปร่างค่อนข้างเตี้ย พุงยานโย้

คอตก ทรงผมคล้ายแส้ม้า จมูกปากยื่นออกไป คล้ายกับปากวัว มีเครายาวคล้ายหนวดแพะ ใคร

พูดเรื่องวัวเป็นไม่พอใจ นุ่งผ้าโสร่งแต่ไม่มีลวดลาย ไม่สวมเสื้อ ถือมีดตะไกรหนีบหมากเป็น

อาวุธ พูดเสียงต่ำสั่นเครือดันขึ้นนาสิก ชอบคล้อยตามคนยุยงส่งเสริม แสดงความซื่อออกมา

เสมอ นายสีแก้ว เชื่อกันว่าเอาเค้ามาจากคนที่ชื่อสีแก้ว









วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ภูมิปัญญาท้องถิ่น


ภูมิปัญญาท้องถิ่น



คำว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ความรู้ของชาวบ้านในท้องถิ่น ซึ่งได้มาจากประสบการณ์ และความเฉลียวฉลาดของชาวบ้าน รวมทั้งความรู้ที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษ สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ระหว่างการสืบทอดมีการปรับ ประยุกต์และเปลี่ยนแปลง จนอาจเกิดเป็นความรู้ใหม่ตามสภาพการณ์ทางสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
ภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่ประกอบไปด้วยคุณธรรม ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านในวิถีดั้งเดิมนั้น ชีวิตของชาวบ้านไม่ได้แบ่งแยกเป็นส่วนๆ หากแต่ทุกอย่างมีความสัมพันธ์กัน การทำมาหากิน การอยู่ร่วมกันในชุมชน การปฏิบัติศาสนา พิธีกรรมและประเพณี ความรู้เป็นคุณธรรม เมื่อผู้คนใช้ความรู้นั้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง คนกับคน คนกับธรรมชาติ และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ
ความสัมพันธ์ที่ดีเป็นความสัมพันธ์ที่มีความสมดุล ที่เคารพกันและกัน ไม่ทำร้ายทำลายกัน ทำให้ทุกฝ่ายทุกส่วนอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ ชุมชนดั้งเดิมจึงมีกฎเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกัน มีคนเฒ่าคนแก่เป็นผู้นำ คอยให้คำแนะนำตักเตือน ตัดสิน และลงโทษหากมีการละเมิด ชาวบ้านเคารพธรรมชาติรอบตัว ดิน น้ำ ป่า เขา ข้าว แดด ลม ฝน โลก และจักรวาล ชาวบ้านเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ทั้งที่มีชีวิตอยู่และล่วงลับไปแล้ว





ภูมิปัญญาท้องถิ่น


ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ความรู้ของชาวบ้าน ซึ่งเรียนรู้มาจากพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ญาติพี่น้อง หรือผู้มีความรู้ในหมู่บ้านในท้องถิ่นต่างๆ ความรู้เหล่านี้สอนให้เด็กเคารพผู้ใหญ่ มีความกตัญญูรู้คุณพ่อแม่ และผู้มีพระคุณ มีความเอื้ออาทรต่อคนอื่น รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันข้าวของของตนให้แก่ผู้อื่น ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่มีคุณธรรม สอนให้คนเป็นคนดี สอนให้คนเคารพธรรมชาติ รู้จักพึ่งพาอาศัยธรรมชาติโดยไม่ทำลาย ให้เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และคนที่ล่วงลับไปแล้ว

กรุงศรีอยุธยา









กรุงศรีอยุธยาราชธานีไทย
ถึงเคยแตกแยกไปก็ไม่สิ้นคนดี...........
พระเจ้าอู่ทองสร้างกรุงอยุธยา
ทรงหลั่งทักษิณาใต้ต้นหมัน...........
กรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองโสน ซึ่งอยู่ตรงแผ่นดินที่มีแม่น้ำลพบุรี แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก ล้อมรอบอยู่สามด้าน คือ ด้านทิศเหนือ ด้านทิศใต้ และด้านทิศตะวันตก ส่วนทางด้านทิศตะวันออกมีคูแยกจากแม่น้ำลพบุรี ตั้งแต่ตำบลหัวรอไปบรรจบแม่น้ำบางกะจะ ที่ป้อมเพชร เรียกว่า คูขื่อหน้า ทางด้านตะวันออกนี้มีร่องรอยของเมืองเก่า คือ เมืองอโยธยา ซึ่งปรากฏอยู่ในจารึกเก่าว่า อโยธยาศรีรามเทพนคร มีศิลปวัตถุต่าง ๆ อันเป็นแบบแผนของยุคอู่ทอง และทวาราวดี
พระเจ้าอู่ทอง ทรงสร้างพระนครขึ้นที่ตำบลหนองโสนดังกล่าว แล้วตั้งนามพระนครนี้ว่า กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกบวรรัตนราชธานีบุรีรมย์ เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๓
คนทั่วไปเรียกตัวเมืองอยุธยาว่า เกาะเมือง มีรูปลักษณะคล้ายเรือสำเภา โดยมีหัวเรืออยู่ทางด้านทิศตะวันออก ชาวต่างประเทศในสมัยนั้น กล่าวถึงกรุงศรีอยุธยาว่าเป็น เวนิสตะวันออก เนื่องจากกรุงศรีอยุธยามีการขุดคูคลอง เชื่อมโยงสัมพันธ์กันกับแม่น้ำใหญ่รอบเมือง
ชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขาย และผู้คนจากเมืองใกล้เคียง ยอมรับว่ากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองท่าภายใน เพราะเส้นทางคมนาคมติดต่อกับ หัวเมืองต่าง ๆ ได้ทั้งทางบกและทางน้ำ ติดต่อกับต่างประเทศได้ทางทะเล เรือเดินทะเลแล่นจากปากแม่น้ำ เจ้าพระยาไปจอดได้ถึงหน้าเมือง สภาพความเป็นอยู่ของกรุงศรีอยุธยา สมัยพระเจ้าปราสาททอง ในมุมมองของพ่อค้าชาวยุโรป
กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บนเกาะเล็ก ๆ ล้อมรอบด้วยแม่น้ำ พื้นที่รอบนอกเป็นที่ราบแผ่ออกไปทั่วทุกทิศ กำแพงเมือง สร้างด้วยหิน วัดโดยรอบได้ ๒ ไมล์ฮอลันดา นับว่าเป็น นครหลวงที่กว้างขวางใหญ่โตมาก ภายในพระนคร มีวัดวาอาราม สร้างอยู่ติด ๆ กัน มีประชาชนพลเมือง อาศัยอยู่หนาแน่น ในตัวเมืองมีถนนสร้างตัดตรงและยาวมาก มีคลองที่ขุดเชื่อมต่อจากแม่น้ำเข้ามาในตัวเมือง ทำให้สดวกแก่การสัญจรไปมาได้อย่างทั่วถึง นอกจากถนนหลัก และคลองหลักแล้ว ยังมีตรอกซอย แยกจากถนนใหญ่ และคูเล็กแยกจากคลองใหญ่ ทำให้ในฤดูน้ำ บรรดาเรือพายทั้งหลาย สามารถไปได้ถึงหัวกะไดบ้าน
บ้านที่อยู่อาศัยสร้างตามแบบอินเดีย แต่หลังคา มุงด้วยกระเบื้อง บรรดาโบสถ์ วิหาร ซึ่งมีจำนวนมากกว่า ๓๐๐ แห่ง ได้ก่อสร้างขึ้น อย่างวิจิตรพิศดาร บรรดาพระปรางค์ เจดีย์ และรูปปั้น รูปหล่อ ซึ่งมีอยู่มากมายใช้ทองฉาบเหลืองอร่าม นับว่าเป็นมหานครที่โอ่อ่า มีผังเมืองที่ วางไว้อย่างเป็นระเบียบ ตั้งอยู่ในทำเลทีเหมาะสม อยู่ในภูมิฐานที่ดีและมั่นคง ยากที่ข้าศึกจะโจมตีได้โดยง่ายเพราะในทุกปีจะมีน้ำท่วมถึง ๖ เดือน ทั่วพื้นที่นอกกำแพงเมือง ทำให้ข้าศึก ไม่สามารถตั้งทัพอยู่ได้
บรรดาถิ่นฐานที่อยู่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และยังดำรงคงอยู่จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ตลาดขวัญ ปากเกร็ด บ้านกระแซง สามโคก บางไทร บางปะอิน หัวรอและหัวแหลม เป็นต้น
สำหรับย่านชุมชนทั้งในและนอกพระนครมีหมู่บ้านของชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำมาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา ร้านค้า และตลาดของ ชาวต่างประเทศเท่าที่ปรากฏหลักฐานก็มี ร้านไทยมอญ ตลาดมอญพม่า ตลาดจัน พวกนี้อยู่ในพระนคร ที่อยู่นอกพระนครก็มี ตลาดบ้านญี่ปุ่น และหมู่บ้านแขก แถบคลองตะเคียน เป็นต้น
นอกจากนั้นยังมีพวกเลกที่เป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาท ก็ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้อยู่อาศัยรวมกันเป็นย่าน เพื่อทำการผลิตสิ่งของต่าง ๆ ตามที่มีพระราชประสงค์ เท่าที่มีหลักฐานมีอยู่ดังนี้
ย่านสัมพะนี ย่านนี้จะผลิตน้ำมันงา น้ำมันลูกกระเบา ทำฝาเรือนไม้ไผ่กรุ ทำมีดพร้า และหล่อครกเหล็ก เป็นสินค้าออกขาย
ย่านเกาะทุ่งขวัญ แบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม คือ บ้านปั้นหม้อ บ้านทำกระเบื้อง บ้านศาลาปูน (เผาปูน) และบ้านเขาหลวงจีน ตั้งโรงต้มเหล้า เป็นสินค้าออกขาย
ย่านเกาะทุ่งแก้ว แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม มีอาชีพหล่อเต้าปูนทองเหลือง ปั้นตุ่มนางเลิ้ง เลื่อยไม้กระดาน ทำตะปูเหล็ก ทำแป้งหอมน้ำมันหอม ธูปกระแจะ ปั้นกระโถนตะคันช้างม้าตุ๊กตา และบ้านโรงฆ้องนำกล้วยมาบ่มเป็นสินค้าออกขายพระพุทธศาสนา เป็นเครื่องหล่อหลอมวิถีชีวิตไทย
วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นที่มาของขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมทุกแขนง เป็นศูนย์กลางของการศึกษา ที่ไม่มีพรมแดน พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ เป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก หลายพระองค์ได้ทรงผนวช ในพระศาสนา เป็นระยะเวลานาน ได้ทรงสร้าง ประเพณีทางพุทธศาสนาผสมกับศาสนาพราหมณ์ไว้มาก และได้ยึดถือปฏิบัติสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน มีพระราชพิธีสงกรานต์ในเดือนห้า พระราชพิธีจรดพระนังคัล ในเดือนหก และพระราชพิธีจองเปรียง ตามพระประทีปในเดือนสิบสอง เป็นต้น สำหรับประเพณี ที่เป็นของทางศาสนาพุทธแท้ ๆ ก็มีอยู่มาก เช่น ประเพณีการไปไหว้พระพุทธบาท ประเพณีเทศน์มหาชาติ พระเพณีสวดพระมาลัย เป็นต้น







อาณาจักรสุโขทัย





อาณาจักรสุโขทัย หรือ รัฐสุโขทัย (อังกฤษ: Kingdom of Sukhothai) เป็นอาณาจักร หรือรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม เป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่ยุคเหล็กตอนปลาย จนกระทั่งสถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้สุโขทัยเป็นรัฐอิสระ และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อยๆตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด
เนื้อหา[ซ่อน]
1 ที่ตั้งและอาณาเขต
1.1 ชุมชนก่อนรัฐ
1.2 สถาปนาอาณาจักร
1.3 การแทรกแซงจากอยุธยา
1.4 การสิ้นสุดของรัฐ
1.5 ด้านเศรษฐกิจ
1.6 ด้านสังคม ความเชื่อ และศาสนา
1.7 ด้านการปกครอง
2 ความสัมพันธ์กับต่างชาติ
2.1 จักรวรรดิมองโกล
2.2 อาณาจักรล้านนา
2.3 อาณาจักรอยุธยา
2.4 ลังกา
2.5 หัวเมืองมอญ
3 รูปภาพ
4 รายพระนามและรายนามผู้ปกครอง
4.1 รัฐอิสระ
4.2 รัฐบรรณาการอาณาจักรอยุธยา
4.3 รัฐบรรณาการอาณาจักรล้านนา
5 อ้างอิงและหมายเหตุ
6 ดูเพิ่ม
//
[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต

อาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง มีอาณาเขตดังนี้[1]
ทิศเหนือ มีเมืองแพร่ (ปัจจุบันคือจังหวัดแพร่) เป็นเมืองปลายแดนด้านเหนือสุด
ทิศใต้ มีเมืองพระบาง (ปัจจุบันคือจังหวัดนครสวรรค์) เป็นเมืองปลายแดนด้านใต้
ทิศตะวันตก มีเมืองฉอด (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก) เป็นเมืองชายแดนที่จะติดต่อเข้าไปยังอาณาจักรมอญ
ทิศตะวันออก ถึงเมืองสะค้าใกล้แม่น้ำโขงในเขตภาคอีสานตอนเหนือ
[แก้] ชุมชนก่อนรัฐ
ความเชื่อเรื่องก่อนกำเนิดรัฐสุโขทัย แต่เดิมมีความเชื่อว่ากลุ่มคนจำนวนมากอพยพหนีการรุกรานจากจีนผ่านมาทางเชียงแสน เชียงราย ลุ่มแม่น้ำปิง และตั้งเมืองที่ลุ่มแม่น้ำยมตอนล่าง คติดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อมประวัติศาสตร์ชาตินิยม และสร้างภาพของสุโขทัยออกมาในฐานะราชธานีอันยิ่งใหญ่ที่มีเขตแดนจากพงสาลีจรดปลายแหลมมลายู มีแสนยานุภาพเกรียงไกรด้วยกองทัพปลดแอกจากมหาอำนาจขอม มีรูปแบบการปกครองแบบครอบครัวเชิงอุปถัมภ์ที่เรียกกันว่าพ่อปกครองลูก อีกทั้งมีเศรษฐกิจที่รุดหน้ากว่าชาติตะวันตกในรูปแบบการค้าเสรี มีการใช้ภาษาเชิงอารยะคือมีอักษรใช้เป็นของชาติตนเอง แต่ในเวลาต่อมาแนวคิดนนี้เริ่มมีข้อบกพร่อง อีกทั้งเริ่มมีหลักฐานอื่นขึ้นมาขัดแย้งเรื่อยๆ นอกจากนี้แนวความคิดนี้ยังก่อให้เกิดปัญหามโนคติตามมา [ต้องการอ้างอิง]
ปัจจุบันมีการสันนิษฐานว่า ในบริเวณสุโขทัยน่าจะมีชุมชนอยู่ก่อนแล้ว ทั้งจากกลุ่มชนที่สูงพวกลัวะ หรือกลุ่มพื้นราบจากอารยธรรมทวารวดี นอกจากนี้ยังมีการค้นพบแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ที่บ้านวังหาด อำเภอบ้านด่านลานหอย โดยเฉพาะแร่เหล็ก ซึ่งก่อให้เกิดการตั้งฐิ่นฐานเพื่อทำอุตสาหกรรมถลุงแร่เหล็ก และการผลิตเครื่องมือเหล็กต่างๆในราวยุคเหล็กตอนปลายต่อเนื่องสมัยทวารวดี โดยพบหลักฐานเป็นโลหะห้อยคอรูปหน้าลิง นอกจากนี้ยังพบร่องรอยชุมชนริมแม่น้ำลำพัน ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงวังตะคร้อ ซึ่งมีการพบหลักฐานจำพวกลูกปัด และบริเวณนี้ก็เป็นที่ตั้งของถ้ำเจ้าราม หรือถ้ำพระราม ซึ่งเป็นสถานที่ที่ถูกเอ่ยถึงในศิลาจารึกหลักที่ 1 แต่ชุมชนเหล่านี้ ก็มิได้ขยายตัวเป็นเมืองใหญ่จวบจนกระทั่งสมัยอาณาจักรเท่านั้น [ต้องการอ้างอิง]
สุโขทัย เป็นชุมทางการค้าที่สำคัญจุดหนึ่งที่ผู้คนจากทั่วสารทิศมาพบปะกันจริงๆ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ดังจะเห็นได้ว่าในตอนต้นของประวัติศาสตร์ มีการปรากฏตัวของ มะกะโท ซึ่งเป็นพ่อค้า และยังมีการเข้าตีเมืองตาก โดยขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในช่วงเวลาหนึ่งของสุโขทัย ทั้งนี้มีการสันนิษฐานว่า สุโขทัยเป็นสถานีการค้าของแคว้นละโว้ (ลวรัฐ) บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ กับเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง (ประเทศลาว) คาดว่าเริ่มตั้งเป็นสถานีการค้าในราวพุทธศักราช 1700 ในรัชสมัยของพระยาธรรมิกราช กษัตริย์ละโว้[ต้องการอ้างอิง] โดยมีพ่อขุนศรีนาวนำถม เป็นผู้ปกครองและดูแลกิจการภายในเมืองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย ต่อมาเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสวรรคต ขอมสบาดโขลญลำพง สันนิษฐานว่าเป็นผู้ตรวจราชการจากลวรัฐ[ต้องการอ้างอิง] เข้าทำการยึดอำนาจการปกครองสุโขทัย แต่กระนั้นก็ไม่ใช่เหตุสงครามอย่างที่เข้าใจกัน เพราะขอมสบาดโขลญลำพงครองสุโขทัยเป็นระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน แม้ปัจจุบันจะยังไม่สามารถชี้ชัดระยะเวลาที่แท้จริงได้ก็ตาม
[แก้] สถาปนาอาณาจักร
เมื่อต่อมาเกิดความขัดแย้งบางประการ ทั้งอาจจะเกิดจากขอมสบาดโขลญลำพงโดยตรงหรือไม่ก็ตาม แต่น่าจะกระทบกระเทือนต่อ ราชวงศ์นำถุม (ผาเมือง) และราชวงศ์พระร่วง จึงส่งผลให้พ่อขุนบางกลางหาว และพ่อขุนผาเมือง ต้องร่วมมือกันชิงเอาสุโขทัยคืนจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 1781 จากนั้น พ่อขุนผาเมืองก็กลับยกเอาเมืองสุโขทัย พระแสงขรรค์ชัยศรี และพระนาม "ศรีอินทรบดินทราทิตย์" ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม ภายหลังได้คลายเป็น ศรีอินทราทิตย์ ให้กับพ่อขุนบางกลางหาว และหายไปจากประวัติศาสตร์จากนั้นเป็นต้นมา ซึ่งมีการสันนิษฐานไปต่างๆนานา ทั้งการไปครองเมืองที่ใหญ่กว่า หรือกลับไปครองเมืองราดตามเดิมอย่างสงบ
แม้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ปกครองสุโขทัยแล้ว กิจการเมืองก็ยังไม่สงบเรียบร้อยดังปรากฏว่ามี ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ยกทัพเข้ามาตีเมืองตาก และท้ายที่สุดเกิดยุทธหัตถี ระหว่างขุนสามชน กับ รามราช พระโอรสองค์เล็กของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ผลคือพระโอรสองค์เล็กได้รับชัยชนะ และได้รับการเฉลิมพระนามว่ารามคำแหง หลังพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรคต พ่อขุนบานเมือง พระโอรสองค์โต และ พ่อขุนรามคำแหง พระโอรสองค์เล็ก ก็ได้ปกครองสุโขทัยต่อตามลำดับ โดยในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงได้ประกอบพระกรณียกิจไว้มากมาย ทั้งการขยายดินแดน ซึ่งเดิมเชื่อว่าทรงได้พื้นที่จากพงสาลี จรดแหลมมลายู แต่ปัจจุบันหลักฐานหลายชิ้นระบุอาณาเขตไว้ใต้สุดเพียงเมืองพระบาง นอกจากนี้ด้านศาสนายังมีการประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์อีกด้วย
[แก้] การแทรกแซงจากอยุธยา
หลังจากพ่อขุนรามคำแหงสวรรคตแล้ว เมืองต่างๆเริ่มแข็งเมือง ส่งผลให้ในรัชกาลพญาเลอไท และรัชกาลพญาไสลือไท ต้องส่งกองทัพไปปราบหลายครั้งแต่มักไม่เป็นผลสำเร็จ และการปรากฏตัวขึ้นของอาณาจักรอยุธยาทางตอนใต้ซึ่งกระทบกระเทือนเสถียรภาพของสุโขทัยจนในท้ายที่สุดก็ถูกแทรกแทรงจากอยุธยา จนมีฐานะเป็นหัวเมืองของอยุธยาไปในที่สุด โดยมี พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นผู้ปกครองสุโขทัยในฐานะรัฐอิสระพระองค์สุดท้าย โดยขณะนั้น ด้วยการแทรกแซงของอยุธยา รัฐสุโขทัยจึงถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
เมืองสรวงสองแคว (พิษณุโลก) อันเป็นเมืองเอก มีพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นผู้ปกครอง
เมืองสุโขทัย เมืองรอง มี พระยาราม เป็นผู้ปกครอง
เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) มี พระยาเชลียง เป็นผู้ปกครอง
เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) มี พระยาแสนสอยดาว เป็นผู้ปกครอง
หลังสิ้นรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมบาล) พระยายุทธิษฐิระซึ่งเดิมทีอยู่ศรีสัชนาลัย ได้เข้ามาครองเมืองสองแคว (พิษณุโลก) และเมื่อแรกที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จขึ้นผ่านพิภพ เป็นพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ปรากฏว่าขณะนั้น พระยายุทธิษฐิระ เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ที่ได้เพียงตำแหน่งพระยาสองแคว เนื่องด้วย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเคยดำริไว้สมัยทรงพระเยาว์ว่า หากได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ จะชุบเลี้ยงพระยายุทธิษฐิระให้ได้เป็นพระร่วงเจ้าสุโขทัย พ.ศ. 2011 พระยายุทธิษฐิระจึงเอาใจออกห่างจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ไปขึ้นกับ พระยาติโลกราช กษัตริย์ล้านนาในขณะนั้น เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการเฉลิมพระนามกษัตริย์ล้านนา จากพระยา เป็น พระเจ้า เพื่อให้เสมอศักดิ์ด้วยกรุงศรีอยุธยา พระนามพระยาติโลกราช จึงได้รับการเฉลิมเป็นพระเจ้าติโลกราช
หลังจากที่พระยายุทธิษฐิระ นำสุโขทัยออกจากอยุธยาไปขึ้นกับล้านนา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงเสด็จจากกรุงศรีอยุธยา กลับมาพำนัก ณ เมืองสรลวงสองแคว พร้อมทั้งสร้างกำแพงและค่ายคู ประตู หอรบ แล้วจึงสถาปนาขึ้นเป็นเมือง พระพิษณุโลกสองแคว เป็นราชธานีฝ่ายเหนือของอาณาจักรแทนสุโขทัย ในเวลาเจ็ดปีให้หลัง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงตีเอาสุโขทัยคืนได้ แต่เหตุการณ์ทางเมืองเหนือยังไม่เข้าสู่ภาวะที่น่าไว้วางใจ จึงทรงตัดสินพระทัยพำนักยังนครพระพิษณุโลกสองแควต่อจนสิ้นรัชกาล ส่วนทางอยุธยานั้น ทรงได้สถาปนาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระราชโอรส เป็นพระมหาอุปราช ดูแลอยุธยาและหัวเมืองฝ่ายใต้
ด้วยความที่เป็นคนละประเทศมาก่อน และมีสงครามอยู่ด้วยกัน ชาวบ้านระหว่างสุโขทัยและอยุธยา จึงมิได้ปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน จึงต้องแยกปกครอง โดยพระมหากษัตริย์อยุธยา จะทรงสถาปนาพระราชโอรส หรือพระอนุชา หรือพระญาติ อันมีเชื้อสายสุโขทัย ปกครองพิษณุโลกในฐานะราชธานีฝ่ายเหนือ และควบคุมหัวเมืองเหนือทั้งหมด
[แก้] การสิ้นสุดของรัฐ
พ.ศ. 2127 หลังจากชนะศึกที่แม่น้ำสะโตงแล้ว พระนเรศวรโปรดให้เทครัวเมืองเหนือทั้งปวง (ตาก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิชัย ชัยบุรี ศรีเทพ) ลงมาไว้ที่อยุธยา เพื่อเตรียมรับศึกใหญ่ พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากเทครัวไปเมืองใต้ จึงสิ้นสุดการแบ่งแยกระหว่างชาวเมืองเหนือ กับชาวเมืองใต้ และถือเป็นการสิ้นสุดของรัฐสุโขทัยโดยสมบูรณ์ เพราะหลังจากนี้ 8 ปี พิษณุโลกได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง แต่ถือเป็นเมืองเอกในราชอาณาจักร มิใช่ราชธานีฝ่ายเหนือ
ในด้านวิชาการ มีนักวิชาการหลายท่านได้เสนอเพิ่มว่า เหตุการณ์อีกประการ อันทำให้ต้องเทครัวเมืองเหนือทั้งปวงโดยเฉพาะพิษณุโลกนั้น อยู่ที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ บนรอยเลื่อนวังเจ้า ในราวพุทธศักราช 2127 แผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลให้ตัวเมืองพิษณุโลกราพณาสูญ แม้แต่แม่น้ำแควน้อย ก็เปลี่ยนเส้นทางไม่ผ่านเมืองพิษณุโลก แต่ไปบรรจบกับแม่น้ำโพ (ปัจจุบันคือแม่น้ำน่าน) ที่เหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไป และยังส่งผลให้พระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก หักพังทลายในลักษณะที่บูรณะคืนได้ยาก ในการฟื้นฟูจึงกลายเป็นการสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาครอบทับลงไปแทน ทั้งหมด
ตัวหนา== ความเจริญรุ่งเรือง ==
[แก้] ด้านเศรษฐกิจ
สภาพเศรษฐกิจสมัยสุโขทัยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ดังข้อความปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 "…ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า ค้าถ้วยชามสังคโลก" และ "...เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าว..." ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้วยระบบการเกษตรแบบพึ่งพาธรรมชาติ เช่นสังคมไทยส่วนใหญ่ในชนบทปัจจุบัน
[แก้] ด้านสังคม ความเชื่อ และศาสนา
การใช้ชีวิตของผู้คนในสมัยสุโขทัยมีความอิสรเสรี มีเสรีภาพอย่างมากเนื่องจากผู้ปกครองรัฐให้อิสระแก่ไพร่ฟ้า และปกครองผู้ใต้ปกครองแบบพ่อกับลูก ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกว่า "…ด้วยเสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน…"
ด้านความเชื่อและศาสนา สังคมยุคสุโขทัยประชาชนมีความเชื่อทั้งเรื่องวิญญาณนิยม (Animism) ไสยศาสตร์ ศาสนาพราหมณ์ฮินดู และพุทธศาสนา ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 3 ว่า "…เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎิวิหารปู่ครูอยู่ มีสรีดพงส์ มีป่าพร้าว ป่าลาง ป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขระพุงผี เทพยาดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ว ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยว เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอันนั้นบ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้หาย…"
ส่วนด้านศาสนา ได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราช ในวันพระ จะมีภิกษุเทศนาสั่งสอน ณ ลานธรรมในสวนตาล โดยใช้พระแท่นมนังคศิลาอาสน์ เป็นอาสนะสงฆ์ ในการบรรยายธรรมให้ประชาชนฟัง ยังผลให้ประชาชนในยุคนี้นิยมปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม มีการถือศีล โอยทานกันเป็นปกติวิสัย ทำให้สังคมโดยรวมมีความสงบสุขร่มเย็น
[แก้] ด้านการปกครอง
แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
1.แบบพ่อปกครองลูก ( ปิตุลาธิปไตย )
สุโขทัยมีลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ผู้ปกครองคือ พ่อขุน ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อที่จะต้องดูแลคุ้มครองลูก ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงโปรดให้สร้างกระดิ่งแขวนไว้ที่หน้าประตูพระราชวัง เมื่อประชาชนมีเรื่องเดือดร้อนก็ให้ไปสั่นกระดิ่งร้องเรียน พระองค์ก็จะเสด็จมารับเรื่องราวร้องทุกข์ และโปรดให้สร้างพระแทนมนังคศิลาอาสน์ได้กลางดงตาล ในวันพระจะนิมนต์พระสงฆ์มาเทศน์สั่งสอนประชาชน หากเป็นวันธรรมดาพระองค์จะเสด็จออกให้ประชาชนเข้าเฝ้าและตัดสินคดีความด้วยพระองค์เอง การปกครองแบบพ่อปกครองลูก(ปิตุลาธิปไตย)ใช้ในสมัยกรุงสุโขทัยตอนต้น
2.แบบธรรมราชา
การปกครองแบบธรรมราชา หมายถึง พระราชาผู้ปฏิบัติธรรมหรือ กษัตริย์ผู้มีธรรม ในสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ มีกำลังทหารที่ไม่เข้มแข็ง ประกอบกับอาณาจักรอยุธยาที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ได้แผ่อิทธิพลมากขึ้น พระองค์ทรง เกรงภัยอันตรายจะบังเกิดแก่อาณาจักรสุโขทัย หากใช้กำลังทหารเพียงอย่าง เดียว พระองค์จึงทรงนำหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง โดยพระองค์ทรงเป็น แบบอย่างในด้านการปฏิบัติธรรม ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา นอกจากนั้นพระ มหาธรรมราชาที่ ๑ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ที่ปรากฏแนวคิดแบบธรรมราชาไว้ด้วย การปกครองแบบธรรมราชา ใช้ในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย ตั้งแต่พระมหาธรรมราชาที่ ๑ - ๔
ด้านการปกครองส่วนย่อยสามารถแยกกล่าวเป็น 2 แนว ดังนี้
ในแนวราบ
จัดการปกครองแบบพ่อปกครองลูก กล่าวคือผู้ปกครองจะมีความใกล้ชิดกับประชาชน ให้ความเป็นกันเองและความยุติธรรมกับประชาชนเป็นอย่างมาก เมื่อประชาชนเกิดความเดือดร้อนไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถร้องเรียนกับพ่อขุนโดยตรงได้ โดยไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้ที่หน้าประตูที่ประทับ ดังข้อความในศิลาจารึกปรากฏว่า "…ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งไว้ให้ ไพร่ฟ้าหน้าใส…" นั่นคือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมาสั่นกระดิ่งเพื่อแจ้งข้อร้องเรียนได้
ในแนวดิ่ง
ได้มีการจัดระบบการปกครองขึ้นเป็น 4 ชนชั้น คือ
พ่อขุน เป็นชนชั้นผู้ปกครอง อาจเรียกชื่ออย่างอื่น เช่น เจ้าเมือง พระมหาธรรมราชา หากมีโอรสก็จะเรียก "ลูกเจ้า"
ลูกขุน เป็นข้าราชบริพาร ข้าราชการที่มีตำแหน่งหน้าที่ช่วงปกครองเมืองหลวง หัวเมืองใหญ่น้อย และภายในราชสำนัก เป็นกลุ่มคนที่ใกล้ชิดและได้รับการไว้วางใจจากเจ้าเมืองให้ปฏิบัติหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ไพร่ฟ้า
ไพร่หรือสามัญชน ได้แก่ราษฎรทั่วไปที่อยู่ในราชอาณาจักร (ไพร่ฟ้า)
ทาส ได้แก่ชนชั้นที่ไม่มีอิสระในการดำรงชีวิตอย่างสามัญชนหรือไพร่ (อย่างไรก็ตามประเด็นทาสนี้ยังคงถกเถียงกันอยู่ว่ามีหรือไม่)
[แก้] ความสัมพันธ์กับต่างชาติ
[แก้] จักรวรรดิมองโกล
กองทัพจักรวรรดิมองโกลแผ่แสนยานุภาพโดดเด่นที่สุดเป็นช่วงเดียวกับการตั้งกรุงสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1800 (ค.ศ. 1257) ซึ่งเป็นอาณาจักรของตนอย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก
หลักฐานสำคัญในพงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 2 แปลเรื่องราวการติดต่อระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับราชวงศ์มองโกลได้สรุปไว้ว่ากุบไลข่านทรงปรึกษาขุนนางข้าราชการระดับสูงเกี่ยวกับการเตรียมทัพไปปราบปรามแคว้นต่างๆ ทางใต้ มีสุโขทัย ละโว้ สุมาตรา และอื่นๆ เป็นเมืองขึ้น ปรากฏว่าขุนนางชื่อ เจี่ย หลู่ น่าต๋าไม่เห็นด้วยและได้กราบบังคมทูลเสนอแนะให้ทรงชักชวนให้ผู้นำดินแดนต่างๆ อ่อนน้อมยอมสนับสนุนก่อน หากไม่ยอมจึงยกกองทัพไปโจมตี นี่คือเหตุผลประการหนึ่งที่กุบไลข่านทรงส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี และขอให้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปยังราชสำนักมองโกล เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออาณาจักรมองโกล ปรากฏว่ามีอาณาจักรในดินแดนต่างๆ กว่า 20 อาณาจักรยอมรับข้อเสนอ รวมทั้งอาณาจักรสุโขทัยด้วย (ช่วงระหว่างประมาณ พ.ศ. 1822 - 1825)
พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 12 เป็นหลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงคณะทูตชุดแรกจากอาณาจักรมองโกลในสมัยกุบไลข่าน เดินทางมายังอาณาจักรสุโขทัยในเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) ทูตคณะนี้นำโดยเหอจี จี่ นายทหารระดับสูงเป็นหัวหน้าคณะ แต่ขณะนังเรือแล่นผ่านฝั่งทะเลอาณาจักรจามปา ได้ถูกจับกุมและถูกประหารชีวิต ผลจากคณะทูตนี้ถูกประหารชีวิตก่อนจะเดินทางไปยังอาณาจักรสุโขทัยทำให้อาณาจักรสุโขทัยไม่ทราบว่ามองโกลพยายามส่งทูตมาติดต่อ
พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 17 กล่าวถึงคณะทูตมองโกลชุดที่สองเดินทางมายังอาณาจักรสุโขทัยในปี พ.ศ. 1835 (ค.ศ. 1292) ภายหลังจากข้าหลวงใหญ่ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยของมณฑลกวางตุ้ง ได้ส่งคนอัญเชิญพระราชสาส์นอักษรทองคำของกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัยไปยังนครหลวงข่านมาลิก (ต้าตู หรือปักกิ่งปัจจุบัน) คณะทูตมองโกลชุดที่สองได้อัญเชิญพระบรมราชโองการของกุบไลข่านให้พ่อขุนรามคำแหงเสร็จไปเฝ้า พระบรมราชโองการนี้แสดงให้เห็นนโยบายของอาณาจักรมองโกลเรียกร้องให้ผู้นำของอาณาจักรต่างๆ ไปเฝ้ากุบไลข่าน แต่มิได้บังคับให้เป็นไปตามนี้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้ปฏิบัติตามแต่ประการใด
พงศาวดารหงวนฉบับเก่า เล่มที่ 18 กุบไลข่านได้ส่งคณะทูตชุดที่สามมาสุโขทัย โดยได้อัญเชิญพระบรมราชโองการให้พ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปเฝ้า หากมีเหตุขัดข้องให้ส่งโอรสหรือพระอนุชาและอำมาตย์ผู้ใหญ่เป็นตัวประกัน ซึ่งปรากฏว่าพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้ปฏิบัติตาม แต่ส่งคณะทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปแทน
[แก้] อาณาจักรล้านนา
ในปี พ.ศ. 1839 พญามังราย (พ.ศ. 1804 - 1854) ได้มีคำสั่งให้สร้างเมืองใหม่ขึ้นมาโดยใช้ชื่อว่า นภบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ (เชียงใหม่) เพื่อที่จะเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของอาณาจักรล้านนา ครั้งนั้นพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและ พญางำเมือง ได้เสด็จมาช่วยด้วย
[แก้] อาณาจักรอยุธยา
หลังจากมีการก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา แรกนั้นสุโขทัยและอยุธยาไม่ได้เป็นไมตรีต่อกัน แต่ด้วยชัยภูมิที่เหมาะสมกว่า ทำให้อยุธยาเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ประกอบกับปัญหาการเมืองภายในของสุโขทัยมิได้เป็นไปโดยสงบ มีการแย่งชิงราชสมบัติกันระหว่าง พระยาบาลเมือง พระยาราม ยังผลให้อยุธยาสบโอกาสเข้าแทรกแซงกิจการภายใน ในรัชกาลนี้มีการรับไมตรีจากอยุธยาโดยการสมรสระหว่างราชวงศ์พระร่วง กับราชวงศ์สุพรรณภูมิ โดยมีพระราเมศวร ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นราชบุตรจากสองราชวงศ์
[แก้] ลังกา
สุโขทัยมีความสัมพันธ์กับลังกาทางพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์โดยรับมาจากนครศรีธรรมราชอีกที นอกจากนี้ สุโขทัยก็ยังมีความสัมพันธ์กับลังกาโดยตรง ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) ได้มีพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงได้เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกที่ลังกาอีกด้วย
[แก้] หัวเมืองมอญ
สุโขทัยมีความสัมพันธ์กับจีนในลักษณะการค้าในระบบบรรณาการ คือ สุโขทัยจะต้องส่งทูตพร้อมเครื่องบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีน เพื่อแสดงความอ่อนน้อมต่อจีน และเมื่อเดินทางกลับ จีนก็ได้จัดมอบสิ่งของให้คณะทูตนำกลับมายังสุโขทัยด้วย และทำให้ได้รับวีธีการทำเครื่องปั้นดินเผาจากช่างจีนด้วย