วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติเกมส์




ประวัติเกมส์



ยุคเริ่มต้นด้วย การเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านการผลิตคิดค้นและพัฒนา วิทยุ ,โทรทัศน์ และ เครื่องเล่นวีดีโอ โซนี่ยังพยายามพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆขึ้นมาอย่างไม่หยุดยั้ง หนึ่งในนั้นคือพวกเขาได้สร้างรูปแบบเครือข่ายที่เรียกว่า System G ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงปี 70 และหนึ่งในผู้อยู่เบื้องหลังนี้คือ เคน คุตารางิ ซึ่งภายหลักกลายมาเป็นตัวจักรสำคัญของโซนี่ ในการผลักดัน Playstation ขึ้นมา ซึ่งในเวลานั้นเขาแสดงความสนใจในการเติบโตของอันรวดเร็วตลาดเกม แต่น่าเสียดายที่โซนี่ในตอนนั้น ไม่สนใจต่อคำแนะนำของเขาและพลาดการเข้าสู่ตลาดในช่วงแรกไป จนในที่สุดก็ถูกบริษัทอย่าง Namco, Taito และ Atari นำเกม Pong (สุดยอดเก๋า ต้นแบบเกมปิงปอง), Space Invaders (จนถึงปัจจุบันยังมีคนทำเป็น Collection นะ) และ Galaxian ไปสู่ความสำเร็จอย่างถล่มทลายอย่างไรก็ตาม ความพยายามครั้งแรกของโซนี่ในการจับกระแสวีดีโอเกม ก็ไม่เป็นอย่างที่คาด ในช่วงกลางปี 80 พวกเขาได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเครื่อง MSX ที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่นเจ้าอื่น ๆอย่าง Toshiba, Panasonic(National) และ Sharp แต่ MSX ก็ล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่ามันไม่สามารถที่จะแข่งกับเครื่องอื่น ๆอย่าง Sinclair Spectrum และ Commodore 64 (คนไทยเรียกกันว่า พีซีรุ่นเก๋า 64) ได้เลย พวกเขาจึงรู้ข้อผิดพลาดของตัวเองนั่นคือมองข้าม Nintendo ไปนั่นเองหาก มองข้ามความสำเร็จของ Atari ผู้สร้าง Test Drive ไป จะพบว่า นินเทนโด เป็นเจ้าแรกที่สามารถนำเกมเครื่องเข้าไปอยู่ในห้องนั่งเล่นของทุกบ้านทั่ว โลก ด้วยความช่วยเหลือจากยักษ์ใหญ่อาเขตในสมัยนั้นอย่าง Namco และเกมดัง ๆที่อยู่ในมืออย่าง Donkey Kong นินเทนโดจึงใช้เวลาไม่นานเลยที่จะสถาปนาตัวเองเป็นจ้าวแห่งวีดีโอเกม ในขณะที่โซนี่ ทำได้แค่เพียงรอเวลาที่เหมาะสมเท่านั้นจุดพลิกผันใน ที่สุดโซนี่ก็ได้โอกาสที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมวีดีโอเกมในปี 1990 ด้วยการจับมือกับ นินเทนโด ซึ่งในขณะนั้นเครื่อง NES ได้ถูกแซงหน้าไปโดย เครื่องเกม 16 บิท ตัวใหม่ของเซกาก็คือ Mega Drive ทั้งกราฟิคและเกมที่ถูกนำเสนอออกมาอย่างเหนือชั้นกว่า และสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับผู้เล่น นินเทนโดจึงแก้เกมด้วยการออกเครื่อง SNES หรือ ซุปเปอร์แฟมิคอม ซึ่งก็ไปได้ดีไม่แพ้เครื่องก่อนหน้านี้ แต่กระนั้นเซกาก็ได้ประกาศที่จะทำเครื่องเล่น CD ที่สามารถประกอบเข้ากับเครื่องเดิมของเขาในชื่อ Mega CD นินเทนโด ซึ่งกลัวที่จะถูกเซกาทิ้งไปอีกรอบจึงเข้าปรึกษาขอความร่วมมือกับโซนี่ ในการพัฒนาตัวเล่น CD ด้วยการพัฒนาร่วมกันกับ Philips โดยมี เคน คุตารางิ และทีมงาน เข้าร่วมมือกับนินเทนโดแต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นหนึ่ง วันหลังจากที่โซนี่ประกาศ แผนการร่วมมือกันในอนาคตกับนินเทนโดในงาน Summer Consumer Electronic Show ในปี 1991 นินเทนโดก็ประกาศยกเลิกสัญญากับโซนีและหันไปร่วมมือกับ Philips ในการพัฒนา CD drive แทน และแน่นอนว่าโปรเจคนี้ไม่เคยได้เห็นแสงตะวันเพราะ ฟิลิปส์ กำลังง่วนอยู่กับการพัฒนาเทคโนโลยี CDI ของตัวเอง ในขณะเดียวกันที่ญี่ปุ่น โซนี่กำลังซุ่มพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งในการคืนชีพ Super Disc Project ที่ตายไปด้วยความมุ่งมั่น(และเคียดแค้น) โดยกลับไปใช้ชื่อ Playstation ชื่อเดิมของโปรเจคที่ใช้ก่อนการจับมือกับ nintendoตัวคนเดียวเมื่อ ไม่มีนินเทนโด หนทางในการเข้าสู่ตลาดเกมคอนโซลของโซนี่ก็เหมือนจะเป็นไปไม่ได้ เพราะบริษัทก็ไม่มีเกมที่สามารถมายืนพื้น ไม่มีทั้งหน่วยพัฒนาเกมในบริษัท ถึงแม้จะเคยสร้างเกมให้กับเครื่อง Mega Drive ,Mega CDและ SNES แต่ก็ไม่มีอะไรที่น่าจดจำ อีกทั้งไม่มีประสบการณ์ในตลาดคอนโซลอันเชี่ยวกรากแห่งนี้ แต่สิ่งที่โซนี่มีอยู่ในมือก็คือเครื่องที่สามารถเปิดประตูสู่ยุคใหม่ของเกม ได้ และทุนหนุนหลังจากบริษัทแม่ก้าวที่ผิดพลาดของนินเทนโดนั้นนอก จาก การยกเลิกแผนพัฒนาโปรเจค CD ร่วมกับโซนี่และยึดติดกับการใช้ตลับในการบรรจุข้อมูลเกมใน N64 แล้ว พวกเขายังสร้างความไม่พอใจให้กับ มาซายะ นาคามูระ ผู้ควบคุมการสร้างแผนกเกมอาเขตของแนมโค ที่นินเทนโดมัดมือชกเขาให้เซ็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ถึงขนาดที่นาคามูระ ร่อนหมายศาลฟ้องนินเทนโดฐานครองตลาดในแบบผูกขาด แต่ภายหลังก็ถูกControlให้ถอนฟ้องไป และนี่คือเหตุผลที่แนมโคแสนจะยินดีในการหันมาร่วมมือกับโซนี่ด้วยการเข็น Ridge Racer และเกมอาเขตในคลังอื่น ๆให้ด้วยความเต็มใจนอกจากนี้โซ นี่ยังได้เซ็นสัญญากับบริษัท Psygnosis ก่อนที่จะซื้อมาในครอบครองภายหลัง และผลิตเกมดัง ๆอย่าง wipeout (อันนี้อยากให้เป็นในโลกจริง) และ Destruction Derby (สุดมันส์ ย่างศพรถกันเข้าไป ต้นแบบของ Flatout , Burnout) และไม่นานหลังจากนั้น บรรดาผู้พัฒนาชื่อดังทั้งหลายก็ตบเท้ากันเข้ามาอยู่ใต้เครื่องของ PlayStation









































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น