วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ศิลปะไทย


ศิลปะไทย

ศิลปะไทย ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้และพืชผลการเกษตร มีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นสายสำคัญทอดยาวจากทิศเหนือสู่ทิศใต้ลงอ่าวไทย เมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์เช่น พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสายนี้ รวมถึงสุโขทัยริมฝั่งแม่น้ำยม อันเป็นต้นน้ำแขนงหนึ่งที่ไหลบรรจบเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำจึงถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยหล่อหลอมศิลปวัฒนธรรมไทย ศิลปะไทยส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียโดยเฉพาะอินเดียตอนใต้ แต่ก็นำมาปรับเปลี่ยนให้ตรงกับรสนิยมของตนเอง ศิลปะเหล่านี้มาพร้อมกับการรับอิทธิพลทางศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู และพุทธศาสนา ศิลปะไทยส่วนใหญ่จึงเกิดจากแรงผลักดันของศาสนาดังกล่าวเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะไทย ยังต้องเรียนรู้ศิลปะของอารยธรรมโบราณในประเทศไทย ซึ่งช่วยหล่อหลอมให้เกิดลักษณะเฉพาะของศิลปะไทยในภายหลัง อารยธรรมเหล่านี้ได้แก่ อารยธรรมทวารวดี อารยธรรมศรีวิชัย อารยธรรมขอม ศิลปะในประเทศไทยระยะแรกได้รับอิทะพลจากความเชื่อเรื่องดวงวิญญาณและอำนาจลี้ลับดังจะเห็นได้ว่า เครื่องประดับร่างกายหรือภาชนะดินเผาบ้านเชียง นอกจากทำขึ้นเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวันแล้ว ยังทำขึ้นเพื่อประกอบพิธีกรรมฝังศพ ศิลปะต่อมาได้รับอิทธิพลศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูจากอินเดีย ซึ่งเชื่อว่าเผยแพร่ครั้งแรกในภาคใต้บริเวณจังหวัด กระบี่ นครศรีธรรมราช เพราะพบเทวรูปเก่าแก่หลายชิ้นในแถบนี้ สำหรับพุทธศาสนาฝ่ายหินยาน หรือเถรวาทเผยแพร่สู่ประเทศไทย ตั้งแต่ก่อนสมัยทวารวดี แต่หลักฐานทางศิลปะส่วนใหญ่สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี ดังพบพระพุทธรูปและสถูปมากมาย ซึ่งมีลักษณะคล้ายศิลปะอมราวดี คุปตะ และหลังคุปตะ ส่วนฝ่ายมหายานเข้ามาเผยแพร่ตั้งแต่สมัยศรีวิชัย ระยะเดียวกับที่เผยแพร่สู่ชวาในประเทศอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายศิลปะคุปตะ หลังคุปตะ และปาละ - เสนา ศาสนาตอนกลางของตะวันออกตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย โดยตั้งศูนย์กลางอยู่ที่เมืองละโว้หรือลพบุรี การเรียกศิลปะลพบุรีจึงหมายถึงศิลปะขอมในประเทศไทยนั่นเอง ระยะต่อมาศิลปะไทยได้รับอิทธิพลพุทธศาสนาฝ่ายหินยานหรือเถรวาท ซึ่งเข้ามา 2 ทาง คือ จากพุกามของพม่าและลังกา โดยส่งผลตั้งแต่สมัยเชียงแสนตลอดจนถึงสมัยสุโขทัยเรื่อยมา พร้อมนำแบบอย่างศิลปะพุกามและลังกาเข้ามาด้วย แต่ศิลปะไทยยังมิอาจหลีกพ้นจากคติศาสนาพราหมณ์หรือมหายาน คติเหล่านี้ได้ผสมผสานแทรกซึมอยู่ในศิลปะไทยตลอด โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเทพและแผนภูมิจักรวาล นอกจากศาสนาแล้ว สภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติก็มีอิทธิพลต่อศิลปะไทยเช่นกันความอุดมสมบูรณ์ของ ป่าไม้ ดิน แร่ ทำให้สถาปัตยกรรมไทยส่วนใหย่สร้างด้วยไม้ หรือ ก่ออิฐสอปูน ใช้ไม้แกะสลัก ดินเผา หรือ ปูนปั้นตกแต่งลวดลาย ศิลปะไทยในระยะหลังยังได้รับอิทธิพลจากศิลปะอื่นๆ ไม่ว่าจะ จีน อาหรับ หรือตะวันตก โดยเฉพาะศิลปะตะวันตกมีอิทธิพลอย่างยิ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ นับตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมาวัฒนธรรมของชาวตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทเกือบทุกด้าน อันเป็นเหตุให้ศิลปะไทยเสื่อมสลาย ลง และเกิดการสร้างสรรค์ รูปแบบใหม่ๆ นอกเหนือประเพณีเดิม ศิลปะไทยปรากฎทั้งด้าน สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และศิลปหัตถกรรม







































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น